สสว.ผสาน ทพอ.รับมือเศรษฐกิจสังคมสูงวัย
สสว. พร้อม 18 หน่วยงานที่ประชุมผู้บริหารองค์กร ของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ (ทพอ.) เตรียมพร้อมรับมือเศรษฐกิจสังคมไทยให้เติบโต อย่างยั่งยืน มีคุณภาพ หลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอีก 20 ปีหน้า
นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวในฐานะเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการที่ประชุมผู้บริหารองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ เฉพาะ (ทอพ.) ประจำปี ครั้งที่ 6 ภายใต้หัวข้อ “Silver Society ขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจไทย” ว่า สมาชิก ทอพ. ทั้ง 18 หน่วยงาน ตระหนักว่า การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเป็นเมกะเทรนด์หรือพลวัต สำคัญที่สร้างผล กระทบใน วงกว้างทั้งต่อสังคมโลกรวมถึงประเทศไทย จึงร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เพื่อเตรียม พร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยมาอย่างต่อเนื่อง ตามบทบาทภารกิจของแต่ละหน่วยงาน
“ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 2 ของภูมิภาคอาเซียน รองจากสิงคโปร์ ที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete aged society) ในปี 2564 โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประมาณ การว่า ประชากรอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 13 ล้านคน สูงถึงร้อยละ 20 ของประชากร ทั้งหมด และในปี 2583 หรืออีก 20 ปีข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็น 20 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของคนไทย ทั้งนี้ ผู้สูงอายุวัยปลายที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป จะมีมากถึง 3.5 ล้านคน” นายสุวรรณชัยกล่าว
ทึ้งนี้ สสว. ได้เป็นเจ้าภาพจัดการ ประชุมวิชาการ ทอพ. ครั้งที่ 6 ภายใต้หัวข้อ “Silver Society ขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจไทย” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน ถ่ายทอดบทเรียน ความคิดเห็น การสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ และนำเสนอ ผลงานของแต่ละองค์กรผ่านเวทีการสัมมนา ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในหัวข้อ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อผู้สูงวัย” ด้านสุขภาพ ในหัวข้อ “การดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย (Health Care)” ด้านเศรษฐกิจ ในหัวข้อ “ผู้ประกอบการสูงวัย (Silver Entrepreneurship)” ด้านสังคมและการศึกษา ในหัวข้อ “ความรู้เรื่องการเงินสำหรับผู้สูงวัย”
ด้าน นศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ประธาน ทอพ.กล่าวว่า ประเทศไทย เริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยนั้บตั้งแต่ปี 2548 เห็นได้จากสัดส่วนประชากรสูงวัยซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างรวดเร็ว จนมีจำนวนมากกว่าประชากรวัยเด็ก ในปี 2562 ข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 ระบุว่า ประเทศไทยมีจำนวนประชากรทั้งหมด 66.4 ล้านคน เป็นประชากรสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้น ไปจำนวน 10.67 ล้านคน หรือ 16.06% ประกอบด้วยผู้สูงอายุชาย 4.72 ล้านคน และผู้สูงอายุหญิง 5.95 ล้านคน โดยจังหวัดที่มีจำนวนประชากรสูงอายุมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร มีผู้สูงอายุกว่า 1 ล้านคน หรือ 17.98% ตามด้วย นครราชสีมา เชียงใหม่ ขอนแก่น และอุบลราชธานี.