EEC ประกาศแผนเปิดตัว จิ๊กซอว์ ตัวสุดท้าย 7 ธ.ค.นี้

ภารกิจการวารากฐาน EEC ในภาคแรก กำลังจะสิ้นสุด โครงการหลักทั้ง รถไฟความเร็ว ,ท่าเรือแหลมฉบัง และ มาบตาพุด ,สนามบินอู่ตะเภา ก็บรรลุจุดประสงค์..ขาดแต่ ATZ เท่านั้น ที่น่าจะเป็นภารกิจสุดท้าย ก่อนที่จะก้าวสู่ EEC เฟส 2
“โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน เป็นโครงการที่พยายามขับเคลื่อนกันมานานในลายยุคหลายสมัย สมัยก่อนเคยวางไว้ว่าจะทำที่ สนามบินโคราช แต่เราคิดว่าสนามบินอู่ตะเภา น่าจะเหมาะที่สุด ที่เป็นศูนย์กลางเรื่องการซ่อมบำรุงอย่างครบวงจร หรือ Aviation Technical Zone (ATZ) ”
นายโชคชัย ปัญญายงค์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าว พร้อมกับเล่าถึงความเป็นมาของ Aviation Technical Zone (ATZ) หรือกิจกรรมพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมการบินให้ฟังว่า
โครงการหนึ่งถูกกำหนดไว้แต่ก็ไม่สำเร็จ ก็คือ กิจกรรมซ่อมบำรุง (MRO) ของ การบินไทย จึงได้ถูกนำมาทบทวน ที่ผ่านมาทุกคนมอง MRO เป็นแค่เพียงอาคารศูนย์ซ่อมเครื่องบิน แต่ความจริงแล้ว คำว่า ศูนย์ซ่อมอากาศยานมันใหญ่กว่านั้นมาก ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของการซ่อม การถอดอะไหล่ แต่ รวมถึงวงจรการซ่อมอากาศยานทั้งหมด

“ทุกวันนี้ เราจะถอดอะไหล่เครื่องบินแล้วส่งไปซ่อมที่อื่น แต่อีอีซีมองว่าควรทำทุกอย่างแบบเบ็ดเสร็จ สมบูรณ์ ครบวงจรให้อยู่ในประเทศไทย จึงเป็นที่มาของคำว่า Aviation Technical Zone (ATZ) หรือ กิจกรรมพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมการบิน ในพื้นที่อู่ตะเภา”
มีคำถามว่าทำไมเลือกพื้นที่ ที่ อู่ตะเภา เป็น ATZ …
นายโชคชัย ตอบว่า เพราะเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม เนื่องจากมี รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือ ไฮสปีดเทรนเชื่อม3สนามบิน (อู่ตะเภา-สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง) ที่เปรียบเสมือนเป็นกระดูกสันหลัง ที่เชื่อมเมืองอีอีซี เข้าสู่กรุงเทพ สามารถย่น ระยะเวลาการเดินทาง และยังมีการพัฒนาถนน ที่แยกมาจากมอเตอร์เวย์สาย7 เพื่อเข้าสู่ สนามบิน อู่ตะเภา โดยตรง และยังอยู่ใกล้กับ แหลมฉบัง และ มาบตาพุด ทำให้การเดินทางเชื่อมโยงได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
รวมทั้ง เมืองพัทยา และ จังหวัดระยอง ก็มีปริมาณนักท่องเที่ยวอยู่ในอัตราที่ค่อยข้างสูงในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมา และการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
ฉะนั้นโครงสร้างพื้นฐาน โดยรอบ มีความพร้อมมาก สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก จึงมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูง และเหมาะที่จะเข้ามาพัฒนา เป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุงอากาศยานของภูมิภาคได้
ซึ่งกิจกรรมพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมการบิน หรือ ATZ ถือว่าเป็น จิ๊กซอว์ ตัวสุดท้าย ที่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กำลังขับเคลื่อน ซึ่งภายในพื้นที่มี กิจกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน (OEM) กิจกรรมพัฒนาบุคลากรด้านการบิน และ กิจกรรมซ่อมบำรุง (MRO) ที่เป็นหัวใจหลักของความสมบูรณ์แบบ..

และใน 7 ธ.ค.2564 ก็คือ วันที่ สกพอ.วางแผนที่จะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ด้วยการจัดทำ International Market Sounding เพื่อชี้แจงรายละเอียด และประชาสัมพันธ์ โครงการดังกล่าว เชิญชวนนักลงทุนและสำรวจความต้องการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
นายโชคชัย บอกว่า พื้นที่โครงการดังกล่าวที่อยู่ในความรับผิดขอบของภาครัฐที่ต้องพัฒนา มีจำนวนทั้งสิ้น 905 ไร่ โดยได้จัดแบ่งเป็นพื้นที่ให้เช่า เพื่อประกอบกิจการให้บริการสาธารณูปโภคสำหรับการดำเนินการสนามบิน จำนวนประมาณ 154 ไร่ ที่เหลือพื้นที่สำหรับการพัฒนากิจกรรมอุตสาหกรรมการบิน แบ่งเป็น พื้นที่สำหรับการก่อสร้างลานจอดอากาศยานที่รองรับกิจกรรมศูนย์ช่อมอากาศยานและ SMISLBT อำนวยการเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมการบินประมาณ 323 ไร่
พื้นที่สำหรับพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอุปกรณ์สนับสนุนการบิน (Aviation Support Equipment Maintenance Center) ประมาณ 50 ไร่
พื้นที่พัฒนาเป็นศูนย์ฝึกอบรมช่างชอมบำรุงอากาศยานและพื้นที่ส่วนกลางต่างๆ ประมาณ 157 ไร่ และ พื้นที่ที่ สกพอ. จัดสรรไว้สำหรับกิจกรรมพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมการบิน (Aviation Technical Zone: AT2) จำนวนประมาณ 375 ไร่
และยังได้สำรองพื้นที่ ไว้สำหรับ การบินไทยอีกประมาณ 100 ไร่ ในกรณีที่ การบินไทยฯ ดำเนินโครงการศูนย์ช่อมบำรุงอากาศยาน (MRO)
และทางสกพอ.ก็ได้ทำหนังสือเชิญชวนนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ เข้าร่วมรับฟังข้อมูลในการจัด International Market Sounding แล้ว ประมาณ 50 – 60 ราย และยังได้แจ้งไปยังสถานทูตต่างๆเพื่อเชิญชวนนักลงทุนในต่างประเทศเข้าร่วมฟังข้อมูล และเสดงความคิดเห็นอีกด้วย
และหลังจากทำจัด International Market Sounding เสร็จแล้ว ภายใน 3 เดือน หรือ ประมาณไตรมาสแรกปี 2565

สกพอ.จะจัดกิจกรรมเช่นนี้ขึ้นอีกครั้ง โดยจะคัดเอากลุ่มนักลงทุนที่มีความต้องการลงทุนในโครงการ ATZ เข้าร่วมรับฟังรายละเอียด เพิ่มเติม อีกครั้ง
“ในการทำ International Market Sounding เป็นการผนึกกำลังความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) สำนักงานการบินพลเรือนแห่ง ประเทศไทย กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยมีกลุ่มนักลงทุนที่ เป็นกลุ่มเป้าหมายในการเชิญให้มาลงทุนในโครงการ ทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มผู้ผลิตอากาศยาน 2. กลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการ MRO โดยตรง 3. กลุ่มสายการบินในระดับนานาชาติ”
นายโชคชัย บอกว่า ในส่วนของกิจกรรมพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมการบิน และการพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอุปกรณ์สนับสนุนการบิน คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาการใช้เช่า 30 ปี ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่ภาครัฐจากการให้เช่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท
นอกจากนั้น ยังก่อให้เกิดการพัฒนาด้านการศึกษาใน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอุดสาหกรรมการบินเพื่อผลิตบุคลากรที่มีทักษะสูง และคาดว่าจะสามารถเพิ่มอัตราการจ้างงานประเภทแรงานทักษะชั้นสูงด้านอุตสาหกรรมการบินกว่า 3,000 ตำแหน่ง
และยังสร้างรายได้ให้แก่ ภาครัฐจากภาษีรายได้ของภาคเอกชนที่เข้ามาลงทุน รวมถึงเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ สนับสนุนการเจริญเติบโตของพื้นที่ EEC และช่วยลดตันทุนของการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมการบินของประเทศ และสนับสนุนการพัฒนาโครงการฯ ให้เป็นศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ในระดับภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจะส่งผล ต่อการเจริญเติบโตของ GOP ของประเทศ อีกด้วย

ทั้งนี้ สกพอ.ได้วางแผนดำเนินการคัดเลือกเอกชนผู้เช่าในปี 2565 เริ่มก่อสร้างโครงการในปี 2566 เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการ พร้อมกับการเปิดให้บริการท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ในปี 2568
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาได้มีเอกชนให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน ธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยาน ไม่ต่ำกว่า 2-3 ราย ซึ่งธุรกิจนี้ถือว่ามีโอกาสเติบโตสูง เพราะมีเครื่องบินที่ใช้ในไทย 150-200 ลำ สามารถรองรับการเข้ามาลงทุนได้ทันที
ทั้งนี้ได้มีการประเมินกันว่า ธุรกิจการบิน จะเริ่มฟื้นตัวประมาณปี 2567 ซึ่งก็สอดคล้อง กับ แผนการดำเนินงาน ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน อู่ตะเภา ที่วางเป้าหมายเปิดให้บริการพอดี
สำหรับความคืบหน้า โครงการท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก นั้น บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA ได้ส่งรายงานแผนแม่บท (มาสเตอร์แพลน) ไปยังสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ตรวจสอบและอนุมัติแล้ว และขณะนี้ UTA ก็อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียดอาคารผู้โดยสาร ซึ่งนายโชคชัย มั่นใจว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนในปี 2568 อย่างแน่นอน
ถึงวันนั้น ประเทศไทยก็จะกลายเป็น ศูนย์กลางการซ่อมบำรุงอากาศยานของภูมิภาคและระดับโลก ในอนาคตอันใกล้นี้..