ฟิลิปปินส์ยังลำบากรับมือโควิด-19
โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ถดถอย อัตราการว่างงานพุ่งเป็น 17.7% ในไตรมาสแรก สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา แม้ในไตรมาส 2 และ 3 ตัวเลขการว่างงานจะลดลงเหลือ 10% และ 8.7% ตามลำดับก็ตาม
โดยในส่วนแรงงานมีผลกับเศรษฐกิจถึง 58.7% ในไตรมาส 3 ลดลงเล็กน้อยจาก 61.9% ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่า 55.7% ในไตรมาสแรก
เรื่องนี้ชี้ว่าชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากยังไม่สามารถหางานทำได้ และอาจต้องออกจากระบบแรงงาน
ในฟิลิปปินส์ มาตรการรักษาระยะห่างและนโยบายล็อกดาวน์ไม่แตกต่างกันมากนัก และการสอบสวนโรคไม่พัฒนาเท่ากับการตรวจหาเชื้อและการรักษา
การฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตอีกเป็นเรื่องยาก หากผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันที่ 20 ธ.ค. ฟิลิปปินส์มีผู้ติดเชื้อสะสมจากโควิด-19 กว่า 459,000 ราย
เกือบ 2 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อมีอายุ 15 – 44 ปี โดยครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตเป็นผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
แตกต่างจากเมื่อ 8 เดือนก่อนที่ผู้ติดเชื้อประมาณ 1 ใน 3 เป็นผู้มีอายุ 15 – 44 ปี และ 1 ใน 4 เป็นผู้สูงอายุ
ฟิลิปปปินส์มีนโยบาย 4 เสาหลักในการรับมือกับโควิด-19 คือมีมาตรการป้องกันทางสังคมให้กับผู้เปราะบาง ที่ครอบคลุมทั้งแรงงานพลัดถิ่นและแรงงานในต่างประเทศ และโครงการเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน นอกจากนี้ ยังได้ขยายจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ในแนวหน้า มาตรการทางการเงิน เช่น ให้การันตีเครดิตสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก และมาตรการทางการคลัง
เพื่อสร้างสภาพคล่องให้มากขึ้น มีการลดดอกเบี้ยนโยบายลง 5 ครั้งตลอดปี 2563 ในเดือนก.ย. มีการออกกฎหมายเพื่อให้งบประมาณช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่นเกษตรกรรมและบริการ รงมถึงการขนส่งและท่องเที่ยว
นอกจากนี้ รัฐบาลเตรียมจะผ่านกฎหมายลดภาษีนิติบุคคล แต่นักเศรษฐศาสตร์เตือนถึงเวลาที่ไม่เหมาะสม โดยชี้ถึงศักยภาพที่อ่อนแอของรัฐที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูปที่ซับซ้อน
แม้จะมีความเห็นที่แตกต่างของนโยบายงบประมาณในการรับมือ แต่มีข้อตกลงนิรนามในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจให้สำเร็จในช่วงที่มีการจัดการวิกฤตสาธารณสุขอย่างถูกต้องเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ประชาชนชาวฟิลิปินส์ยังคงชื่นชมและยกย่องประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เตอย่างสูง โดย คะแนนความนิยมในตัวดูเตอร์เตสูงเป็นประวัติการณ์กว่าที่เคยเป็นมา ชี้ให้เห็นว่าการแสดงละครเสแสร้งสามารถชนะความสามารถได้ในยุคของประชานิยมและโซเชียลมีเดีย