ครอบครัวก่อการร้าย-ภัยคุกคามใหม่ในอินโดฯ
การก่อการร้ายทั้งครอบครัวเป็นภัยคุกคามใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐมนตรีกลาโหมในภูมิภาคออกมาเตือนในช่วงสุดสัปดาห์นี้
โดยได้เอ่ยอ้างถึงเหตุก่อการร้ายด้วยระเบิดฆ่าตัวตายในเมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือนพ.ค.ที่เกี่ยวข้องกับ 3 ครอบครัว รวมทั้งเด็กด้วย เจ้าหน้าที่รัฐบาลแสดงความกังวลว่านี่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุดที่ต้องแก้ไข เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปกครองใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการก่อการร้ายอีก
ภัยจากการก่อการร้ายเป็นครอบครัว ซึ่งเป็นเหตุร้ายที่พ่อแม่และลูกๆใช้ระเบิดฆ่าตัวตายเป็นวิธีการในการลงมือก่อเหตุ เป็นพัฒนาการใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นบางอย่างที่ผู้ก่อการร้ายในประเทศไม่เคยทำมาก่อน Delfin Lorenzana รมว.กระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ระบุเมื่อวันที่ 3 มิ.ย.ที่ผ่านมา
เป็นสิ่งที่เลวร้ายมากที่พ่อแม่ใช้ลูกตัวเองเป็นเครื่องมือในการก่อเหตุร้ายแบบระเบิดฆ่าตัวตายเช่นนี้ Ryamizard Ryacudu รมว.กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียแสดงความเห็นในวันที่ 2 มิ.ย.
รัฐมนตรีทั้งสองมีการประชุมกันที่ Shangri – La Dialogue ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีของรมว.กระทรวงกลาโหมจากทั่วโลก
มีประชาชนประมาณ 13 รายที่เสียชีวิต และมีผู้บาดเจ็บ 40 คนหลังจากครอบครัวที่มีสมาชิก 6 คน รวมทั้งเด็กวัย 9 ปีและ 12 ปี ได้ก่อเหตุระบิดฆ่าตัวตายที่โบสถ์ 3 แห่งเมื่อวันที่ 13 พ.ค.ในวันเดียวกัน แม่และลูกสาววัย 17 ปีเสียชีวิตจากระเบิดฆ่าตัวตายที่พ่อเป็นคนผูกติดตัวไว้ในย่านกลางเมือง และในวันต่อมา อีกครอบครัวที่มีสมาชิก 5 คนก็ก่อเหตุร้ายที่ทางเข้าของสำนักงานตำรวจสุราบายา
เหตุระเบิดฆ่าตัวตายสร้างความตื่นตกใจไปทั่วประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งที่ผ่านมา ทางการต้องพยายามที่จะควบคุมกับกลุ่มหัวรุนแรงสุดโต่งในประเทศ แต่ยังคงไม่คุ้นเคยกับแนวคิดที่ใช้ชีวิตของเด็กๆมาเป็นเครื่องมือในการก่อเหตุร้าย
Ryacudu ได้อธิบายถึงปรากฎการณ์ที่เรียกว่า ‘การก่อการร้ายรุ่นที่ 3’ ซึ่งเป็นแนวคิดของกลุ่มไอเอสที่จะแพร่กระจายขยายแนวร่วมจากตะวันออกกลางไปที่ยุโรปและเอเชียโดยผ่านโซเชียลมีเดีย โครงข่ายที่ไม่เป็นทางการและนักรบต่างชาติ ยุทธศาสตร์โครงสร้างและระบบเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อต่อสู้กับเหตุการณ์ร้ายนี้ โดยเสริมว่า ประเทศของเขากำลังใช้วิธีการต่างๆเพื่อปราบปรามกลุ่มหัวรุนแรง โดยการสำรวจตรวจตรา และการสืบค้นที่ทันเหตุการณ์
Lorenzana ได้เน้นให้เห็นถึงรูปแบบใหม่ของการรับสมัครนักรบจากองค์กรที่สวามิภักดิ์ไอเอส“พวกที่สมัครไปร่วมรบกับไอเอสเป็นคนมีการศึกษา อายุน้อย และพื้นฐานมาจากชนชั้นกลาง” ซึ่งเป็นประโยชน์กับเครือข่ายดิจิทัลของกลุ่มไอเอส
เขาเตือนว่า กลุ่มก่อการร้ายใช้เทคโนโลยีต่างๆ ทั้งสกุลเงินดิจิทัลและเว็บมืดที่นำเสนอผู้ก่อการร้ายนิรนาม ซึ่งที่เป็นที่สังเกตได้ยาก โดยเขายกตัวอย่างในประเทศของเขา เช่น กลุ่มกบฎอาบูไซยาฟ และมาอูเตที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการเข้ายึดเมืองมาราวีในปี 2560
ทั้งนี้ หลายคนกังวลว่าเมียนมา ซึ่งกำลังประสบกับวิกฤตผู้ลี้ภัย อาจเป็นแหล่งกำเนิดของผู้ก่อการร้ายแห่งต่อไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“เราต้องให้ความเอาใจใส่กับประเด็นโรฮิงญาในเมียนมา เพราะหากไม่มีการจัดการให้ถูกต้อง ผู้ลี้ภัยอาจเข้าร่วมกับกลุ่มก่อการร้ายไอเอส” Ryacudu กล่าว.