เศรษฐกิจจีนครึ่งแรกของปี 2566 ยังทยาน
เศรษฐกิจแนวโน้นดีดีขึ้น หลังจากรัฐบาลตัดสินใจเปิดประเทศ ส่งผลให้จีดีพีครึ่งปีแรก
เศรษฐกิจแนวโน้นดีดีขึ้น หลังจากรัฐบาลตัดสินใจเปิดประเทศ ส่งผลให้จีดีพีครึ่งปีแรก โต 6.3% น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ แม้ตัวเลขจากจะมาจากระดับต่ำเมื่อปีที่แล้ แต่สินค้าอุปโภคและบริโภคยังขยายตัวดี รวมถึงร้านอาหาร และเครื่องดื่มขยายตัวกว่า 21%
ภาพรวม เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2566 สนง. สถิติแห่งชาติจีน (NBS) แถลงภาวะเศรษฐกิจจีนในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ว่า 1.เศรษฐกิจจีนขยายตัว 6.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในไตรมาสที่ 2/2566 และขยายตัว 5.5% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 2.แม้ต่ำกว่าหลายฝ่ายคาดการณ์ แต่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นระดับสูงสุดนับตั้งไตรมาสที่ 2/2564 รวมทั้งสูงกว่าไตรมาสที่ 1/2566 (4.5%) ตลอดทั้งปี 2565 (3%) และระดับเฉลี่ยในช่วง 3 ปีของสถานการณ์โควิด-19 (2563 – 2565) ซึ่งอยู่ที่ 4.5% และ 3.มีปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของ ศก. จีน อาทิ การมีฐานตัวเลขที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การแสดงผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-19 การขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศและการฟื้นตัวของภาคบริการ
การบริโภค ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคของจีนเพิ่มขึ้น 8.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าระดับไตรมาสที่ 1/2566 ที่ 5.8% โดยเฉพาะรายได้ของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 21.4% และยอดค้าปลีกสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น 10.8% อย่างไรก็ดี ในเดือน มิ.ย. 2566 ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคของจีนเพิ่มขึ้นเพียง 3.1% ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ และลดลงเป็นอย่างมากจากระดับของเดือนเม.ย. 2566 (18.4%) และเดือนพ.ค. 2566 (12.7%)
การลงทุน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 การลงทุนสินทรัพย์ถาวรของจีนเพิ่มขึ้น 3.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าระดับ 4% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 โดย 1.การลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ลดลง 7.9% ซึ่งมีแนวโน้มลดลงมากขึ้น หากเทียบกับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 (ลดลง 7.2%) และเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการลงทุนของจีนในภาพรวม 2.การลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้น 6% ซึ่งเป็นระดับเดียวกันกับช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 และ 3.การลงทุนในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้น 7.2% แม้เพิ่มขึ้นน้อยลงเทียบกับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 (7.5%) แต่ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยรักษาเสถียรภาพของการลงทุนของจีนในภาพรวม
ภาคอุตสาหกรรม ในเดือน มิ.ย. 2566 มูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรมจีนเพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์และเพิ่มขึ้นจากระดับ 3.5% ในเดือน พ.ค. 2566 โดย 1.สาขาอุตสาหกรรม 26 สาขา (จากทั้งหมด 41 สาขา) มีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มสูงขึ้น อาทิ การผลิตถ่านหิน รถยนต์ และคอมพิวเตอร์ 2.สินค้าอุตสาหกรรม 331 รายการ (จากทั้งหมด 620 รายการ) มีปริมาณการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเหล็กดิบ เหล็กกล้า รถยนต์ และโซล่าเซลล์ และ3.อัตราการจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมอยู่ที่ 95.7% ซึ่งต่ำกว่าเดือน พ.ค. 2566 (96.6%) นอกจากนี้ มูลค่าการส่งมอบสินค้าส่งออกของ บ. อุตสาหกรรมในจีนลดลงร้อยละ 9.5 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภาคการส่งออกของจีนยังคงมีแรงกดดันค่อนข้างสูง
การจ้างงาน อัตราเฉลี่ยการว่างงานในเขตเมืองของจีนในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 และในไตรมาสที่ 2/2566 อยู่ที่ 5.3% และ 5.2% โดยลดลง 0.2% และ 0.3% จากไตรมาสที่ 1/2566 โดย 1.ในเดือน มิ.ย. 2566 อัตราการว่างงานในเขตเมืองของจีนอยู่ที่ 5.2% ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกันกับเดือนพ.ค. 2566 และเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2565 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 2.ในเดือน มิ.ย. 2566 อัตราการว่างงานของวัยรุ่นจีน (อายุ 16 – 24 ปี) และวัยทำงาน (อายุ 25 – 59 ปี) อยู่ที่ 21.3% และ 4.1% ตามลำดับ โดย สำนักงานสาขา Caixin ระบุว่า ในเดือน มิ.ย. 2566 วัยรุ่นจีนว่างงานเพิ่มขึ้น 0.5%nจากเดือน พ.ค. 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่จีนเริ่มเปิดเผยตัวเลขดังกล่าว (ปี 2561) ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และ (3) ในเดือน มิ.ย. 2566 อัตราการว่างงานของเมืองขนาดใหญ่ 31 แห่งของจีนอยู่ที่ 5.5%