เซี่ยงไฮ้ตั้งเป้าเป็นฮับวิทย์/ไฮเทคระดับโลก
นครเซี่ยงไฮ้ของจีนตั้งเป้าเป็นจุดหมายปลายทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก หลังจากได้รับการยอมรับให้เป็นฮับด้านการเงินและชิปปิ้งมาแล้ว
เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เซี่ยงไฮ้จะสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และพัฒนาอุตสาหกรรมสำคัญหลายอย่าง ทั้งวงจรรวม , ชีวการแพทย์ และปัญญาประดิษฐ์ ทางการจีนระบุในระหว่างการแถลงข่าวการเติบโตที่มีคุณภาพสูงของเซี่ยงไฮ้
ความพยายามของเซี่ยงไฮ้ที่จะขึ้นเป็นฮับเทคโนโลยีระดับโลกเริ่มมีผลในปี 59 เมื่อมีการประกาศอย่างเป็นทางการถึงความทะเยอทะยานเพื่อปรับเปลี่ยนตัวเองเป็นศูนย์กลางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีภารกิจหลัก 4 อย่าง รวมถึงการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และบรรลุโครงการพื้นฐานและโปรแกรมยุทธศาสตร์
โดยศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งชาติจางเจียงถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาวงจรรวมและวิจัยชีววิทยา อ้างอิงจากเอกสารภายใน ตัวศูนย์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตใหม่ผู่ตงจะรับผิดชอบในส่วนวิทยาศาสตร์สำคัญหลากหลายที่สร้างขึ้นใหม่ และโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี เช่น hard X-rays, ultra-intense และ ultrashort pulse lasers
เฉินยู่จิน หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ของ Shanghai Huahong Integrated Circuit Co., ระบุว่าแหล่งอุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ของเมืองช่วยให้บริษัทเป็นหนึ่งในผู้ผลิตชิปที่ครอบคลุมที่สุดในโลก
“ เราเห็นบริษัทออกแบบชิปผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดถึง 239 แห่ง และบริษัทผลิตวงจรรวมชั้นนำของโลกในศูนย์วิทยาศาสตร์จางเจียงในเซี่ยงไฮ้ ”
จนถึงสิ้นปี 61 มี 441 บริษัทซึ่งต่างชาติลงทุนที่จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) ในเซี่ยงไฮ้ ทั้งการริเริ่มนวัตกรรมที่เปิดกว้าง อย่างเช่น JLAB ของบริษัทจอห์นสัน & จอห์นสัน
สำหรับปัญญาประดิษฐ์ เซี่ยงไฮ้ให้พื้นที่ขนาดใหญ่เรียกว่า AIsland ซึ่งมีพื้นที่ 66,000 ตารางเมตร เป็นพื้นที่การทำงานของบริษัทวิจัย AI
นอกจากนี้ยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกและระดับประเทศอย่าง ไมโครซอฟต์, อาลีบาบา , CloudWalk Technology และบริษัทวิจัยที่เป็นบริษัทในเครือของมหาวิทยาลัยถงจี้ที่ตั้งอยู่ที่นี่
โดยไมโครซอฟต์มีกำหนดเปิดแล็บ AI และ IoT ที่ AIsland ในเดือนพ.ค.ซึ่งจะเป็นแล็บแห่งที่ 3 และมีขนาดใหญ่ที่สุดของบริษัท
การใช้จ่ายด้าน R&D ในเซี่ยงไฮ้ปีที่แล้วคิดเป็น 4% ของมูลค่า GDP โดยรวม 3.27 ล้านล้านหยวน ( 15.72 ล้านล้านบาท ) โดยจำนวนสิทธิบัตรที่เกิดขึ้นคิดเป็นอัตราต่อประชากร 10,000 คน เพิ่มขึ้นเป็น 47.5 จากเดิม 13.3 ในปี 54.