ส่องภารกิจอีอีซีมุ่งสร้างเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง
“อีอีซี” เดินตามแผนงานหลัก ผุด 4 โครงการยักษ์ มูลค่ารวมกว่า 6.5 แสนล้านบาท พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจและระบบขนส่งภายในประเทศเพื่อเชื่อมโยงต่างประเทศ มั่นใจเอกชนไทยแข็งแกร่งพร้อมลุยเศรษฐกิจเศรษฐกิจโลก
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวัน ออก (สกพอ.) พยายามที่จะขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งขณะนี้ แผนงานหลักที่เป็นโครงการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน หรือ PPP (Public Private Partnership) ได้เซ็นสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนแล้ว 4 โครงการ ซึ่งทั้ง 4 โครงการถือเป็นกระดูกสันหลังของอีอีซี จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ ประกอบด้วย 1.โครง การรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิและอู่ตะเภา) 2.โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก 3.โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และ 4.โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F
โดยทั้ง 4 โครงการดังกล่าว มีมูลค่าลงทุนรวมสูงถึง 654,921 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนภาคเอกชน 416,080 ล้านบาท คิดเป็น 64% และเป็นการลงทุนของภาครัฐ 238,841 ล้านบาท คิดเป็น 36% โดยภาคเอกชนจะให้ผลตอบแทนภาครัฐ 440,193 ล้านบาท และรัฐได้ผลตอบแทนสุทธิ 210,352 ล้านบาท ผลสำเร็จของทั้ง 4 โครงการในครั้งนี้ ถือเป็นการขับ เคลื่อนการลงทุนเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนคนไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต สะท้อนให้เห็นถึงหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อการลงทุนของประเทศ ภายใต้หลักคิด 4 ประการ คือ 1.ประเทศไทยก้าวไปสู่การพึ่งพาตนเอง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลักในอีอีซีครั้งนี้ ไม่พึ่งพิงเงินกู้จากต่างประเทศ แตกต่างจากอดีตที่ผ่านมา ที่การลงทุนต้องกู้เงินต่างประเทศมาทำโครงการ อันจะทำให้เกิดภาระทางการคลังในระยะยาวที่ต้องทยอยชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้
2.เอกชนไทย ธุรกิจไทยที่แข็งแรงร่วมกระบวนการพัฒนาประเทศได้ ความร่วมมือภาครัฐและเอกชนแบบลงตัว สะท้อนถึงภาคเอกชนไทยมีความแข็งแกร่งเป็นแกนหลักนำพันธมิตรบริษัทต่างชาติ มาร่วมทำงานให้คนไทยด้วยกัน แนวทางใหม่ที่เกิดขึ้นนี้คือ การใช้บริษัทไทย ใช้คนไทย และใช้เงินไทยในการลงทุนที่จะสร้างงานและเงินหมุนเวียนในประเทศ เกิดการทวีคูณต่อระบบเศรษฐกิจ (Multiplier effect) เพิ่มขึ้นหลายเท่า กว่ามูลค่าการลงทุน 600,000 ล้าน เกิดการสร้างงาน และสร้างรายได้ให้กับบริษัทไทย รายใหญ่และรายเล็ก รวมทั้งระดับชุมชน นอกจากนั้นยังสร้างรายได้จากภาษี โดยเฉพาะภาษีทางอ้อมจำนวนมาก
3.รัฐไม่ต้องใช้งบประมาณ และได้ผลตอบแทนสุทธิสูงถึง 200,000 ล้านบาท สินทรัพย์ที่นำมาดำเนินการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยบริหารร่วมกับเอกชนถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เกิดมูลค่าลงทุนมากกว่า 650,000 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณของประเทศ และยังสร้างรายได้สุทธิให้กับภาครัฐ เป็นมูลค่าปัจจุบันมากกว่า 200,000 ล้านบาท
4.เอกชนร่วมเสี่ยงกับภาครัฐ คือการสร้างมั่นใจในอนาคตของประเทศ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลักในอีอีซีทั้ง 4 โครง การที่เป็นการร่วมทุน รูปแบบ PPP แสดงให้เห็นว่า รัฐ-เอกชน สามารถร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้กับประเทศได้ และการที่เอกชนมั่นใจนำเงินมาลงทุน ร่วมเสี่ยงกับรัฐบาล คือการการันตีความร่วมมือกันอย่างมั่นใจในอนาคตทำให้ประเทศไทย กำลังก้าวสู่การสร้างอนาคตใหม่ร่วมกันทั้งประเทศ รัฐ-เอกชนและประชาชนให้แก่คนไทยทุกอย่างยั่งยืน