กกพ. จัดมอบรางวัลเกียรติยศกับสุดยอดผลงานการประกวดกองทุนพัฒนาไฟฟ้า อวอร์ด 2565
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) จัดงานประกาศผล และพิธีมอบรางวัลการประกวดกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ประจำปี 2565 “กองทุนพัฒนาไฟฟ้าอวอร์ด 2565” ส่งมอบรางวัลเเห่งเกียรติยศ เชิญถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นเกียรติประวัติของผู้ชนะการประกวด และเงินรางวัลรวมกว่า 710,000 บาท ให้กับสุดยอดผลงานสร้างสรรค์ ทั้ง 28 ผลงาน พร้อมโชว์ความสำเร็จของการดำเนินงานผ่านการจัดแสดงผลงานของผู้เข้าประกวด และจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ดีเด่นจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศทั่วประเทศ ณ ห้องมิตรทาวน์ฮอล์ 1 ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ได้จัดกิจกรรม “การประกวดกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ประจำปี 2565” ภายใต้แนวคิด “เราคือผู้สร้างความยั่งยืนอย่างไม่หยุดยั้ง” Empower the Community for Sustainable Development ซึ่งมีการเปิดรับสมัครผลงานเข้าร่วมประกวดตั้งแต่
4 กุมภาพันธ์ 2565 และที่ผ่านมาสำนักงาน กกพ. ได้มีการจัดกิจกรรมลงพื้นที่ครอบคลุมสำนักงาน กกพ. ประจำเขตทั่วประเทศ ในพื้นที่จังหวัดลำปาง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา และกรุงเทพมหานคร เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครผู้เข้าประกวด โดยในปีนี้มีการประกวดผลงาน แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ 2. ระดับโครงการชุมชนในพื้นที่ประกาศ 3. ระดับหมู่บ้านต้นแบบกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
“การจัดประกวดกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ประจำปี 2565 ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ เพื่อมุ่งหวังสร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้เกี่ยวข้องได้พัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพที่ต่อเนื่อง สู่การพัฒนาชุมชน และการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างตัวอย่างของกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ โครงการชุมชนที่ดี และหมู่บ้านต้นแบบ สำหรับการนำไปใช้ขยายผลและแลกเปลี่ยนความรู้การดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผลงานเข้าร่วมประกวดทั้ง 3 ระดับ รวมกว่า 184 ผลงาน โดยผ่านการคัดเลือกรอบแรกจำนวน 84 ผลงาน แบ่งเป็น 1. ระดับกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ จำนวน 28 ผลงาน ระดับโครงการชุมชนในพื้นที่ประกาศ จำนวน 38 ผลงาน และระดับหมู่บ้านต้นแบบกองทุนพัฒนาไฟฟ้า จำนวน 18 ผลงาน ซึ่งในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเมษายน 2565 คณะทำงานสนับสนุนการตัดสินการประกวด ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง และประเมินผลการดำเนินงานของผลงานที่ผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้ภายใต้หลักเกณฑ์ ตัวชี้วัด และแนวทางการพิจารณาการประกวดแต่ละระดับ จนได้สุดยอด 28 ผลงานการบริหารจัดการกองทุนดีเด่น โครงการชุมชน และต้นแบบแห่งการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า” นายเสมอใจ กล่าว
นายเสมอใจ กล่าวต่อว่า จากการประกวดกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ประจำปี 2565 ผลปรากฏว่า มีกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ โครงการชุมชนในพื้นที่ประกาศ และหมู่บ้านต้นแบบกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 21 รางวัล 28 ผลงาน ดังนี้
การประกวดระดับกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ จำนวน 4 รางวัล ได้แก่
รางวัลประเภทกองทุนขนาดใหญ่ดีเด่น จำนวน 3 รางวัล ประกอบด้วย
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 กองทุน ได้แก่ กองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 กองทุน ได้แก่ กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 กองทุน ได้แก่ กองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ
รางวัลประเภทกองทุนขนาดกลางดีเด่น จำนวน 1 รางวัล ประกอบด้วย
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดกาญจนบุรี 2, กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดสุพรรณบุรี 3 และกองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดกาญจนบุรี 9
การประกวดระดับโครงการชุมชนในพื้นที่ประกาศ จำนวน 14 รางวัล ได้แก่
รางวัลด้านสาธารณสุขดีเด่น จำนวน 2 รางวัล ประกอบด้วย
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ในช่องปากระบบดิจิตอล โรงพยาบาลท่ากระดานอำเภอศรีสวัสดิ์ กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดกาญจนบุรี 5 และโครงการจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์โรงพยาบาลโพธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดราชบุรี 6
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการจัดซื้อกระเป๋าคัดกรองโรคประจำหมู่บ้าน อสม. ห่วงใยประชาชน ตำบลไผ่ต่ำ กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดสระบุรี 2
รางวัลด้านการศึกษาดีเด่น จำนวน 3 รางวัล ประกอบด้วย
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และเครื่องดนตรี โรงเรียนท่าตะคร้อ ตำบลท่าตะคร้อ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดกาญจนบุรี 9
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ในฝันโรงเรียน วัดห้วยหมู หมู่ 9 กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดราชบุรี 3
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างโดมคลุมลานกีฬาอเนกประสงค์โรงเรียนอนุบาลด่านช้าง กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดสุพรรณบุรี 3 และโครงการจ้างครูอัตราจ้างรายเดือนโรงเรียน วัดลำพระยา
(แช่มช้อยวิทยา) หมู่ 4 ตำบลวังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รางวัลด้านเศรษฐกิจชุมชนดีเด่น จำนวน 2 รางวัล ประกอบด้วย
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปากแรต กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดราชบุรี 2 และโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนพรุไทยฮันนี่บี กองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมอาชีพต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากฟางข้าว หมู่ 3 ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดราชบุรี 2
รางวัลด้านสิ่งแวดล้อมดีเด่น จำนวน 2 รางวัล ประกอบด้วย
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการศูนย์อนุรักษ์และฟื้นฟูปูแสมปูดำสู่การจัดการธรรมชาติ กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดภูเก็ต 1
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการจัดซื้อเครื่องเติมอากาศกังหันตีน้ำพลังงานแสงอาทิตย์พร้อมติดตั้งเพื่อใช้ในชุมชน ตำบลสามเรือน อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดราชบุรี 1 และโครงการจ้างงานกำจัดวัชพืชและสิ่งที่กีดขวางทางน้ำเพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บ สายท่าเทพ บ้านป่าระไมกลาง หมู่ที่ 2 ตำบลขุนตัดหวาย กองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลา
รางวัลด้านรางวัลด้านสาธารณูปโภคดีเด่น จำนวน 2 รางวัล ประกอบด้วย
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการปรับปรุงคลองส่งน้ำรูปตัววี บ้านพุองกะ หมู่ 4 ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดกาญจนบุรี 8
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน กองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และโครงการปรับปรุงระบบประปาประจำหมู่บ้าน บ้านเกาะทากเหนือ หมู่ 2 ตำบลนาหว้า กองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลา
รางวัลด้านพลังงานชุมชนดีเด่น จำนวน 3 รางวัล ประกอบด้วย
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่ ตำบลท่าแฝกกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการติดตั้งชุดพลังงานโซล่าเซลล์ให้กับโรงเรียนบ้านเขาหัวช้าง กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์พร้อมพาราโบล่าโดม กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดระยอง 2
การประกวดระดับหมู่บ้านต้นแบบกองทุนพัฒนาไฟฟ้า จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านแหลมประทับ หมู่ 5 ตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านบ้านบนทุ่ง หมู่ที่ 2 ตำบลพรุไทย อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี กองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านบ้านบางป่า ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดราชบุรี 1
ในวันนี้ จาก 184 ผลงาน สู่สุดยอด 28 ผลงานที่ผ่านการคัดเลือก สำนักงาน กกพ. ได้จัดพิธีมอบรางวัลเเห่งเกียรติยศ
โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการพระราชทานถ้วยรางวัล ให้แก่ผู้ชนะการประกวดในระดับกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ และสำนักงาน กกพ. ขอมอบรางวัลแห่งเกียรติคุณให้แก่ทุกๆ ผลงานที่ร่วมสร้างสรรค์ผลงานแห่งการพัฒนาโดยงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า และเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการต่อยอด
การพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้าสืบไป พร้อมกันนี้ ภายในงานยังได้จัดนิทรรศการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า มีการจัดแสดงผลงานผู้เข้าประกวดและจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ดีเด่นจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศทั่วประเทศ รวมทั้งกิจกรรมที่น่าสนใจ Talk Session ในหัวข้อ “สร้างความสุข สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน” โดย ‘อเล็กซ์ เรนเดลล์’ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้จัดขึ้น ณ ห้องมิตรทาวน์ฮอล์ 1 ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์
อย่างไรก็ตามตลอดช่วงการดำเนินโครงการที่ผ่านมา สำนักงาน กกพ. ได้เห็นถึงความตั้งใจของแต่ละผลงานที่เกิดจากความร่วมมือกันของชุมชน ช่วยกันผลักดันให้ประสบความสำเร็จ โดยสามารถนำงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าไปบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนับว่าทุกผลงานล้วนมีความโดดเด่น และมีศักยภาพในการต่อยอดเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม พร้อมเป็นแบบอย่างของแรงบันดาลใจในการสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างอย่างยืนแท้จริง นายเสมอใจ กล่าวสรุป