SPECIAL REPORT

ดูแล้ว: 18 รมว.พลังงาน ยอมรับ โครงการโซลาร์ภาคประชาชน ไม่เป็นดังฝัน ประชาชนไม่สนใจเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากราคารับซื้อไฟฟ้าถูกเกินไปไม่คุ้มทุน จับตา…... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 45 SCB CIO Office ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ตลาดหุ้นโลกมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น หลังธนาคารกลางหลักๆ ส่งสัญญาณการผ่อนคลายนโยบายการเงิน... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 326 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตวิเคราะห์ บรรษัทข้ามชาติในไทยเลี่ยงภาษีมากขึ้นหลังการค้าโลกชะลอและสหรัฐฯลดภาษีนิติบุคคล สนับสนุนการออกกฎหมาย Transfer Pricing ของรัฐบาล สิทธิประโยชน์การลงทุนให้ต่างชาติใน EEC ต้องมองความเสมอภาคต่อกลุ่มทุนไทยด้วย นำงบประมาณสะสมของท้องถิ่นมาใช้อาจทำให้ท้องถิ่นขาดงบฉุกเฉินใช้แก้ปัญหาประชาชนในพื้นที่ ชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วมจะได้รับความช่วยเหลือดีขึ้นหากมีการกระจายอำนาจทางการคลัง ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาบรรษัทข้ามชาติในไทยและอาเซียนมีการโยกย้ายการรายงานผลกำไรระหว่างแหล่งผลิตของบริษัทในเครือบรรษัทข้ามชาติเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอย่างมีนัยสำคัญทั้งในเชิงสถิติ และเชิงเศรษฐศาสตร์ และ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นภายใต้การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ นอกจากนี้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง การค้าโลกขยายตัวลดลงจากการเติบโตขึ้นของลัทธิกีดกันทางการค้าและแนวคิดต่อต้านโลกาภิวัฒน์ การทวีความสำคัญของสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น สิทธิบัตรต่าง ๆ ซึ่งเอื้อต่อการวางแผนภาษีของบริษัทข้ามชาติ การให้บริการข้ามพรมแดนผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ มีการโยกย้ายถ่ายเทกำไรไปยังประเทศที่เป็น Tax haven ต่างๆ หรือประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ การลงทุนของบรรษัทข้ามชาติในไทยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนไทยและสังคมไทยน้อยกว่าที่ควรจะเป็นในช่วงที่ผ่านมา เพราะขาดยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อดึงประโยชน์จากการลงทุนของต่างชาติสู่เศรษฐกิจและกระจายมายังคนไทยส่วนใหญ่ จะเป็นเพียงมาใช้ไทยเป็นฐานการผลิตและเคลื่อนย้ายทุนออกไปเมื่อต้นทุนสูงขึ้นและทิ้งความเสื่อมโทรมทางด้านสิ่งแวดล้อมและความร่อยหรอของทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้กับลูกหลานของเรา สิทธิประโยชน์พิเศษของเรามอบให้กับนักลงทุนต่างชาติต้องมีเงื่อนไขให้บรรษัทข้ามชาติเหล่านี้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้องสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันต่อกลุ่มทุนไทยและกิจการนอกเขต EEC ด้วย  ขอสนับสนุนการรัฐบาลไทยในการออก พ.ร.บ. มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน (transfer pricing) บังคับใช้เมื่อต้นปี 2562 ที่ผ่านมา กฎหมายนี้จะแก้ปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีได้ระดับหนึ่ง จะช่วยเพิ่มข้อมูลเพื่อให้กรมสรรพากรสามารถคัดกรอง และออกแบบกลไกการตรวจสอบบริษัทข้ามชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 36 EICธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ นิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ตัวช่วยยกระดับภาคเศรษฐกิจและภาคสังคม นิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะเป็นการนำแนวคิดเมืองอัจฉริยะมาปรับใช้ในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม โดยนอกจากเป็นการลงทุนในเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการในด้านพลังงาน การขนส่ง... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 15 EICธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ การเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกอาจส่งผลให้ความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงชะลอตัวใน 10 ปีข้างหน้า จึงเป็นความท้าทายต่อธุรกิจน้ำมันและโอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยทั้งในธุรกิจน้ำมันและธุรกิจอื่น ๆ เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าครองตลาดมากขึ้น เช่น การลงทุนในสถานีชาร์จไฟฟ้า ธุรกิจรีไซเคิลแบตเตอรี่ ธุรกิจที่นำแบตเตอรี่มาใช้ใหม่ (reuse) และการลงทุนใน startup ที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในต่างประเทศ เป็นต้น จำนวนรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกมีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วปัจจุบันมีจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าราว 5 ล้านคันทั่วโลก แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีสัดส่วนเพียง 0.4% เมื่อเทียบกับจำนวนรถยนต์ทั้งหมดและมีสัดส่วนยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าราว 2.5% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด แต่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วถึง 61%ต่อปี (ในช่วงปี 2012-2018) จากปี 2012 ที่มียอดขายเพียง 1 แสนคัน เพิ่มเป็น 2 ล้านคันในปี 2018 ซึ่งปัจจุบันจีน และสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าสูงที่สุด 2 อันดับแรก คิดเป็นสัดส่วน 55% และ 18% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดทั่วโลกตามลำดับ ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นแรงผลักดันต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ ราคาแบตเตอรี่ที่ถูกลง สมรรถนะและราคาของรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถแข่งขันได้กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหรือที่เรียกว่ารถยนต์สันดาปภายใน (Internal Combusion Engine: ICE) นโยบายส่งเสริมของภาครัฐ กระแสรักษ์โลกที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานีชาร์จไฟฟ้าและระยะเวลาในการชาร์จไฟ เป็นต้น ซึ่งหลายหน่วยงาน เช่น Bloomberg New Energy... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 33 EICธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือนไทยในปี 2552-2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า 96% ของครัวเรือนไทยทั้งหมดมีรายจ่ายเพื่อการกุศล (คือมีสมาชิกในครัวเรือนอย่างน้อย 1 คนที่มีรายจ่ายเพื่อการกุศลตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไปภายในระยะเวลา 1 ปี) โดยรายจ่ายในส่วนนี้ประกอบไปด้วย ค่าอาหาร/ของถวายพระ/ไหว้เจ้า และเงินทำบุญและการซื้อของให้แก่องค์กรต่าง ๆ  มูลค่าของรายจ่ายเพื่อการกุศลรวมทั้งประเทศในปี 2560 อยู่ที่ประมาณ 1.3 แสนล้านบาท (6.2 พันบาทต่อครัวเรือนต่อปี) เพิ่มขึ้นจากประมาณ 9.4 หมื่นล้านบาทในปี 2552 (5.0 พันบาทต่อครัวเรือนต่อปี) หรือ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.8% ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยทางเศรษฐกิจ (nominal GDP) ที่ 6.0% ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน สัดส่วนของรายจ่ายเพื่อการการกุศลต่อรายได้ครัวเรือนโดยเฉลี่ยลดลง จาก 2.8% ต่อรายได้ครัวเรือนในปี 2552 มาอยู่ที่ 2.6% ในปี 2560 โดยเป็นการลดการใช้จ่ายลงของครัวเรือนในทุกระดับชั้นรายได้ ซึ่งครัวเรือนรายได้ปานกลางมีอัตราการลดลงที่มากที่สุด ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากภาระหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ครัวเรือนมีแนวโน้มลดสัดส่วนการใช้จ่ายลงโดยเฉพาะส่วนที่เป็นรายจ่ายไม่ประจำ (discretionary spending) ครัวเรือนรายได้น้อยมีสัดส่วนรายจ่ายเพื่อการกุศลต่อรายได้มากกว่า แม้ครัวเรือนไทยจะทำบุญตามกำลังทรัพย์ที่มี (รายได้มากทำมาก รายได้น้อยทำน้อย) แต่เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของรายจ่ายเพื่อการทำบุญต่อรายได้ระหว่างครัวเรือนในระดับรายได้ต่าง ๆ แล้วจะพบว่า ครัวเรือนรายได้น้อยมีสัดส่วนรายจ่ายเพื่อการกุศลต่อรายได้สูงกว่า โดยในปี 2560 คนรายได้สูง 10%แรกมีสัดส่วนรายจ่ายเพื่อการกุศลอยู่ที่ 1.4% ขณะที่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่สุด 10% มีสัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 5.1% ทั้งนี้ความสัมพันธ์ดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศ และระดับภูมิภาค... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 17 EICธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ โครงการประกันรายได้จะบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวนาได้บางส่วน แต่การบริหารจัดการภัยแล้งยังเป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/2563... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 21 SCB CIO Office ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ประเทศอาร์เจนตินาว่ามีทีมฟุตบอลที่มีฝีเท้าไม่เป็นรองใคร ผ่านละคร Broadway หรือเพลง Don’t cry for me Argentina และเร็วๆนี้ประเทศอาร์เจนตินาก็มีประเด็นที่ทำให้ทั่วโลกจับตาเพราะเมื่อวันที่ 12 ส.ค. ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นอาร์เจนตินา (S&P... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 15 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ สรุปข้อมูลสินเชื่อ เงินฝาก และสภาพคล่อง ของธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2562 จากเอกสารรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน(ธ.พ.1.1)  สินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อรายย่อย ยังคงชะลอตัวลงเมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ตามภาพกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังเผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง โดยสินเชื่อธุรกิจน่าจะยังถูกกดดันจากการชำระคืนนี้ ประกอบกับมีสัญญาณอ่อนแรงลง ทั้งสินเชื่อเพื่อการลงทุนระยะยาว และสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนทั้งสำหรับธุรกิจในประเทศ และธุรกิจในกลุ่มที่เกี่ยวโยงกับการส่งออกการค้าระหว่างประเทศ และการลงทุนขนาดใหญ่ ขณะที่สินเชื่อรายย่อยแม้จะยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่ก็เป็นอัตราที่ชะลอลงกว่าในช่วงหลายเดือนก่อน โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สอดคล้องกับยอดโอนบ้าน และยอดขายรถยนต์ในประเทศ ที่เร่งตัวไปมากแล้วในช่วงต้นปี  สัญญาณชะลอตัวของสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อรายย่อยดังกล่าว กดดันภาพรวมสินเชื่อสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ค. 2562 ให้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเพียง 2,920 ล้านบาทและเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 3.84% YoY ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 21 เดือน ส่งผลทำให้ภาพรวมสินเชื่อสุทธิในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นเพียง 1.00% YTD เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2561  – ภาพรวมเงินฝากของธ.พ.... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 11 EICธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์  มาตรการกระตุ้นของรัฐช่วยเศรษฐกิจไทยปี 2019 โตที่ 3% ขณะที่ปี  2020 มีแนวโน้มฟื้นตัวเล็กน้อยที่ 3.2%  GDP ไตรมาส 2/2019 โตชะลอลงที่ 2.3%YOY ต่ำสุดในรอบ 19 ไตรมาส ขณะที่ การเติบโตเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าแบบปรับฤดูกาล (%QOQ_sa) ขยายตัวที่ 0.6% โดยการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 อยู่ที่ 2.6%YOY ใกล้เคียงกับประมาณการของอีไอซีที่เคยคาดไว้ที่ 2.5%YOY ในด้านการใช้จ่าย (Expenditure Approach) เศรษฐกิจไทยมีแรงฉุดหลักจากภาคส่งออกและท่องเที่ยว โดยมูลค่าการส่งออกที่แท้จริงหดตัวมากถึง -5.8%YOY ส่วนการส่งออกบริการหดตัวมากถึง -7.0%YOY ตามการลดลงของรายรับบริการขนส่งและจำนวนนักท่องเที่ยว ขณะที่ การบริโภคภาคเอกชนยังสามารถขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ 4.4%YOY จากการเร่งตัวของการบริโภคสินค้ากึ่งคงทนและไม่คงทนเป็นสำคัญ โดยได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงกลางปีผ่านบัตรสวัสดิการที่มีเม็ดเงินกว่า 1.32 หมื่นล้านบาท ด้านการผลิต (Production... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 32 EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ บทวิเคราะห์เรื่อง เตรียมพร้อมไทยก้าวสู่สังคมสับตะไคร้ (Subscription) ใส่กล่อง ในสังคมที่ทุกอย่างเร่งรีบ... อ่านต่อ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำการสำรวจความเชื่อมั่นของครัวเรือนและผู้ประกอบการต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้งปี 2562... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 16 SCB CIO Office วิเคราะห์ ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงนำโดยตลาดหุ้นจีนหลังนักลงทุนกลับมากังวลประเด็นสงครามการค้าอีกครั้ง ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปรับลดลง เนื่องจาก... อ่านต่อ

ประเด็นข่าว