งบลงทุนรัฐวิสาหกิจเติบโตต่อเนื่อง 3 ปีติดต่อกัน
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)
เปิดเผยว่า การเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนของรัฐวิสาหกิจเติบโตต่อเนื่อง 3 ปีติดต่อกัน โดยขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 10.4 ในช่วงปี 2558 – 2560 ทั้งนี้ จากเครื่องชี้การลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2560 รัฐวิสาหกิจ 45 แห่งที่ สคร. กำกับดูแล
มีการเบิกจ่ายงบลงทุนเติบโตประมาณร้อยละ 8.6 ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2560 ให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว
หมายเหตุ: *ข้อมูลคาดการณ์จากเครื่องชี้การลงทุนของรัฐวิสาหกิจจำนวน 45 แห่ง ของ สคร.
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ สคร. ในฐานะโฆษก สคร. กล่าวเสริมว่า ผลการเบิกจ่าย
งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2560 เท่ากับ 280,317 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 81 ของแผนการเบิกจ่ายลงทุนประจำปี โดยรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนขนาดใหญ่และสามารถเบิกจ่ายได้สูงสุด ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
แห่งประเทศไทย การเคหะแห่งชาติ และการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2560
(ตุลาคม 2559 – ธันวาคม 2560)
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
สำหรับกรอบการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2561 จำนวน 506,162 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47จากปี 2560 โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 (ตุลาคม – ธันวาคม 2560) รัฐวิสาหกิจที่ปีบัญชี
เป็นปีงบประมาณสามารถเบิกจ่ายได้ 18,016 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 83 ของแผนเบิกจ่ายสะสมที่ 21,578 ล้านบาท
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวสรุปว่า ในปี 2560 รัฐวิสาหกิจที่ สคร. กำกับดูแลการเบิกจ่ายงบลงทุนสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนสูงกว่าปีก่อนหน้าถึงประมาณร้อยละ 8.6 เนื่องจากนโยบายรัฐบาลในการเร่งรัดการลงทุนของรัฐวิสาหกิจเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศ สำหรับในปีงบประมาณ 2561 สคร. จะเร่งรัดการลงทุนของรัฐวิสาหกิจผ่านกลไกผู้ถือหุ้นเชิงรุกของกระทรวงการคลัง (Active Shareholder) และการเป็นหุ้นส่วนเชิงรุกกับรัฐวิสาหกิจ (Active Partner) เพื่อให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ รวมถึงได้แจ้งให้ประธานกรรมการรัฐวิสาหกิจและกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำกับให้รัฐวิสาหกิจเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้เพื่อเป็นแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง.