เห็นชอบ ต่อ พ.ร.บ.ฉุกเฉินอีก 1 เดือน แต่ไม่ห้ามชุมนุม
ศบค.ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 1 เดือน แต่ไม่ห้ามการชุมนุม โดยตัดมาตรา 9 ออก
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 22 ก.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ชุดใหญ่ มีประชุมวาระสำคัญในการพิจารณาการผ่อนปรนมาตรการในระยะที่ 6 และการพิจารณาการขยายประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกไปอีก 1 เดือน จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ หลังจากเดิมจะครบกำหนดในวันที่ 31 ก.ค.
เวลา 12.30 น. พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) แถลงว่า ศบค. เห็นชอบให้ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกไปอีกหนึ่งเดือน โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ส.ค. เพราะยังมีความจำเป็นต่อการควบคุมโรค แต่ไม่ห้ามในมาตรา 9 คือไม่ห้ามกาชุมนุม เพื่อให้เห็นว่าเราไม่ได้ต่อ พ.ร.บ.ฉุกเฉินเพื่อการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ได้รายงานถึงความจำเป็นว่าในการต่อ พ.ร.บ.ฉุกเฉิน โดยจำเป็นต้องมีอำนาจตามกฎหมายเชิงป้องกันในการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ อาทิ 1) การควบคุมการเดินทางเข้า – ออกราชอาณาจักรในทุกช่องทาง 2) การจัดทาระบบติดตามตัว การกักตัว และการเฝ้าระวังบุคคลต้องสงสัย และ 3) มาตรการการควบคุมโรคที่สามารถบังคับใช้ ได้อย่างครอบคลุมในทุกกิจกรรม/กิจการที่เกี่ยวข้อง
จำเป็นต้องมีระบบการบริหารจัดการวิกฤติการณ์ในลักษณะการรวมศูนย์ที่ปฏิบัติงานได้ ความจาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการขอใช้สถานที่อย่างรวดเร็ว เป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการบูรณาการกาลังพลเรือน ตำรวจ และ กักตัวเพื่อตรวจสอบการติดเชื้อทหารเข้าร่วมปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับประเทศในช่วง การเปลี่ยนผ่านไปสู่ฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) จนกว่าจะมีกฎหมายฉบับอื่นมารองรับในอนาคต