ซูจีเยือนรัฐยะไข่
นางอองซาน ซูจี ผู้นำรัฐบาลของเมียนมาเดินทางไปเยือนรัฐยะไข่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตความรุนแรงขึ้นในรัฐนี้จนส่งผลให้ชาวมุสลิมโรฮีนจาต้องอพยพออกไปจากพื้นที่หลายแสนคน
เจ้าหน้าที่รัฐบาลระบุว่า นางซูจีกำลังเดินทางไปเยือนเมืองชิตตเว ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐยะไข่และเมืองอื่นๆ ซึ่งจะเป็นการเยือนเพียงวันเดียวและไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ
ที่ผ่านมา เธอถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากทั่วโลกที่เธอไม่พยายามหยุดยั้งการปราบปรามชาวโรฮีนจาอย่างรุนแรงของกองทัพเมียนมา ที่ดูเหมือนเป็นการล้างเผ่าพันธุ์ ทำให้ชาวโรฮีนจาต้องอพยพลี้ภัยความรุนแรงไปบังคลาเทศประมาณ 600,000 คน
ทางการเมียนมาชี้แจงว่า สถานการณ์ความรุนแรงเริ่มต้นจากการที่กองทัพปลดปล่อยชาวโรฮีนจาแห่งอาระกัน (Arsa) เข้าจู่โจมป้อมตำรวจในรัฐยะไข่ ทำให้กองทัพต้องเข้าไปปราบปรามกลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้จนลุกลามบานปลายเป็นความขัดแย้งรุนแรงนานหลายเดือน มีผู้ถูกสังหารจำนวนมากและบ้านเรือนถูกเผาทำลายจากการปราบปรามของกองทัพ ส่งผลให้ชาวโรฮีนจาต้องอพยพหนีตายอย่างโกลาหล
กองทัพชี้แจงว่า เป็นปฏิบัติการเพื่อถอนรากถอนโคนกลุ่มติดอาวุธเท่านั้น และปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าไม่ได้มุ่งโจมตีประชาชนอย่างที่ถูกกล่าวหา อย่างไรก็ตาม มีพยานผู้เห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในรัฐยะไข รวมถึงผู้ลี้ภัยและกลุ่มนักหนังสือพิมพ์
โดยเมื่อวันที่ 2 พ.ย. โฆษกรัฐบาลกล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า นางซูจีขณะนี้อยู่ในเมืองซิตตเว และจะเดินทางไปเยือนเมืองมองดอและ เมืองบูตีต่องด้วย “จะเป็นการไปเยือนเพียงวันเดียว “ เขาเสริม
ยังไม่มีความชัดเจนว่า เธอจะไปเยือนหมู่บ้านของชาวโรฮีนจาด้วยหรือไม่
สื่อรอยเตอร์รายงานว่า เห็นนางซูจีอยู่บนเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพในเมืองซิตตเวเมื่อเช้าวันที่ 2 พ.ย.ตามเวลาท้องถิ่น โดยเธอมีคณะผู้ร่วมทางไปด้วยประมาณ 20 คน
ในการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อเดือนก.ย. ซูจีได้ประณามการละเมิดสิทธิแต่เธอไม่ได้ตำหนิกองทัพ หรือกล่าวถึงการล้างเผ่าพันธุ์อย่างที่ถูกวิจารณ์แต่อย่างใด
ทั้งนี้ ชาวมุสลิมโรฮีนจามีสถานะเป็นคนไร้รัฐและเป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐยะไข่ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ในรัฐเป็นชาวพุทธ และมักถูกกดดันว่าเป็นผู้อพยพผิดกฎหมายมายาวนานในเมียนมา
ในเดือนก.ย.ที่ผ่านมา บังคลาเทศประกาศว่า จะจำกัดความเคลื่อนไหวของผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา โดยพวกเขาจะต้องอยู่แต่ในค่ายผู้ลี้ภัยซึ่งทางรัฐบาลบังคลาเทศจัดเตรียมไว้ให้ และห้ามเดินทางไปที่อื่น โดยทางบังคลาเทศยังระบุว่า จะมีการสร้างค่ายผู้ลี้ภัยที่รองรับผู้ลี้ภัยได้ประมาณ 400,000 คนใกล้กับเมือง Cox’s.