กมธ.พลังงาน ชี้ มท. มอบ ผู้ว่าฯ อนุญาตโรงไฟฟ้าขยะ แก้ปัญหาล่าช้า
กมธ.พลังงาน แนะแนวทางแก้โรงไฟฟ้าขยะล่าช้า กระทรวงมหาดไทยควรมอบอำนาจผู้ว่าราชการ อนุญาตเก็บค่าธรรม เนียมขยะคิด 300 บาท/ตันทั่วประเทศ สอท.ร้องต้องการให้ กกพ. ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการทั้งหมด 23 โครง การ 237.80 เมกะวัตต์ ที่ผ่าน มหาดไทยและกพช.ที่ 3.66 บาทต่อหน่วย สำหรับ SPP และ VSPP 5.78 บาทต่อหน่วย
นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร นายธารา ปิตุเตชะ รองประธานฯ นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ รองประธานฯ นายสมเกียรติ วอนเพียร รองประธานฯ นายชัยยันต์ ผลสุวรรรณ์ เลขานุการคณะฯ และคณะกรรมาธิการ ได้ประชุมคณะกรรมาธิการครั้งที่ 71 ในการพิจารณาแก้ไขปัญหาโครงการโรงไฟฟ้าจากขยะชุมชน หลังพบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ โดยได้เชิญกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ให้ข้อมูลปัญหาอุปสรรค์ เพื่อแก้ไขให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชี้แจงการดำเนินนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้กระทรวงมหาดไทยขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” โรงไฟฟ้าจากขยะชุม ชนอยู่ในส่วนระยะปลายทางคือ การกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้พลังงานสะอาด ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP21) องค์กรปกครองส่วนท้อถิ่น 76 จังหวัด จำนวน 6,048 แห่ง มีขยะที่สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ ปริมาณ 31,905 ตันต่อวัน หรือประมาณ 11.94 ล้านตันต่อปี แบ่งกลุ่มพื้นที่ทั้งสิ้น 262 กลุ่ม กลุ่มพื้นที่ขนาดใหญ่ มีขยะมากกว่า 500 ตันต่อวัน 11 กลุ่ม, กลุ่มพื้น ที่ขนาดกลาง มีขยะ 300-500 ตันต่อวัน 11 กลุ่ม, กลุ่มพื้นที่ขนาดเล็ก มีขยะน้อยกว่า 300 ตันต่อวัน จำนวน 240 กลุ่ม
ด้านความคืบหน้าโครงการโรงกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตไฟฟ้า 49 โครงการ และมีกำลังการผลิตไฟฟ้า ทั้งสิ้น 442.44 เมกะวัตต์ กำจัดขยะได้ 19,398 ต้นต่อวันหรือ 7.08 ล้านต้นต่อปี
สำหรับโครงการโรงกำจัดขยะมูลฝอยผลิตไฟฟ้าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสามารถดำเนินการ ในระยะแรก Quick Win Projects มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวงแล้ว และมีการกำหนด SCOD ภายในเดือนธ.ค.2564 จำนวน 11 โครงการ 84.04 เมกะวัตต์ จ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเชิงพาณิชย์แล้ว 3 โครงการ คือ ศูนย์จำกัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช 3 เมกะวัตต์, โครงการกำจัดขยะ กระบี่ 6 เมกะวัตต์, โครงการกำจัดขยะ นนทบุรี 6.24 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการ 8 โครงการ พระนครศรีอยุธยา 6.50 เมกะวัตต์, เทศบาลตำบลนครหลวง พระนครอศรีอยุธยา 8.40 เมกะวัตต์, นนทบุรี 8.50 เมกะวัตต์, ระยอง 9.80 เมกะวัตต์, หนองคาย 8 เมกะวัตต์, เทศบาลนครแม่สอด ตาก 6 เมกะวัตต์, อุดรธานี 9.60 เมกะวัตต์, พระพุทธบาท สระบุรี 9.50 เมกะวัตต์ โครงการที่ได้รับความเห็นชอบจาก รมว.มหาดไทยแล้ว 23 โครงการ 237.8 เมกะวัตต์ โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการต่างๆ 15 โครงการ 120.60 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการ 3 โครงการ ปัญหาอุปสรรคส่วนใหญ่ที่โรงไฟฟ้าขยะประสบคือการแพร่ระบาด COVID-19 ต้องสั่งปิดแคมป์คนงาน