จีดีพีอินโดฯ Q1 โตต่ำสุดในรอบ 11 ปี
จาการ์ตา : เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาสแรกของปีนี้เติบโตต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นการชะลอตัวเกินคาดการณ์ เนื่องจากไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด
วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงกับการบริโภค (ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญทางเศรษฐกิจ) การลงทุน การท่องเที่ยว และการส่งออกโภคภัณฑ์สำคัญ
จีดีพีในไตรมาสเดือนม.ค. – มี.ค. ขยายตัว 2.97% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นตัวเลขการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2544 จากข้อมูลของสำนักงานสถิติ โดยตัวเลขจีดีพีในไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ 4.97%
ขณะที่ตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยจากโพลของรอยเตอร์อยู่ที่ 4.04% เนื่องจากมีนักวิเคราะห์หลายคนคาดการณ์ว่า ตัวเลขจะแย่กว่า
รัฐบาลระบุว่า จะรับรู้ผลกระทบเต็มรุูปแบบจากโรคระบาดโควิด-19 ได้ต่อจากนี้ เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสองเดือนแรกของปีนี้เกิดขึ้นก่อนที่โควิด-19 จะแพร่ระบาดรุนแรงในเดือนมี.ค.
แกเร็ธ เลเธอร์ นักเศรษฐศาสตร์เอเชียอาวุโสประจำ Capital Economic ระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศยังคงดีกว่าที่อื่นในไตรมาสแรก เพราะอินโดนีเซียมีมาตรการล็อกดาวน์หลายพื้นที่ของประเทศช้ากว่าประเทศอื่นๆ
“ จะยังคงมีการล็อกดาวน์อยู่อีก ความล้มเหลวในการควบคุมไวรัสจะส่งผลกระทบกับแนวโน้มเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด” เลเธอร์เสริม
อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลกเริ่มตรวจพบผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายคนเป็นหวัดในช่วงต้นเดือนมี.ค. และเริ่มปิดโรงเรียนและออฟฟิศในเวลาต่อมาในเดือนมี.ค.เพื่อควบคุมการระบาดอย่างรวดเร็ว จนถึงตอนนี้ อินโดนีเซียมียอดผู้ป่วยสะสม 11,587 รายและมีผู้เสียชีวิต 864 ราย
โดยในเดือนม.ค. – มี.ค. การบริโภคในครัวเรือน ซึ่งคิดเป็นมากกว่าครึ่งของจีดีพี มีอัตราการเติบโตเพียง 2.84% เมื่อเทียบกับประมาณ 5% ในไตรมาสก่อนหน้านี้
การลงทุนและการส่งออกก็อ่อนแรงลง โดยมีตัวเลขการเติบโตอยู่ที่ 1.7% และ 0.24% ตามลำดับ
ก่อนหน้าข้อมูลของไตรมาสแรก ทางการคาดการณ์แนวโน้มการเติบโต 2.3% ในปี 2563 ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา แต่ก็ได้คาดการณ์ความเสี่ยงว่า จีดีพีจะหดตัวลง 0.4% ในปีนี้ จากผลกระทบของการระบาด
รัฐบาลขยายตัวเลขการขาดดุลงบประมาณมากที่สุดในรอบกว่าทศวรรษเพื่อรองรับการใช้จ่ายในภาคส่วนสาธารณสุข สวัสดิการและการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่ธนาคารกลางปรับลดดอกเบี้ยและอัดฉีดเงินเข้าระบบการคลังเพื่อช่วยหนุนเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นช่วงโรคระบาดไปได้
ข้อมูลจากทางการในสัปดาห์นี้ระบุว่า ประชาชนประมาณ 1.7 ล้านคนตกงานจากวิกฤตโรคระบาด ขณะที่กรมสรรพากรระบุว่า มีมากกว่า 20,000 บริษัทที่ลงทะเบียนขอชะลอการจ่ายภาษีให้รัฐ