SPECIAL REPORT

ดูแล้ว: 23 SCB CIO Office ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ตลาดหุ้นส่วนใหญ่มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ รอติดตามการเจรจาการค้าในสัปดาห์หน้าและตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ ปรับลดลง โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบ จากความกังวลสถานการณ์การเมืองสหรัฐฯ หลังนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ประกาศถึงกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดีทรัมป์ออกจากตำแหน่ง และจากข่าวที่สหรัฐฯเตรียมจำกัดการลงทุนในจีน และปลดบริษัทจีนออกจากการจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ขณะที่ ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบเช่นกัน จากความกังวลเศรษฐกิจในยูโรโซนที่อ่อนแอ หลังดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้น ในเดือน ก.ย.ปรับลดลงอยู่ต่ำสุดในรอบ 75 เดือน อย่างไรก็ดี ดัชนีฯ ลดช่วงลบลง จากแนวโน้มการออกมาตรการด้านการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยูโรโซน ด้านตลาดหุ้นจีน ปรับลดลง เนื่องจากนักลงทุนกังวลการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน หลังประธานาธิบดีทรัมป์ กล่าววิจารณ์จีนในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (UN) และ ความกังวลการผิดนัดชำระหนี้ของภาคเอกชนจีน ขณะที่ ราคาน้ำมันปรับลดลง หลังการฟื้นฟูกำลังการผลิตน้ำมันของซาอุดิอาระเบียรวดเร็วกว่าที่ตลาดคาด ประกอบกับประธานาธิบดีทรัมป์ ปฏิเสธข่าวที่ว่า สหรัฐฯ ยื่นข้อเสนอที่จะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทั้งหมดต่ออิหร่านเพื่อแลกกับการเจรจา มุมมองของเราในสัปดาห์นี้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่มีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ โดยนักลงทุนรอดูความชัดเจนของการเจรจาการค้าระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ และจีน ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 10-11 ต.ค.นี้ ซึ่งยังคงมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ขณะที่ กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ออกมาปฏิเสธข่าวที่ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังพิจารณาถอดถอนบริษัทจีนออกจากการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ โดยระบุว่า ยังไม่มีแผนการดังกล่าวในขณะนี้ สำหรับการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ คาดว่าตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของหลายประเทศ ยังมีแนวโน้มชะลอตัว ทั้งนี้ นักลงทุนรอฟังถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และเจ้าหน้าที่ Fed สาขาต่างๆ ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงการดำเนินนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลาย และช่วยสนับสนุนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งจะส่งผลให้สินทรัพย์ปลอดภัย รวมถึงทองคำ มีแนวโน้มถูกกดดันจากประเด็นดังกล่าว เหตุการณ์สำคัญ (KEY EVENTS)... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 23 คนไทยแห่จองสิทธิ์ฯวันที่ 3 รอรับเงิน 1,000 บาทผ่านมาตรการ “ชิมช้อปใช้” ทำลายสถิติ... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 34 ปลื้มกันเกือบทั้ง ครม.! โดยเฉพาะในส่วนของพรรคแกนนำรัฐบาล อย่าง…พลังประชาชน “โฟกัส” ไปที่กลุ่มของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 31 เปลี่ยนใช้บัตรชิปการ์ดที่ ชี้ระดับความปลอดภัยสูงกว่าบัตรรูปแบบเก่า ปลอมแปลง-โจรกรรมข้อมูลยาก สถิติข้อมูลภัยคุกคามไซเบอร์ ที่รวบรวมโดย “ไทยเซิร์ต” (ThaiCERT) ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของ “สพธอ.” สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พบว่า 6 เดือนแรกของปี 2562 มีการแจ้งเหตุภัยคุกคามแล้ว 1,083 กรณี ซึ่งการหลอกลวงออนไลน์(fraud)สูงสุดม ที่ 389 กรณี ความพยายามจะบุกรุกเข้าระบบ (intrusion attempts) 330 กรณี เนื้อหาที่เป็นภัย (abusive content) อีก 112 กรณี เจาะระบบได้สำเร็จ (intrusions) อีก 105 กรณี การเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลสำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต (information security)... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 16 SCB CIO Office ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ ลงทุนอย่างไร ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวลงเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วงชะลอตัว GDP เติบโตในระดับต่ำไม่ถึง 3%  ดูเหมือนว่าข่าวสารการลงทุนในปี 2019 นี้จะมีแต่ข่าวร้ายตั้งแต่เรื่องสงครามการค้าที่ยืดเยื้อ, Brexit ที่ดูแล้วจะไม่จบลงง่ายๆ, เศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วงชะลอตัว GDP เติบโตในระดับต่ำไม่ถึง 3% และปัญหาหนี้ที่ทั่วโลกเริ่มเป็นกังวลว่าอยู่ในระดับสูง นักเศรษฐศาสตร์และนักลงทุนที่มีชื่อเสียงหลายท่านเช่น Robert Shiller นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลมองว่า ในปี 2020 โอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย Recession น้อยกว่า 50% แต่อาจเป็นปีเริ่มต้นของช่วง Recession ขณะที่ทางด้าน Ray... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 32 รัฐบาลซีกพลังประชารัฐ ดันโปรเจ็คต์ใหม่ “ประชารัฐสร้างไทยรวมพลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก” หวังลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ จ่ออัดฉีดเงินกู้ 2.85 แสนล้านบาทใน... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 53 EICธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ ส่งออกเดือน ส.ค. กลับมาหดตัว -4.0%YOY อีไอซีคาดทั้งปี 2019 การส่งออกมีแนวโน้มหดตัวมากกว่าที่เคยคาดไว้ที่ -2.0%  ส่งออกเดือน ส.ค. 2019 พลิกกลับมาหดตัวที่ -4.0% จากการหดตัวของสินค้ารถยนต์ คอมพิวเตอร์ ข้าว และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ามัน สินค้านาเข้าหดตัวที่ -14.6% เป็นการหดตัวในทุกหมวดสินค้า โดยการหดตัวในระดับสูง ส่วนหนงี่ เกิดจากปัจจัยฐานสูงในปีก่อนหน้า สงครามการค้าที่ยังคงยืดเยื้อ การประท้วงในฮ่องกง และความขัดแย้งระหว่างเกาหลีใต้และ ญี่ปุ่น ประกอบกับแนวโน้มการส่งออกไม่รวมทองคาที่ยังหดตัวต่อเนื่อง ทาให้อีไอซีคาด มูลค่าการสง่ ออกปี 2019 มแี นวโน้มหดตัวมากกว่าที่เคยคาดไว้ที่ -2.0% มูลค่าการส่งออกไทยเดือน ส.ค. 2019 โดยรวมหดตัวที่ -4.0%YOY แต่หากหักทองคำ การส่งออกหดตัวถึง -9.8%YOY สำหรับในช่วง 8 เดือนของปี 2019 มูลค่าการส่งออก (หักมูลค่าการส่งกลับอาวุธในเดือนกุมภาพันธ์) หดตัวที่ -3.3%YOY และหากหักทองคำจะหดตัวที่ -5.3%YOY... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 303 อลิอันซ์รายงานความมั่งคั่งทั่วโลก เผยสินทรัพย์ทางการเงินทั่วโลกลดลงในปี 61 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วิกฤตทางการเงิน ระบุความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งของสินทรัพย์ ระหว่างประเทศยากจนและร่ำรวย ถ่างตัวเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่สินทรัพย์ทางการเงินของไทยขยายตัวน้อยที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงิน ชี้ความมั่งคั่งของสิงคโปร์แซงหน้าญี่ปุ่นแล้ว กลุ่มอลิอันซ์ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต รายงานความมั่งคั่งทั่วโลก โดยเฝ้าจับตาสถานการณ์สินทรัพย์และหนี้สินภาคครัวเรือนในกว่า 50 ประเทศ/ภูมิภาคอย่างใกล้ชิด บ่งชี้ว่าสินทรัพย์ทางการเงินในปี 61 ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมและประเทศ/ ภูมิภาคเกิดใหม่ลดลงพร้อมกันเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ นักออมเงินทั่วโลกกำลังอยู่ในภาวะลำบากเนื่องจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น รวมถึงการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) ความตึงเครียดทางการเมือง และความเข้มงวดของเงื่อนไขทางการเงินและการปรับปรุงบรรทัดฐานนโยบายทางการเงิน (ที่ประกาศออกมา) ตลาดหุ้นตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาหุ้นทั่วโลกลดลงประมาณ 12% ในปี 61 ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการเติบโตของสินทรัพย์ สินทรัพย์ทางการเงินขั้นต้นภาคครัวเรือนลดลง 0.1% และยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ระดับ 172.5 ล้านล้านยูโร (ประมาณ 5,886 ล้านล้านบาท) ด้าน ไมเคิล ไฮซ์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มอลิอันซ์ กล่าวว่า “ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น กำลังก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การรื้อระบบระเบียบทางเศรษฐกิจโลกเป็นผลเสียต่อการสะสมความมั่งคั่ง ซึ่งเห็นได้ชัดจากตัวเลขการเติบโตของสินทรัพย์ สถานการณ์การค้าในปัจจุบัน ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นฝ่ายชนะ หรือทั้งหมดจะเป็นฝ่ายแพ้เหมือนในอดีต เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว การปกป้องทางการค้าที่รุนแรงจะไม่มีผู้ชนะ” นอกจากนี้ การเติบโตของสินทรัพย์ทางการเงินของประเทศไทยหยุดชะงัก เห็นได้จากสินทรัพย์ทางการเงินรวมของภาคครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่  0.8% ในปี 61 ซึ่งเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตทางการเงินในปี 51 โดยเมื่อ 2 ปีก่อน อัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 9% ส่วนใหญ่เป็นผลพวงมาจากมูลค่าหลักทรัพย์ที่ลดลงอย่างฮวบฮาบถึง 6.6% ภาคการประกันภัยและเงินบำนาญก็มีอัตราการเติบโตที่น่าผิดหวังเช่นกัน โดยขยับขึ้นเพียง 3.2% ในปี 61 ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่น้อยที่สุดในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ขณะที่เงินฝากของภาคธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งมากถึง 4.8% เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ขณะที่การเติบโตของหนี้สินขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6.0% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2557 ดังนั้น อัตราส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนได้พุ่งสูงขึ้นถึง 78.4% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งภูมิภาคที่ 52.4%... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 53 EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ ราคาใบอนุญาตคลนื่ ความถี่ มีผลต่อการพัฒนา 5G ราคาค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (operator) ต้องจ่ายสำหรับการพัฒนา 5G เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อเม็ดเงินลงทุนด้านโครงข่ายของ operator ในระยะแรก  โดยราคาค่าใบอนุญาตที่ไม่สูงจนเกินไป จะช่วยให้ operator สามารถขยายโครงข่ายได้ตามแผนที่วางไว้ รวมถึงกำหนดราคาแพ็กเกจ 5G ได้เหมาะสมและส่งผลบวกต่อจำนวนผู้เริ่มใช้บริการ 5G (adoption rate) ในที่สุด อีไอซีได้ทำการประเมินมูลค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่สำหรับพัฒนาเทคโนโลยี 5G โดยแบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ 1) มูลค่าใบอนุญาตเทียบเคียงกับราคาจัดสรรคลื่น 700MHz (มูลค่ารวมทั้งหมด 1.1 –... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 47 SCB CIO Office ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับเพิ่มขึ้น หลังความกังวลสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนคลี่คลายลง ตลาดหุ้นทั่วโลก... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 19 4 ธนาคารใหญ่ พร้อมให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องหลังน้ำลด โดยธนาคารจะพิจารณาตามสภาพการณ์และความเดือดร้อนของลูกค้าเพื่อเสนอแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละราย 4 ธนาคารใหญ่ ได้แก่ธนาคารไทยพาณิชย์... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 19 รมว.พลังงาน ยอมรับ โครงการโซลาร์ภาคประชาชน ไม่เป็นดังฝัน ประชาชนไม่สนใจเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากราคารับซื้อไฟฟ้าถูกเกินไปไม่คุ้มทุน จับตา…... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 51 SCB CIO Office ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ตลาดหุ้นโลกมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น หลังธนาคารกลางหลักๆ ส่งสัญญาณการผ่อนคลายนโยบายการเงิน... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 343 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตวิเคราะห์ บรรษัทข้ามชาติในไทยเลี่ยงภาษีมากขึ้นหลังการค้าโลกชะลอและสหรัฐฯลดภาษีนิติบุคคล สนับสนุนการออกกฎหมาย Transfer Pricing ของรัฐบาล สิทธิประโยชน์การลงทุนให้ต่างชาติใน EEC ต้องมองความเสมอภาคต่อกลุ่มทุนไทยด้วย นำงบประมาณสะสมของท้องถิ่นมาใช้อาจทำให้ท้องถิ่นขาดงบฉุกเฉินใช้แก้ปัญหาประชาชนในพื้นที่ ชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วมจะได้รับความช่วยเหลือดีขึ้นหากมีการกระจายอำนาจทางการคลัง ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาบรรษัทข้ามชาติในไทยและอาเซียนมีการโยกย้ายการรายงานผลกำไรระหว่างแหล่งผลิตของบริษัทในเครือบรรษัทข้ามชาติเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอย่างมีนัยสำคัญทั้งในเชิงสถิติ และเชิงเศรษฐศาสตร์ และ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นภายใต้การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ นอกจากนี้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง การค้าโลกขยายตัวลดลงจากการเติบโตขึ้นของลัทธิกีดกันทางการค้าและแนวคิดต่อต้านโลกาภิวัฒน์ การทวีความสำคัญของสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น สิทธิบัตรต่าง ๆ ซึ่งเอื้อต่อการวางแผนภาษีของบริษัทข้ามชาติ การให้บริการข้ามพรมแดนผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ มีการโยกย้ายถ่ายเทกำไรไปยังประเทศที่เป็น Tax haven ต่างๆ หรือประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ การลงทุนของบรรษัทข้ามชาติในไทยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนไทยและสังคมไทยน้อยกว่าที่ควรจะเป็นในช่วงที่ผ่านมา เพราะขาดยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อดึงประโยชน์จากการลงทุนของต่างชาติสู่เศรษฐกิจและกระจายมายังคนไทยส่วนใหญ่ จะเป็นเพียงมาใช้ไทยเป็นฐานการผลิตและเคลื่อนย้ายทุนออกไปเมื่อต้นทุนสูงขึ้นและทิ้งความเสื่อมโทรมทางด้านสิ่งแวดล้อมและความร่อยหรอของทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้กับลูกหลานของเรา สิทธิประโยชน์พิเศษของเรามอบให้กับนักลงทุนต่างชาติต้องมีเงื่อนไขให้บรรษัทข้ามชาติเหล่านี้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้องสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันต่อกลุ่มทุนไทยและกิจการนอกเขต EEC ด้วย  ขอสนับสนุนการรัฐบาลไทยในการออก พ.ร.บ. มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน (transfer pricing) บังคับใช้เมื่อต้นปี 2562 ที่ผ่านมา กฎหมายนี้จะแก้ปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีได้ระดับหนึ่ง จะช่วยเพิ่มข้อมูลเพื่อให้กรมสรรพากรสามารถคัดกรอง และออกแบบกลไกการตรวจสอบบริษัทข้ามชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น... อ่านต่อ

ประเด็นข่าว