เมียนมาเร่งนโยบายใหม่ตาม AEC ให้ทัน
เหลืออีกเพียง 3 เดือนก่อนถึงกำหนดที่จะเข้าร่วมในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC เมียนมาต้องเร่งปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจและเตรียมธุรกิจในประเทศให้พร้อมที่จะแข่งขันกับต่างประเทศ
โดยในวันที่ 1 ม.ค.ปี 2562 เมียนมา พร้อมทั้งกลุ่มประเทศ CMLV คือกัมพูชา ลาว และเวียดนามจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ AEC อย่างเป็นทางการ
เป้าหมายของ AEC สำหรับอาเซียนคือการเปิดเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นธรรมกับประเทศสมาชิก หากเป็นจริงได้ ตลาดอาเซียนจะได้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวอย่างเสรีของสินค้า บริการและการลงทุน รวมถึงสภาพคล่องของเงินทุนและทักษะ
ขณะที่ AEC จะเป็นโอกาสใหม่สำหรับการเติบโตและการพัฒนาสำหรับบริษัทเมียนมา ยังเป็นการนำความท้าทายมาสู่ประเทศที่ปัจจุบันยังคงไม่พร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ระดับการแข่งขันสำหรับธุรกิจของเมียนมา เนื่องจากนักลงทุนใหม่ๆจะเข้ามาสู่ตลาดและผู้ค้ามองหาประเทศอื่นๆเพื่อให้ดีลที่ดีกว่าโดยเฉพาะเมื่อสินค้าคุณภาพดีและแบรนด์ที่เหมาะสมซึ่งเมียนมาผลิตมีจำนวนน้อย
ที่จริงแล้ว มีการแข่งขันกับต่างประเทศเพิ่มขึ้นตั้งแต่รัฐบาลอนุมัติให้มีการลงทุนในภาคส่วนค้าปลีกเมื่อเดือนพ.ค.ปีนี้ ปัจจุบัน ผู้ค้าปลีกในประ
เทศระบุว่า ควรมีความเข้มงวดกับบริษัทต่างชาติที่แข่งขันโดยตรงกับ SMEs และร้านโชว์ห่วย เมียนมามีร้านสะดวกซื้อเล็กๆประมาณ 3 ล้านร้าน ร้านค้าเหล่านั้นจะประสบปัญหาหากมีเชนค้าปลีกรายใหญ่อย่าง 7- Eleven เข้ามา
นางอองซาน ซูจี ประธานที่ปรึกษาแห่งรัฐได้พบกับกลุ่มธุรกิจในประเทศเมื่อวันที่ 27 ส.ค. เพื่อรับฟังปัญหาทั้งหมด โดยในการประชุม นักธุรกิจเรียกร้องให้ลดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมลง เพื่อให้ธุรกิจในประเทศเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
ในเมียนมา ธนาคารกลางปรับอัตราดอกเบี้ยเป็น 10% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดอยู่ที่ 13% โดยธนาคารกลางระบุว่า อัตราดอกเบี้ยนี้จะสามารถตั้งรับกับเงินเฟ้อสูง และจะมีการลดดอกเบี้ยลงในระยะยาว
นางซูจียังได้สนับสนุนให้มีการลดภาษีลง เพื่อทำให้ธุรกิจในประเทศสามารถแข่งขันกับการค้าชายแดนผิดกฎหมายได้ง่ายขึ้น ในเมียนมา สินค้าจำนวนมากถูกเก็บภาษีตั้งแต่ขั้นตอนของวัตถุดิบและถูกเก็บภาษีอีกหลังมีการแปรรูปแล้ว ทำให้ประชาชนต้องเสียภาษีสูงถึง 30% จากทุกแหล่งที่มาของรายได้ ในการประชุม เธอระบุว่า รัฐบาลจะศึกษาและพิจารณาการปรับลดภาษีและค่าตอบแทนใหม่ แต่ไม่ได้ให้คำตอบถึงช่วงเวลาที่ชัดเจน
ดร.Myo Thant นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า เมียนมาหมดเวลาแล้วที่จะเตรียมพร้อมสำหรับ AEC “ เมียนมามีเวลา 3 ปีในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้า AEC แต่บริษัทในประเทศยังไม่อยู่ในสถานะที่จะแข่งขันกับต่างชาติ จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเปลี่ยนแปลงในเวลาแค่ 3 เดือน”
ทางออกที่เป็นไปได้สำหรับบริษัทเมียนมาใน AEC คือ การควบรวมกับธุรกิจที่เข้ามาในประเทศ หรือกับบริษัทในประเทศเองเพื่อให้มีขนาดที่ดีขึ้น “ มีความเป็นไปได้ว่าหลายบริษัทอาจถูกบีบให้ปิดตัว ขณะที่บริษัทที่เหลือก็ต้องดิ้นรนต่อสู้ต่อไป” เขากล่าว
ทั้งนี้ เวลาที่เหลืออีก 3 เดือนไม่เพียงพอสำหรับบริษัทในประเทศที่จะสร้างเกราะป้องกันในการแข่งขันกับต่างชาติ แต่การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ AEC การเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านภาษี ธนาคาร และโครงสร้างพื้นฐานจะกลายเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในที่สุด.