จีนทำประมงมากสุดในโลก
จีนเป็นประเทศที่ทำการประมงมากที่สุดและเดินทางไปจับปลาไกลที่สุดในโลก มีสัดส่วนเท่ากับประเทศอื่นๆ รองลงมารวมกันถึง 10 ประเทศ อ้างอิงจากข้อมูลที่นักวิจัยชี้ว่าเป็นการศึกษาที่ครอบคลุมและเข้มข้นลงลึกในประเด็นนี้ที่สุด
เรือประมงของจีนมีชั่วโมงในการออกจับปลารวมกันประมาณ 17 ล้านชั่วโมงในปี 2560 โดยส่วนใหญ่อยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของประเทศจีน แต่เรือจำนวนมากออกไปหาปลาไกลถึงแอฟริกาและอเมริกาใต้ และประเทศที่ทำประมงมากเป็นอันดับ 2 คือไต้หวัน ด้วยเวลาในการออกจับปลาประมาณ 2.2 ล้านชั่วโมง
มีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลมานานกว่า 5 ปีโดย Global Fishing Watch ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่ติดตามการทำประมง และผลการศึกษาข้อมูลมีการพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Science เมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา
จีนเป็นประเทศที่ทำประมงรายใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในอุตสาหกรรมนี้ David Kroodsma ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาของ Global Fishing Watch ระบุในการให้สัมภาษณ์
” จำนวนเรือประมงของจีนมีมากกว่าที่เห็น “ เขากล่าวเขตเศรษฐกิจ
เรือในการทำประมงในน่านน้ำระยะไกลของจีน (ซึ่งองค์กรกรีนพีซประเมินว่ามีมากที่สุด) ซึ่งมีประมาณ 2,500 ลำไม่เป็นที่ต้อนรับนัก เรือไม่ได้รับอนุญาตให้ทำประมงได้หากไม่มีใบอนุญาตในสำคัญในประเทศอื่นๆ โดยทางสหประชาชาติกำหนดว่า การทำประมงต้องไม่ไกลเกินกว่า 200 ไมล์ทะเลจากเขตน่านน้ำของประเทศตัวเอง
ในปี 2560 เรือประมงของจีนถูกยึดนอกชายฝั่งประเทศเซเนกัล เซียร์ราลีโอน และกินี บิสเซา เนื่องจากเป็นการทำประมงผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ยามชายฝั่งของอาร์เจนตินายังจมเรือลากอวนของจีนที่เข้ามาทำประมงผิดกฎหมายในน่านน้ำของประเทศ โดยกระทรวงเกษตรของจีนยังไม่ได้ให้ความเห็นเมื่อถูกถามเกี่ยวกับขบวนเรือประมงของจีน
ทั้งนี้ ผลการศึกษาชี้ว่า บริเวณน่านน้ำนอกชายฝั่งของจีน และน่านน้ำทางเหนือและใต้ของยุโรป เป็นบริเวณที่มีปลาชุกชุมที่สุด โดยผู้ที่ให้ทุนสนับสนุนในการศึกษานี้คือ มูลนิธิลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ, Bloomberg Philanthropies, มูลนิธิ Wyss , มูลนิธิ Waterloo และมูลนิธิ Adessium
โดย Kroodsma กล่าวว่า ขั้นต่อไปของโครงการจะเป็นการเก็บข้อมูลและจะนำไปประยุกตร์ใช้ตามนโยบายและการทำวิจัยเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น นักวิจัยกำลังเปรียบเทียบแผนที่ของปลาต่างสายพันธุ์กับบริเวณที่เรือจากประเทศต่างๆกำลังทำประมงอยู่
“คนถามว่า เราตกปลามากไปไหม ? คนถามว่า จะใช้กฎหมายประเภทใดควบคุมคนไม่ดี ? ชาวประมงต้องทำอย่างไรกับเงินอุดหนุน ? คำถามเหล่านี้เกี่ยวกับว่าเราจัดการกับมหาสมุทรอย่างไร ตอนนี้เราตอบได้แล้ว และเราสามารถนำข้อมูลขึ้นโต๊ะประชุม” เขากล่าว
การศึกษาก่อนหน้านี้สรุปเอาจากกิจกรรมการทำประมง มากกว่าที่จะทำการศึกษาโดยตรงเช่นนี้ ความก้าวหน้าของดาวเทียมพาณิชย์ที่มีระยะที่ครอบคลุมกว้างขวาง รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลของเรือ ทำให้นักวิจัยของ Global Fishing Wartch สรุปให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
“คนเราตกปลากันมานานกว่า 40,000 ปีแล้ว แต่เราเพิ่งจะได้ภาพที่ชัดเจนจริงๆ มันเป็นแค่หนึ่งในช่วงเวลาเหล่านี้ ซึ่งเรามีความก้าวหน้าครั้งใหญ่ ” Kroodsma กล่าว.