เรียกร้องสิทธิ LGBT ในสิงคโปร์
เรียกร้องสิทธิกลุ่ม Pink Dot LGBT ในสิงคโปร์จะมีการชุมนุมเรียกร้องสิทธิได้ โดยอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมเป็นพลเมืองชาวสิงคโปร์ และชาวต่างชาติที่เป็นผู้มีสิทธิอาศัยอยู่ถาวรเท่านั้น เพราะมีการเปลี่ยนแปลงด้านกฎใหม่ในปีนี้
ทางผู้จัดงานประกาศถึงข้อห้ามนี้ด้วยความเสียใจอย่างสุดซึ้ง โดยกล่าวว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจของสิงคโปร์มาเตือนทางกลุ่มถึงกฎใหม่
ก่อนหน้านี้ มีเพียงชาวสิงคโปร์เท่านั้นที่สามารถเดินขบวนประท้วงโดยการชูป้ายที่มีข้อความเรียกร้องสิทธิต่างๆ แต่ชาวต่างชาติจะไม่สามารถเข้าร่วมได้เลย และก็ค่อยๆ พัฒนามาจนถึงจุดที่มีผู้เข้าร่วมมาจากหลายประเทศทั่วโลก กลุ่ม Pink Dot กล่าว
ทั้งนี้ การรักเพศเดียวกันถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายในสิงคโปร์
ทาง Pink Dot จัดงานชุมนุมประจำปีในสิงคโปร์มาตั้งแต่ปี 2552 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากตำรวจพวกเขาต้องเช็คบัตรประจำตัวของทุกคนที่จะเข้าร่วมงานปีนี้ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 1 ก.ค.โดยผู้จัดงานระบุว่า มีผู้เข้าร่วมถึง 28,000 คนในปี 2558
ผู้จัดงานอีเวนท์ของกลุ่ม LGBT ออกแถลงการณ์ว่า พวกเขาได้รับเกียรติจากการสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งจากเพื่อนทั่วโลกซึ่งเข้าร่วมในงานของเรามานานหลายปี เพื่อร่วมสังเกตการณ์ในฐานะเพื่อนของชาวสิงคโปร์เพื่อแสดงจุดยืนในการผนวกรวม ความหลากหลาย และอิสรภาพที่จะรัก
พวกเขาตระหนักว่า กฎระเบียบใหม่จะเป็นการแยกคู่รัก เพื่อนและครอบครัวออกจากกัน โดยเสริมว่า พวกเขารู้สึกไม่พอใจในประเด็นนี้
โดยทางกลุ่ม Pink Dot เตือนว่า หากผู้ที่ไม่ใช่พลเมืองสิงคโปร์ หรือ ไม่ใช่ผู้ที่มีสิทธิอยู่อาศัยถาวรยืนยันที่จะเข้าร่วม จะถูกจับกุมและตั้งข้อหา และผู้จัดงานจะถูกตั้งข้อหาและถูกฟ้องร้องตามกฎหมายได้
เมื่อเดือนเม.ย. นาย เค.ชานมูกัม รัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในและกฎหมายออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้นของรัฐบาลกับชาวต่างชาติที่เข้าร่วมในการชุมนุมในที่สาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการเมือง
“ เป็นจุดยืนของสิงคโปร์มานานที่ว่า ชาวต่างชาติไม่สามารถนำการเมืองของประเทศอื่นเข้ามาในสิงคโปร์ หรือพยายามที่จะแทรกแซงในกิจการภายในประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือ ผู้ที่มีความคิดขัดแย้ง ” รัฐมนตรีชานมูกัมให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวแชนแนลนิวส์เอเชีย
กฎข้อบังคับใหม่เป็นการโต้กลับครั้งล่าสุดกับกลุ่ม Pink Dot หลังจากในปีที่แล้วรัฐบาลสิงคโปร์ห้ามไม่ให้บริษัทต่างชาติเป็นสปอนเซอร์ในงานชุมนุมและอภิปรายในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากภาครัฐก่อน ทั้งนี้ บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิล ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊กล้วนเคยให้การสนับสนุนในงานนี้มาก่อน หลังจากนั้น ก็มีแต่บริษัทในสิงคโปร์ที่เป็นสปอนเซอร์ของงาน.