CIMBTตั้งเป้าปีหน้ารายได้ค่าฟีธุรกิจ Wealth โต 25%
CIMBT ตั้งเป้ารายได้ค่าธรรมเนียมกลุ่มธุรกิจ WEALTH Management ปี 64 โต 25% เน้นบริการแบบเจาะลึก ผ่านช่องทางดิจิทัล สร้างความหลากหลาย หวังขยายตลาดจากปัจจุบันมีลูกค้า 8.7 หมื่นราย
นางสาวดุษณี เกลียวปฏินนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์การออมและกลยุทธ์ลูกค้าบุคคลธนกิจ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด(มหาชน) หรือ CIMBT เปิดเผยว่า แผนงาน Wealth Management ปี 64 ธนาคารจะเน้นยุทธศาสตร์การให้บริการเชิงลึก มุ่งเน้นผ่านช่องทางดิจิทัล นำเสนอความหลากหลาย ตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล และ ประยุกต์การใช้งานข้อมูลให้เต็มศักยภาพ เพื่อก้าวเป็น Bank of Choice โดยมีเป้าหมายขยายส่วนแบ่งตลาดจากการลงทุนของฐานลูกค้า Wealth ทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นดิจิทัล Digital focus เพิ่มความสะดวก ง่าย ลงทุนจากที่ใดก็ได้ จากการเปิดตัวบริการซื้อหุ้นกู้ผ่านแอปพลิเคชั่นหลัก CIMB THAI Digital Banking กลางปีที่ผ่านมา ลูกค้าตอบรับ ปรับตัวไว มียอดจองซื้อหุ้นกู้ผ่านแอปแตะ 1 พันล้านบาทในเวลาอันสั้น ธนาคารยังมีแอป MyPreferred ที่ลูกค้าเลือกรับสิทธิประโยชน์และของสมมนาคุณได้ตามความชอบ และแอฟ mywealth
ส่วนบริการใหม่ที่พัฒนาต่อเนื่องและพร้อมให้บริการปี 64 คือ ระบบ Order Management System ลูกค้าสามารถซื้อกองทุนรวมได้ทั้ง 8 บลจ.ที่ธนาคารจับมือผ่านทุกช่องทางดิจิทัล รวมถึงการเพิ่มเครื่องมือช่วยจัดพอร์ตการลงทุน และ การมีเจ้าหน้าที่ติดตาม และ นำเสนอพอร์ตการลงทุนให้แก่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
“โลกยุคปัจจุบัน ลูกค้าจำเป็นต้องจัด Asset Allocation ซึ่งธนาคารจะอัปเดทให้ทุกไตรมาส และ อัปเดททันทีเมื่อเกิดและธนาคารจะเน้นให้บริการแบบเชิงลึกเพื่อเข้าถึง และ เข้าใจ โดยปัจจุบันมีลูกค้า Wealth 8.7 หมื่นราย ซึ่แนวทางที่ธนาคารจะดำเนินการเชื่อว่าจะทำให้มีลูกค้ามาใช้บริการมากขึ้น และ ตั้งเป้าค่าธรรมเนียมธุรกิจWealth ปีหน้าเติบโต 25%”นางสาวดุษณี กล่าว
นายดนัย อรุณกิตติชัย ผู้บริหารที่ปรึกษาการลงทุน และ ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน CIMBT เปิดเผยว่า บทเรียนที่น่าสนใจปีนี้ท่ามกลาง COVID-19 แต่สินทรัพย์หลายตัวให้ผลตอบแทนเป็นบวก สำหรับเศรษฐกิจปีหน้ามีแนวโน้มดีกว่าปีนี้ เพราะความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจลดลงไปมากจากปีนี้ GDP เกือบทุกประเทศติดลบ
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนปี 64 ตลาดหุ้นยังลงเป็นทางเลือกอันดับ1 เพราะดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่รัฐบาลยังต้องกระตุ้นเศรษฐกิจอีกมาก ส่วนอุตสาหกรรมที่มีทิศทางสดใส ได้แก่ หุ้นกลุ่ม cloud computing กลุ่มe-commerce ค้าขายออนไลน์ และ สุดท้าย Health tech
ด้าน Asset Allocation จากแนวโน้มดอกเบี้ยที่ยังต่ำต่อไปอีกอย่างน้อย 2 ปี หุ้นกู้เอกชนมีความน่าลงทุนมากกว่าพันธบัตรรัฐบาล จากโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ที่จะลดลงค่อนข้างมาก นอกจากนี้ หุ้น 3 กลุ่ม ธนาคารชอบหุ้นกลุ่ม Regional ถัดมา คือ หุ้นกลุ่ม Global ส่วนหุ้นไทยต้องรอเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเต็มที่อีกครั้ง