จีนและสหรัฐฯ ตกลงเริ่มคุยการค้าใหม่
โอซาก้า (รอยเตอร์) – เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. รมว. กระทรวงต่างประเทศของจีนระบุว่า สหรัฐฯและจีนตกลงที่จะเริ่มเจรจาการค้าใหม่อีกครั้ง และสหรัฐฯจะไม่ขึ้นภาษีใหม่กับสินค้าส่งออกจากจีน เพิ่มความหวังว่าสองประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจจะแก้ไขปัญหาสงครามการค้าได้
จากกรณีพิพาททางการค้าที่ยาวนานเกือบปี ทั้งสองประเทศตอบโต้กันด้วยมาตรการภาษีมูลค่าหลายแสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กับสินค้าส่งออกของกันและกัน ทำลายไลน์ซัพพลายทั่วโลก กระทบตลาดและฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก
“ เรากลับมาเข้าที่เข้าทาง และเราจะดูว่าเกิดอะไรขึ้น” ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์กล่าวกับผู้สื่อข่าว หลังจากมีการประชุมกับประธานาธิบดีสีจิ้นผิงนอกรอบกับการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจ G20 ในญี่ปุ่น
โดยผู้นำสหรัฐฯกล่าวว่า การประชุมนาน 80 นาทีกับประธานาธิบดีสีนั้น “ยอดเยี่ยม คือดีอย่างที่ควรจะเป็น” ทรัมป์เสริม
จากแถลงการณ์เกี่ยวกับการพูดคุย รมว.กระทรวงต่างประเทศระบุว่า สหรัฐฯจะไม่เพิ่มภาษีใหม่กับสินค้าส่งออกของจีน และเสริมว่าผู้แทนในการเจรจาของทั้งสองประเทศจะมีการพูดคุยอย่างเจาะจงในหลายประเด็น แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม
ประธานาธิบดีสีบอกทรัมป์ว่า เขาหวังว่าสหรัฐฯจะปฏิบัติกับบริษัทจีนอย่างยุติธรรม ในประเด็นของอธิปไตยและการให้เกียรติ จีนต้องปกป้องผลประโยชน์หลักของประเทศ
ทั้งนี้ ตลาดการเงินมีแนวโน้มขานรับข่าวดีนี้
ในช่วงเริ่มต้นของการพูดคุยในวันที่ 29 มิ.ย. สีย้ำว่ามีความจำเป็นที่จะต้องพูดคุยมากกว่าการเผชิญหน้ากัน “ ความร่วมมือและการพูดคุยดีกว่าความขัดแย้งและการเผชิญหน้ากัน”
ทรัมป์ขานรับว่าข้อตกลงการค้าที่ยุติธรรมกับจีนจะเป็น “ประวัติศาสตร์” และเขาหวังว่า “ เราสามารถไปต่อเพื่อทำบางอย่างที่ถาวรและยิ่งใหญ่สำหรับทั้งสองประเทศ”
ในการประชุม ผู้นำทั้งสองจับมือกันต่อหน้าธงชาติในห้องประชุมขนาดเล็ก โดยผู้นำสหรัฐฯ ถูกขนาบข้างโดยไมค์ ปอมเปโอ รมว.กระทรวงต่างประเทศ ซึ่งมีแนวทางแข็งกร้าวกับจีน และสตีเวน มนูชิน รมว.กระทวงการคลัง ซึ่งมีแนวทางการเจรจาที่มีความเป็นมิตรทางธุรกิจมากกว่า
ปีเตอร์ นาวาโร ที่ปรึกษาของทรัมป์ ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้แต่งหนังสือ ‘Death by China’ จ้องมองสีอย่างตั้งใจขณะที่เขาพูด
การประชุม G20 ในโอซาก้า เป็นการทำงานร่วมกันเพื่อแบ่งปันเป้าหมายเดียวกัน โดยหนังสือพิมพ์นิกเคอิของญี่ปุ่นรายงานว่า บรรดาผู้นำตกลงที่จะเร่งปฏิรูปองค์การการค้าโลก แต่เกือบที่จะกระตุ้นให้อดทนต่อการกีดกันทางการค้า.