จีนชี้จับผู้ก่อการร้ายกว่าหมื่นคนในซินเจียง

เมื่อวันที่ 18 มี.ค.ทางการจีนระบุว่า ได้จับกุมตัวผู้ก่อการร้ายเกือบ 13,000 คนในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ตั้งแต่ปี 57 จนถึงตอนนี้ เป็นการยืนยันว่าจีนไม่ได้ใช้มาตรการลดทอนความรุนแรงสุดโต่งของชาวมุสลิม ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับประเทศตะวันตก
จีนถูกตำหนิจากนานาชาติมากขึ้นหลังมีการสร้างค่ายอบรมวิชาชีพ ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติระบุว่า เป็นค่ายกักกันกลุ่มชาติพันธุ์อุยกูร์และมุสลิมอื่นๆ กว่า 1 ล้านคน
จีนระบุว่า จำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อควบคุมภัยคุกคามจากกลุ่มติดอาวุธมุสลิม และเรียกชื่อสถานที่ควบคุมตัวนี้ว่าศูนย์ฝึกอบรมอาชีพ
ทางการได้ใช้นโยบายเพื่อปรับสมดุลที่เหมาะสมระหว่างความเห็นอกเห็นใจ และความเข้มงวดกวดขัน รัฐบาลจีนระบุในเอกสาร
ในปี 2557 เขตปกครองตนเองซินเจียงได้ “ ทำลายแก๊งที่มีลักษณะเป็นผู้ก่อการร้ายและรุนแรง 1,588 แก๊ง จับกุมผู้ก่อการร้ายได้ 12,995 ราย ยึดอุปกรณ์ระเบิดได้ 2,052 ลูก มีคนที่ถูกลงโทษ 30,645 รายสำหรับกิจกรรมทางศาสนาที่ผิดกฎหมาย 4,858 ครั้ง และยึดเอกสารทางศาสนาที่ผิดกฎหมาย 345,229 ฉบับ”
เอกสารยังระบุว่า มีเพียงชนกลุ่มน้อยกลุ่มเล็กๆที่ถูกลงโทษอย่างรุนแรง เช่น หัวโจกของกลุ่มก่อการร้าย ขณะที่กลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดหัวรุนแรงได้รับการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อสอนพวกเขาถึงความผิดพลาดที่ผ่านมาของพวกเขา
ทางการจีนยังได้สลายการโจมตีทั้งหมด 30 ครั้งตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา โดยครั้งสุดท้ายที่ได้มีการบันทึกคือในเดือนธ.ค.59 โดยระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 458 ราย และบาดเจ็บอย่างน้อย 2,540 ราย จากผลของการโจมตีและความไม่สงบสภาอุยกูร์โลก ซึ่งเป็นกลุ่มที่ถูกเนรเทศออกจากประเทศ ประณามรายงานของจีนทันที
“ จีนบิดเบือนความจริงอย่างที่สุด” Dilxat Raxit โฆษกของกลุ่มระบุในอีเมลแถลงการณ์
“ การต่อต้านการก่อการร้ายเป็นวิธีการลงโทษทางการเมืองเพื่อกดดันอุยกูร์ เป้าหมายแท้จริงของการลดทอนความรุนแรงสุดโต่งคือ การทำลายศรัทธาและเอกสารยังระบุว่า เขตปกครองตนเองซินเจียงเผชิญกับความท้าทายตั้งแต่เหตุการณ์วันที่ 11 ก.ย. 2544 ที่กลุ่มอัลเคดาโจมตีสหรัฐฯ กลุ่มเติร์กตะวันออกที่เป็นหัวรุนแรงเริ่มมีกิจกรรมในจีน ใช้จีนเป็นฐานในการปฏิบัติการในซินเจียงกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนาอิสลามกลับกระทำการที่ขัดกับหลักการทางศาสนา และไม่ใช่อิสลามอ้างอิงจากเอกสารเขตปกครองตนเองซินเจียงเคยเป็นพื้นที่แยกออกจากอาณาเขตของจีน และกลุ่มชาติพันธุ์อุยกูร์ได้วิวัฒนาการมาจากกระบวนการอพยพย้ายถิ่นฐานที่ยาวนานและการรวมกลุ่มชาติพันธุ์ เอกสารระบุ “ พวกเขาไม่ใช่ลูกหลานของพวกเติร์กส์ ”
ตุรกีเป็นประเทศมุสลิมเพียงประเทศเดียวที่แสดงท่าทีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในซินเจียงจากความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับชาวอุยกูร์ ซึ่งพูดภาษาตุรกี
จีนประณามความกังวลของตุรกีว่าไม่มีเหตุผล และเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของจีน
“ชัดเจนว่า การต่อต้านการก่อการร้ายและการดิ้นรนเพื่อสั่นคลอนแนวคิดหัวรุนแรงในเขตปกครองตนเองซินเจียงเป็นส่วนสำคัญของการต่อสู้กับการก่อการร้ายในระดับนานาชาติ”.