NEWS

ดูแล้ว: 39 กสิกรไทยจับมือช้อปปี้ พัฒนาโซลูชั่นการเงิน ครั้งแรกบนแพลตฟอร์มของช้อปปี้ ตอบโจทย์การเติบโตตลาดอีคอมเมิร์ซ ธนาคารกสิกรไทยและช้อปปี้ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ผนึกกำลังร่วมพัฒนาโซลูชั่นการเงินเพื่อตอบสนองการขยายตัวของตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว  ประเดิมความร่วมมือด้วยการสานฝันพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนง่ายขึ้นด้วยการปล่อย “เงินกู้ธุรกิจออนไลน์” ให้ผู้ขายบนช้อปปี้ และเตรียมมอบของขวัญสุดพิเศษให้นักช้อปซื้อของได้สนุก และคุ้มค่ามากยิ่งขึ้นด้วยโปรโมชั่นพิเศษกว่าใครเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตกสิกรไทย ทำให้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจาก “เงินกู้ธุรกิจออนไลน์” (MADFUND) ของร้านค้าบนแพลตฟอร์มของช้อปปี้ ไม่ต้องยื่นเอกสาร ไม่ต้องมีหลักประกัน สมัครง่ายผ่านแอปพลิเคชัน K PLUS คัดกรองผู้รับสินเชื่อจากข้อมูลรายได้ และพฤติกรรมการค้าขายอื่น ๆ ประกอบกัน ให้ผู้ขายขยายธุรกิจอย่างมั่นใจด้วยวงเงินอนุมัติสูงสุดถึง 600,000 บาทและโอกาสสำหรับร้านค้าบนแพลตฟอร์มของช้อปปี้ในการใช้บริการ MADHUB ศูนย์รวมโซลูชั่นครบวงจรของคนกล้าฝันค้าออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งช่องทางช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับการทำธุรกิจ โดยรวบรวมตัวช่วยที่จำเป็นสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไว้ให้ความช่วยเหลือในการทำธุรกิจ เช่น คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารจัดการ หลักสูตร พื้นที่ให้คำปรึกษา และอบรม สัมมนา ดีลส่วนลดพิเศษที่จะช่วยให้การทำธุรกิจคล่องตัวขึ้น ฯลฯ นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยให้ความสำคัญกับการผนึกกำลังในรูปแบบ “Better Together” ร่วมกับพันธมิตรในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อนำศักยภาพของธนาคารกสิกรไทยที่เป็นผู้นำทางด้านดิจิทัล แบงกิ้ง และมีความเชี่ยวชาญในการให้บริการโซลูชั่นทางด้านการเงินอย่างครบวงจร และตอบโจทย์ทุกกลุ่มความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นผู้ขายและผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ ไปผสานกับพันธมิตรขนาดใหญ่ในแต่ละอุตสาหกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์ของผู้คนหลากหลายกลุ่ม เพื่อสร้างโซลูชั่นหรือแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ความต้องการ และไลฟ์สไตล์ลูกค้าในยุคปัจจุบันให้ได้มากที่สุด ความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและช้อปปี้ในวันนี้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ช่วยยกระดับความแข็งแกร่งให้กับตลาดอีคอมเมิร์ซโดยในปีที่ผ่านมามีการเติบโตถึง 14%  ภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทย และช้อปปี้นี้ ธนาคารมีความมุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบครบวงจร ผ่านศูนย์รวมโซลูชั่น MADHUB ให้กับร้านค้าออนไลน์ที่ต้องการติดอาวุธ และขยายโอกาสให้กับธุรกิจด้วยหลากหลายวิธีการ ซึ่งธนาคารกสิกรไทยมีความใกล้ชิด และเข้าใจในความต้องการของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และธุรกิจออนไลน์เป็นอย่างดี โดยโซลูชั่นที่นำเสนอนั้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อจากสถาบันการสถาบันการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงองค์ความรู้สำคัญในการประกอบธุรกิจออนไลน์ ตลอดจนคำแนะนำ หลักสูตร และดีลพิเศษที่ถูกออกแบบมาเพื่อธุรกิจออนไลน์โดยเฉพาะ... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 32 คปภ.พร้อมดันประกันอุบัติเหตุ (PA) นำร่องกลุ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14.6 ล้านคน หาก “คลัง-รัฐบาล” ไฟเขียวงบหลวงล็อตแรก 4,000 ล้านบาท ส่วนประกันสุขภาพ-ประกันชีวิต งบสูงอาจล่าช้า เหตุต้องให้ภาคเอกชนอยู่ได้ด้วย ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวถึงนโยบายเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14.6 ล้านคน เข้าถึงระบบประกันภัย ตั้งแต่ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) การประกันชีวิต และประกันสุขภาพ ครอบคุมโรคร้ายแรงบางชนิด ว่า เป็นเรื่องดีและทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น คปภ.หรือธุรกิจประกันภัย ต่างเห็นด้วยในหลักการจากนโยบายของรัฐบาล เพียงแต่บางเรื่องต้องหารือในรายละเอียด ขณะที่บางเรื่อง โดยเฉพาะในส่วนของ PA หากนำมาใช้ร่วมกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่รัฐบาลมีฐานข้อมูลอยู่แล้ว สามารถดำเนินการได้ทันทีที่รัฐบาลอนุมัติงบประมาณตามที่ได้เสนอไป “ผมได้เสนอโครงการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือ PA ไปให้ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้พิจารณาแล้ว ซึ่ง PA ถือเป็นการประกันภัยที่ไม่สลับซับซ้อนอะไรมากนัก หาก สศค.เห็นด้วยกับข้อเสนอของ คปภ. โดยเฉพาะงบประมาณที่เสนอไป ก็สามารถดำเนินการได้ทันที” สำหรับเบี้ยประกันฯที่ คปภ.ได้เสนอไปมีหลายแนวทาง แต่แนวทางที่มีความเป็นไปได้ คือ การกำหนดเบี้ยประกันฯขั้นต่ำที่ 60 บาท/ปี หรือ 5 บาท/เดือน เพียงแต่จะไม่ครอบคลุมการจ่ายเงินชดเชย กรณีเกิดอุบัติเหตุและต้องเข้ารับการรักษาตัว ซึ่งหากให้ครอบคลุมในส่วนนี้ ค่าเบี้ยประกันฯอาจขยับขึ้นเป็น 99 บาท/ปี หรือ 8 บาทเศษ/เดือน โดยครอบคลุมเงินชดเชยได้ 200-300 บาท/วัน เลขาธิการ คปภ.ย้ำว่า รูปแบบการทำ “พูลลิ่ง” หรือการประจายความเสี่ยงที่ใช้กับการทำประกันภัยข้าวนาปี จนประสบผลสำเร็จตลอดหลายปีที่ผ่านมา จะถูกนำไปเป็นต้นแบบให้กับการทำประกันภัยอื่นๆ โดยเฉพาะ PA รวมถึงการประกันสุขภาพ การประกันชีวิต และประกันภัยใหม่ๆ ที่จะมีตามมาในอนาคต “ฝ่ายนโยบายที่เคยกังวลใจว่าการเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการทำประกันภัยให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อาจทำให้ผลประโยชน์ไปตกอยู่กับบางบริษัทประกันภัยได้ แต่พอ คปภ.อธิบายถึงรูปแบบ “พูลลิ่ง ซิสเต็ม” ที่ประสบผลสำเร็จกับการประกันภัยข้าวนาปีมาแล้ว ทำให้ฝ่ายนโยบายรู้สึกเบาใจ และมีแนวโน้มจะสั่งการให้ดำดนินการขับเคลื่อนโครงการที่จะนำระบบประกันภัยไปสู่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและคนฐานรากของประเทศได้เข้าถึงสวัสดิการดีๆ เช่นนี้” ในส่วนของการประกันสุขภาพและประกันชีวิตนั้น จากการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์ของทั้ง 2 ตัวมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกัยรายได้ของประชาชนและไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากนัก จำเป็นจะต้องสร้างระบบประกันสุขภาพและประกันชีวิตให้กับคนฐานรากผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ เพียงแต่ค่าเบี้ยประกันฯคงต้องเป็นราคาที่เหมาะสมและทุกฝ่ายยอมรับได้ ขณะที่กลุ่มคนที่มีความพร้อมทางการเงินก็ยังคงซื้อระบบประกันสุขภาพและประกันชีวิตระดับพรีเมี่ยมต่อไป... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 41 พพ. ขยายผล ส่งเสริมทำ สมาร์ทฟาร์มทั่วประเทศ ตั้งเป้าปี 2562 หนุนฟาร์มเลี้ยงสัตว์... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 60 ราคาน้ำมันดิบ ปิดตลาด ปรับลดลง น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือน พ.ย. ลดลง... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 23 ดัชนีชี้วัดการผลิตสหรัฐฯแสดงให้เห็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 10 ปีในเดือนก.ย. เนื่องจากการส่งออกดิ่งเหวจากสงครามการค้า โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคการผลิตของสหรัฐฯจาก... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 32 พีดีเฮ้าส์ หวั่นสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคอีสาน กระทบลูกค้ารับสร้างบ้านชะลอการตัดสินใจ พร้อมเดินหน้าปลุกกำลังซื้อหลังน้ำลด ชูแบบบ้านคอนเซปต์ “บ้านปกป้องน้ำท่วม”ตอบโจทย์ลูกค้า เผยยอดขายสิ้นปีตามเป้า1,200... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 26 หลังจากรัฐบาลนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะเลื่อนการปรับขึ้นภาษีบริโภคมาถึง 2 ครั้ง แต่ในวันที่ 1 ต.ค.ญี่ปุ่นจะขึ้นภาษีบริโภคจากอัตราเดิม... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 121 ปักกิ่ง –  เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนกล่าวสุนทรพจน์ว่า ไม่มีประเทศใด... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 29 ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 62/63  ราคาประกันผลปาล์มทะลาย (คุณภาพน้ำมัน 18%) กิโลกรัมละ 4 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 25 ไร่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาผลผลิตปาล์มล้นตลาดและราคาตกต่ำ เริ่มโอนงวดแรก 1 ต.ค. นี้ กว่า 2.5 แสนราย เป็นเงิน 1,351 ล้านบาท นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เป็นประธานในงานแถลงข่าวเปิดตัวการจ่ายเงินประกันรายได้งวดแรกให้แก่เกษตรกรตาม “โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 62/63” โดยมีนายศรายุทธ ยิ้มยวน รอง ผจก.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าร่วมงาน ณ บริเวณวงเวียนริมน้ำ ชั้น 3 กระทรวงพาณิชย์ ถ.นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 1 ต.ค.62 ทั้งนี้ รอง ผจก. ธ.ก.ส. กล่าวว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ส.ค.62 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 62/63 เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรอันเนื่องมาจากปัญหาผลผลิตปาล์มล้นตลาดและราคาผลผลิตตกต่ำ โดยกำหนดรายได้ที่เหมาะสมที่เกษตรกรควรได้รับจากการขายผลปาล์มทะลาย (คุณภาพน้ำมัน 18%) ที่กิโลกรัมละ 4 บาท ซึ่งเกษตรกรที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ  กรมส่งเสริมการเกษตร มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยตามพื้นที่ที่ปลูกจริง แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 25 ไร่ และเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้วมีอายุไม่น้อยกว่า 3 ปี ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือน ก.ย.62 – ก.ย.63 โดยคณะอนุกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 62/63 จะทำหน้าที่กำหนดราคาตลาดอ้างอิง เพื่อใช้ในการคำนวณเงินชดเชยส่วนต่างระหว่างอัตราประกันรายได้ กับราคาตลาดอ้างอิง เพื่อแจ้ง ธ.ก.ส. ใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณเงินชดเชยส่วนต่างและโอนเงินให้แก่เกษตรกรต่อไป สำหรับในวันนี้ราคาตลาดอ้างอิงผลปาล์มทะลาย (คุณภาพน้ำมัน 18%) กิโลกรัมละ 2.68 บาท เกษตรกรจะได้รับชดเชยส่วนต่างกิโลกรัมละ 1.32 บาท ในครั้งนี้จะมีเกษตรกรที่มีคุณสมบัติถูกต้องได้รับเงินทั้งสิ้น 254,730 ราย เป็นเงิน 1,351 ล้านบาท สำหรับขั้นตอนในการจ่ายเงินประกันรายได้ เมื่อ ธ.ก.ส. ได้รับข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร   จะทำการประมวลข้อมูลพื้นที่การผลิต คำนวณปริมาณผลผลิต และเลขที่บัญชีเงินฝากของเกษตรกร เมื่อได้รับแจ้งราคาตลาดอ้างอิง  ธ.ก.ส.จะทำคำนวณเงินชดเชยตามสิทธิ์  และจะทำการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกรโดยตรง โดยกำหนดเป็นงวด ๆ ละไม่น้อยกว่า 45 วัน เริ่มจ่ายเงินงวดแรกในวันที่ 1 ต.ค. 62 งวดต่อไปจ่ายในวันที่ 1 หรือ 16 หากตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะเลื่อนกำหนดจ่ายเร็วขึ้น (วันทำการก่อนวันหยุด) ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ที่ Link: http://chongkho.inbaac.com.... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 38 คปภ.หวังดัน “หัวไทร” เป็นต้นแบบประกันภัยข้าวนาปีของภาคใต้ ตั้งเป้าดันชาวนาทำประกันฯครบ 100% แจงเหตุที่ต้องลงพื้นที่ช่วงนี้ หวังเร่งทำประกันฯก่อนเกิดภัยธรรมชาติ ตั้งเป้าจ่ายสินไหมฯทั้งปี 2,000 ล้านบาท เผยอยากให้รัฐบาลวางแผนระยะยาว สร้างความเชื่อมั่นแก่ทุกฝ่าย ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวในการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกษตรกร โครงการประกันข้าวนาปีฯ ประจำปี 2562 ณ หอประชุมที่ว่าการ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 1 ต.ค.62 ว่า อยากใช้กรณีการทำประกันภันข้าวนาปีของ อ.หัวไทร เป็น “ต้นแบบ” ให้กับพื้นที่อื่นๆ ในภาคใต้ นอกจากมีพื้นที่ทำนามากกว่า 80,000 ไร่ ใหญ่ที่สุดของภาคใต้แล้ว ที่นี่ยังมีสัดส่วนการทำประกันภัยข้าวนาปีสูงถึง 96.41% ในปี 61 โดยตั้งเป้าว่าปี 62 นี้ จะรณรงค์ให้เกษตรกรทำประกันภันข้าวนาปีให้ได้ถึง 99.99% -100% ทั้งนี้ จากพื้นที่เป้าหมายที่รัฐบาลต้องการทำประกันภัยข้าวนาปีในปีนี้ 30 ล้านไร่ และได้ทำมาแล้วในพื้นที่ภาคต่างๆ รวมกัน 27.99 ล้านไร่ ทำให้เหลือพื้นที่ในเป้าหมายอีกกว่า 2 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพื้นที่การทำนาข้าวในภาคใต้มีไม่มาก คาดว่าจะมีการทำประกันภัยข้าวนาปีทั้ง จ.นครศรีธรรมราช, จ.ชุมพร, จ.พัทลุง และจ.นราธิวาส รวมกันประมาณ 800,000 ไร่ ซึ่งจะทำให้การทำประกันข้าวนาปีของทุกภาครวมกันราวมากกว่า 28 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม แม้จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ 30 ล้านไร่ แต่ก็สูงกว่าทุกปีที่ผ่านมา “การทำนาข้าวของภาคใต้ ล่าช้ากว่าทุกภาคของประเทศ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่แตกต่างออกไป ซึ่งจากประสบการณ์ที่ได้เห็นปัญหาของภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นวาตะภัยหรืออุทกภัย และมักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.ของทุกปี ดังนั้นสำนักงาน คปภ.จึงต้องเร่งลงพื้นที่เพื่อเชิญชวนให้ชาวนาเร่งดำเนินจัดทำประกันข้าวนาปีโดยเร็ว อย่างน้อยก็เป็นการบรรเทาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต” เลขาธิการ คปภ.ย้ำ และว่า ที่ผ่านมาได้มีการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้กับความสูญเสียที่เกิดจากภัยพิบัติทั้ง 8 ประเภทรวมกันกว่า 1,800 ล้านบาท คาดว่าทั้งปี 62 นี้ อาจต้องจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนรวมกัน 2,000 ล้านบาท “เรามาเตือนและเชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนาเร่งทำประกันภัยข้าวนาปีในช่วงสุดท้ายของโครงการในปีนี้ เพราะเชื่อว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อชาวนาเอง ทั้งนี้ เบี้ยประกัน (ในส่วนความคุ้มครองพื้นฐาน) ต่อไร่ที่ 85 บาท/ไร่นั้น รัฐบาลออกให้แล้ว 51 บาท ที่เหลือ 34 บาท/ไร่ หากเป็นลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทาง ธ.ก.ส.จะออกให้เอง โดยชาวนาไม่ต้องเสียเงินสักบาทเดียว แต่ได้รับความคุ้มครอง 1,260 บาท/ไร่ แต่ถ้าไม่ใช่ลูกค้าของ ธ.ก.ส. ชาวก็ต้องออกเงินในส่วนนี้เอง” เลขาธิการ คปภ. กล่าวอีกว่า ชาวนายังสามารถจะซื้อความคุ้มครองส่วนเพิ่มได้อีก ในราคา 25 บาท/ไร่ โดยจะได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติม 240 บาท/ไร่ กรณีเกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และ 120 บาท/ไร่ กรณีเกิดความเสียหายจากศัตรูพืชหรือโรคระบาด ทั้งนี้ ในอนาคตอันใกล้ สำนักงาน คปภ.อาจนำ “ระบบประกันภัยแบบแพ็กเกจ” ซึ่งจะรวมสินค้าเกษตรที่มีกระบวนการผลิต การบำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน มารวมเป็นผลิตภัณฑ์ประกันเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการและการทำประกันภัยต่อไป... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 229 ฮ่องกง (รอยเตอร์)  –  จีนเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงเป็นสองเท่าในฮ่องกง อ้างอิงจากแหล่งข่าวซึ่งเป็นทูตต่างประเทศและนักวิเคราะห์ความมั่นคง นับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ที่สุดเนื่องจากรัฐบาลจีนเตรียมพร้อมรับมือเหตุความไม่สงบในฮ่องกง ซึ่งเป็นฮับการเงินระดับโลก... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 35 รมว.พลังงาน สั่งการหน่วยงาน รณรงค์ลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในภาคพลังงาน โดยเร่งมาตรการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 48 ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตยืนยันบัตรเครดิตที่ใช้ลายเซ็นยืนยันตัวตน ยังคงใช้งานได้ในยุโรป ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต-สมาคมธนาคารไทย ชี้แจงกระแสข่าวเกี่ยวกับการจำกัดการใช้บัตรเครดิตที่ไม่ใช่บัตรเครดิตแบบชิปและระบบ PIN (Chip & PIN) ในการซื้อสินค้าและใช้บริการในกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 17 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดจีดีพีปี 63 ยังมีความเสี่ยงที่อาจจะโตต่ำกว่า 3.0% ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 ตัวเลขปรับผลค่อนข้างต่ำกว่าคาดการณ์หลักๆมาจากปัจจัยภายนอกมุมมองของศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าส่งออกไทยได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลกมีผลกระทบมากกว่าที่คิดเราจึงปรับคาดการณ์ลงมาอยู่ที่ 2.8% จากเดิม 3.1% ขณะที่คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีหน้าว่ามีความเสี่ยงที่จะโตต่ำกว่า 3.0% จากหลายปัจจัยลบ  นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าการปรับลดจีดีพีปี 2562 มาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้ตัวเลขส่งออกของไทยในช่วง 8 เดือนแรกที่ผ่านมา หดตัวมากกว่าคาด โดยหดตัวในหลายกลุ่มสินค้าและเกือบทุกตลาดหลัก ซึ่งส่งผลให้ปรับลดประมาณการการส่งออกลงเหลือ -2.0% ถึง 0.0% จากเดิมที่ 0.0%  สำหรับในปี 2563 ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่ยังมีอยู่มาก ทำให้การส่งออกยังคงหดตัว ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้จีดีพีมีโอกาสต่ำกว่า 3.0% อย่างไรก็ตาม ประมาณการนี้ตั้งอยู่บนเงื่อนไขแวดล้อมที่ประเมินได้ ณ ขณะนี้และยังไม่รวมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยในปีนี้ คาดว่ามาตรการ “ชิม ช้อป ใช้” จะช่วยหนุนจีดีพีราว 0.02% ส่วนในปีหน้าต้องรอติดตามว่าจะมีมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งหากมี ก็ควรเน้นไปที่การดูแลแรงงานที่ไม่มีหลักประกันทางสังคมรองรับ อย่างเช่นกลุ่มอาชีพอิสระ รวมถึงเอสเอ็มอีที่ยอดขายชะลอตัวลง หลังผู้บริโภคระวังการใช้จ่าย ในส่วนของมาตรการทางการเงินนั้น มองว่า กนง.อาจลดดอกเบี้ยได้อีก เพียงแต่มาตรการทางการเงินต้องใช้เวลากว่าจะทยอยเห็นผลบวกต่อเศรษฐกิจ ด้าน ดร.ศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ จะกระทบการส่งออกของไทยในปี 2563 เพิ่มเติมอีก 1,000-2,500 ล้านดอลลาร์ฯ หลังต้องรับรู้ผลกระทบจากการเก็บภาษีนำเข้าจากสินค้าจีนต่อเนื่อง ขณะที่ในปี 2562 คาดการณ์ผลกระทบไว้ที่ 2,100-3,000 ล้านดอลลาร์ฯ นอกจากนี้ แม้ว่าไทยอาจได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตบ้าง แต่ก็จะเน้นไปที่ธุรกิจที่ไทยเป็นฐานการผลิตเดิม ส่วนสถานการณ์ Brexit คาดว่า มีความเป็นไปได้สูงที่สหราชอาณาจักรคงต้องออกจากสหภาพยุโรปแบบ No Deal โดยขั้นตอนต่อไปคือการตกลงกันเรื่องรูปแบบและข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน รวมถึงประเด็นพรมแดนไอร์แลนด์เหนือซึ่งพัฒนาการเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อตลาดเงิน และเศรษฐกิจของอังกฤษในปีหน้ามีโอกาสถดถอย ประเด็นเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษกับประเทศไทยมีผลกระทบทั้งหมดไม่ถึง 2% เพราะฉะนั้นผลกระทบอาจไม่กระทบเยอะในการส่งออกแต่ผู้ประกอบการที่ส่งออกไปประเทศอังกฤษอาจจะต้องระมัดระวังตัวให้ดีแม้ว่าผลกระทบของ Brexit ต่อเศรษฐกิจไทยจะมีไม่มากนัก  ด้าน Trade... อ่านต่อ

ประเด็นข่าว