ธพ.เล็งยกเลิกใช้ เบนซิน – โซฮอล์ 91
ธพ.เผย ภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 8 เดือน ปี 62 เพิ่มขึ้นเกือบทุกกลุ่ม เว้นเบนซินและแก๊สโซฮอล์ 91 ใช้ลดลงเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 0.98 ล้านลิตร เตรียมหารือโรงกลั่น ยกเลิกใช้ ภายใน 1-2 เดือนนี้
นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันในรอบ 8 เดือนของปี 2562 (มกราคม – สิงหาคม 2562) เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 น้ำมันกลุ่มเบนซินมีปริมาณการใช้ เฉลี่ยอยู่ที่ 32.12 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 3.9% เป็นการเพิ่มขึ้นของน้ำมันกลุ่มเบนซินเกือบทุกชนิด ยกเว้นน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ 91 ใช้ลดลงอยู่ที่ 0.98 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 12.5%
แก๊สโซฮอล์อี 20 มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 6.46 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 13.5% เนื่องจากมีราคาต่ำกว่าแก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 2.97 บาท/ลิตร จึงจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้เพิ่มขึ้น รองลงมาเป็น แก๊สโซฮอล์ อี85 ปริมาณการใช้ อยู่ที่ 1.29 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 11.8% แก๊สโซฮอล์ 95 การใช้อยู่ที่ 13.79 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 7.3% ในขณะที่แก๊สโซฮออล์ 91 มีปริมาณการใช้ที่ลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 9.60 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 5.0% เนื่องจากราคาแก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ 95 ใกล้เคียงกันโดยมีส่วนต่างเพียง 0.27 บาท/ลิตร จึงทำให้ผู้บริโภคเลือกใช้น้ำมันชนิดที่มีค่าออกเทนสูงกว่า
นางสาวนันธิกา กล่าวว่า ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ 91 ที่ลดลงอย่างอย่างต่อเนื่อง กรมฯอาจจะต้องพิจารณายกเลิกการใช้น้ำมันบางประเภท เพื่อลดประมาณหัวจ่ายน้ำมันในสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งที่ผ่านมาผู้ที่มาเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91ส่วนใหญ่จะเป็นรถจักรยานยนต์ จึงต้องหารือร่วมกับโรงกลั่นน้ำมันถึงผลกระทบ ข้อดี-ข้อเสีย ก่อนว่าควรยกเลิกใช้น้ำมันประเภทไหนที่ไม่กระทบต่อโรงกลั่นและผู้บริโภค ก่อนเสนอต่อ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พิจารณาต่อไป
ส่วนกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีปริมาณการใช้ 64.92 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 1.7% โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (บี7) ลดลง 2.6% อยู่ที่ 62.13 ล้านลิตร/วัน น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 0.005 ล้านลิตร/วัน (เริ่มมีการจำหน่ายปลายเดือนพ.ค.62 และในเดือนส.ค. 62 มีการใช้อยู่ที่ 0.39 ล้านลิตร) และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 2.78 ล้านลิตร/วัน (เริ่มมีการจำหน่ายตั้งแต่เดือน ก.ค.61) โดยการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี10 และบี20 ภาครัฐได้ใช้มาตรการกำหนดส่วนต่างราคาขายปลีกให้ถูกกว่าดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (บี7) อยู่ที่ 1 และ 5 บาท/ลิตร ตามลำดับ
น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 19.30 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 0.1%
การใช้ LPG เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 17.97 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็น 1.2% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้ภาคปิโตรเคมี มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 7.50 ล้านกก./วัน คิดเป็น 12.1% สำหรับการใช้ในสาขาอื่นๆ มีปริมาณการ
การใช้น้ามันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 19.30 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 0.1%
การใช้ LPG เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 17.97 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็น 1.2% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้ภาคปิโตรเคมี มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 7.50 ล้านกก./วัน คิดเป็น 12.1% ส้าหรับการใช้ในสาขาอื่นๆ มีปริมาณการใช้ลดลง โดยภาคครัวเรือน มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 5.79 ล้านกก./วัน คิดเป็น 2.3% ภาคอุตสาหกรรม มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 1.81 ล้านกก./วัน คิดเป็น 3.4% และภาคขนส่งลดลงมากที่สุด มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 2.87 ล้านกก./วัน คิดเป็น 12.0%
การใช้ NGV เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 5.55 ล้านกก./วัน ลดลง 11.1% เนื่องจากมีการปรับราคา NGV ประกอบกับนโยบายส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ทำให้ประชาชนและรถบรรทุกสินค้าหันไปใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์และดีเซลหมุนเร็วบี 20 ทดแทน ส่งผลให้สถานีบริการ NGV นอกแนวท่อทยอยปิดตัวลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
การนำเข้าน้ำมันดิบเฉลี่ย 8 เดือน อยู่ที่ 916,000 บาร์เรล/วัน ลดลง 5.0% คิดเป็นมูลค่า 59,648 ล้านบาท/เดือน สำหรับน้ำมันสำเร็จรูปมีปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 80,000 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้น 23.1% มูลค่า 5,270 ล้านบาท/เดือน สำหรับการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน พบว่า มีการน้าเข้าน้ำมันเบนซิน ดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา และน้ำมันอากาศยานเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่มีการนำเข้า LPG ลดลง เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นและ Emergency Shutdown ท้าให้ต้องลดปริมาณการนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นกระทบต่อปริมาณการผลิตของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดรวมถึง LPG ด้วย ทำให้ต้องมีการน้าเข้านำมันสำเร็จรูป เพื่อไม่ให้กระทบต่อความต้องการใช้ในประเทศ
การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2561 อยู่ที่ 166,000 บาร์เรล/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 18.6% โดยมีมูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเฉลี่ย 11,283 ล้านบาท/เดือน โดยพบว่า มีการส่งออกน้ำมันเบนซิน ดีเซลพื้นฐานน้ำมันเตา และ LPG ลดลง ในขณะที่มีการส่งออกน้ำมันอากาศยานและก๊าดเพิ่มขึ้น