ฟิลิปปินส์เพิ่มมาตรการขจัดไวรัสซิกา
นางแจเนต การิน เลขานุการกระทรวงสาธารณสุขของประเทศฟิลิปปินส์ ให้สัมภาษณ์สื่อว่า ขณะนี้ประเทศฟิลิปปินส์กำลังวางแผนขจัดการระบาดของไวรัสซิกา เพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับโรคที่มียุงเป็นพาหะ
แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันไวรัสซิกาได้ แต่นางแจเนต กล่าวว่า ประเทศฟิลิปปินส์ได้มีมาตรการป้องกันไวรัส ที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ทั้งเพิ่มการระมัดระวัง การจัดการทางการแพทย์ การควบคุมพาหะ และการสร้างเสริมสุขภาพ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการตรวจพบผู้ป่วยคนแรกในประเทศฟิลิปปินส์ในระยะเวลาสี่ปี หลังจากที่หญิงชาวอเมริกันได้เดินทางมายังประเทศฟิลิปปินส์ในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมาและตรวจพบเชื้อไวรัสเมื่อเธอกลับไปยังสหรัฐอเมริกา
เลขานุการกระทรวงสาธารณสุขได้เตือนไปยังประชาชนให้เพิ่มความระมัดระวังและป้องกันไว้ก่อนเมื่อเดินทางไปยังต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส โดยกลุ่มประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุดในเดือนที่ผ่านมาคือภูมิภาคอเมริกาใต้ และ อเมริกากลาง
ดังนั้น หากเกิดกรณีใดๆที่เข้าข่ายการติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศ ต้องมีการรายงานไปยังกระทรวงสาธารณสุขภายใน 24 ชั่วโมง จนถึงขณะนี้ มีผู้เข้าข่ายกว่า 827 คนที่ถูกรายงานเข้ามา แต่ผลการตรวจยืนยันว่าไม่มีผู้ใดติดเชื้อไวรัสซิกาหรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ
เลขาฯกระทรวงสาธารณสุขยังกล่าวอีกว่า “พวกเราไม่ได้เฝ้าระวังเพียงแค่ไวรัสซิกา แต่ยังรวมถึงโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา” เธอยังเสริมอีกว่า การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศยังส่งผลให้เกิดโรคดังกล่าวนี้อีกด้วย
ไวรัสซิกา คือเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะ ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ว่า เป็นเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นใหม่และถูกค้นพบครั้งแรกในอูกันดา เมื่อปี พ.ศ. 2490 โดยไวรัสซิกานี้แพร่เชื้อไปยังมนุษย์ผ่านการกัดของยุงที่ติดเชื้อ เป็นการแพร่เชื้อแบบเดียวกับโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้เหลือง
ทั้งนี้ ไวรัสซิกายังทำให้เด็กทารกเกิดมาพร้อมภาวะศีรษะเล็กหากมารดาติดเชื้อไวรัสนี้ขณะตั้งครรภ์ ทำให้องค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้กลุ่มผู้มีภาวะศีรษะเล็กและผู้มีความผิดปกติทางประสาทอื่นๆ เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา แต่นาง แจเน็ต ได้กล่าวว่า ไม่ใช่มารดาที่ตั้งครรภ์และติดเชื้อไวรัสซิกาทุกคนจะให้กำเนิดเด็กทารกที่มีภาวะศีรษะเล็ก
ตามที่นางแจเน็ต กล่าวภาวะศีรษะเล็ก คือ ภาวะที่เด็กทารกเกิดมาพร้อมศีรษะที่เล็กหรือศีรษะไม่เติบโตหลังจากที่เกิด โดยภาวะนี้ไม่ได้มีต้นเหตุมาจากไวรัสซิกาเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึง HIV และ เริม อ้างอิงจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ตั้งแต่ ม.ค 2550 จนถึง มี.ค. 2558 มีรายงานว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกามากกว่า 55 ประเทศแล้ว.