เวิลด์แบงค์คาดลาวโต 7% ปีนี้
อ้างอิงจากข้อมูลล่าสุดจากการจับตามองลาวของธนาคารโลก คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของลาวจะขยายตัวสูงถึง 7% ในปี 2559 นี้ ด้วยแรงหนุนสำคัญจากภาคพลังงาน ที่มีการเติบโตมากกว่า 30% ในปี 2558
ลาวเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และแปซิฟิก โดยมีตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงถึง 7% ในปี 2558 หลังจากเคยมีตัวเลขสูงถึง 7.5% มาแล้วในปี 2557
โดยธนาคารโลกพบว่า อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานที่เพิ่มขึ้นภาคบริการ และการก่อสร้างมีสัดส่วนมากที่สุดในการหนุนให้เศรษฐกิจของลาวขยายตัวแบบก้าวกระโดด
นางสาวแซลลี่ เบอร์นิงแฮม ผู้จัดการประจำประเทศลาว จากธนาคารโลกกล่าวในเวิร์คช็อปการอภิปรายเรื่องรายงานการจับตามองเศรษฐกิจลาวปี 2559 ว่า “ลาวมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและประชาชนจำนวนมากสามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้ แต่กระบวนการลดความยากจนต้องเข้มข้นกว่านี้ ”
โดยนางสาวเบอร์นิงแฮม ให้ความเห็นว่า“จากเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต ทำให้รัฐบาลก้าวหน้าไปมากขึ้นในการ ปรับปรุงธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมและดึงดูดเงินลงทุน เพื่อสร้างงานภาคอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพและปรับขึ้นค่าแรงขณะที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ”
ในรายงานยังชี้ว่า ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจนี้จะยังคงมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องไปถึงปี 2560 และ 2561 ด้วยขณะที่แนวโน้มยังคงน่าพอใจ แต่ปัจจัยความเสี่ยงภายนอกกลับเพิ่มขึ้น ทั้งจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวและการเติบโตที่ซบเซาลงในไทย
นอกจากนี้ ในรายงานยังพบว่าความยากจนในลาวลดลง และมีตัวเลขเหลือเพียง 23.39% แต่ยังมีครอบครัวจำนวนมากที่มีสถานะการเงินไม่มั่นคงและมีความเสี่ยงที่จะกลับไปยากจนอีก
นางสาวแก้วมะนีวน พิมมะหาเส นักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคารโลก กล่าวกับสำนักข่าวเวียงจันทน์ไทม์ว่า“ครอบครัวที่เพิ่งหลุดพ้นจากความยากจนยังมีความเสี่ยงที่จะกลับไปยากจนอีก เพราะพวกเขามีชีวิตที่หมิ่นเหม่กับความยากจน ชาวนาส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาฝนในการทำเกษตรกรรม ถ้าพวกเขาได้รับผลกระทบและมีปัญหาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ก็มีโอกาสที่จะกลับไปยากจนอีก”
เธออธิบายว่า ตัวเลขการลดลงของความยากจนจะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในหลายปีข้างหน้า จากปัจจัยที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เมื่อถูกถามว่ารัฐบาลจะเร่งดำเนินการบรรเทาความ ได้อย่างไร เธอตอบว่า รัฐบาลต้องกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนในพื้นที่ที่สามารถสร้างงานเพิ่มขึ้นได้
เธอกล่าวเสริมว่า “ทางเลือกในการใช้งานที่เพิ่มขึ้นและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในเกษตรกรรมจะช่วยสร้างงานเพิ่มขึ้นและลดความยากจนได้ เนื่องจากประชาชนพากันย้ายออกไปทำงานนอกพื้นที่ด้วยค่าแรงที่สูงกว่า”