NEWS

ดูแล้ว: 9 ธนาคารไทยพาณิชย์ห่วงใยผู้ประสบอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ผนึกกำลังพันธมิตรที่เข้มแข็งส่งมอบถุงยังชีพน้ำใจไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์จัดเตรียม และส่งมอบถุงยังชีพ “น้ำใจไทยพาณิชย์” กว่า 5,000 ถุง ส่งถึงมือผู้ประสบอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนืออย่างรวดเร็วทันท่วงที พร้อมช่วยเหลือฟื้นฟูทำความสะอาดถนนและพื้นที่สาธารณะภายหลังน้ำลด ภายใต้โครงการ “ช่วยผู้ประสบภัยกับไทยพาณิชย์” ด้วยเป้าหมายสำคัญ คือ การบรรเทาทุกข์ เสริมสร้างขวัญ กำลังใจ และเติมรอยยิ้มให้แก่พี่น้องประชาชนเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้โดยเร็ววัน โดยผนึกกำลังกับภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ได้แก่ กองทัพอากาศ กองทัพเรือ หน่วยงานราชการ มูลนิธิ เป็นต้น จับมือกับพนักงานสาขาของธนาคารฯ ในพื้นที่ประสบอุทกภัยดำเนินการ คุณอารยา ภู่พานิช รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานกิจกรรมเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ธนาคารไทยพาณิชย์ตระหนักดีถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ด้วยศักยภาพเครือข่ายสาขาของธนาคารฯ ในพื้นที่ประสบอุทกภัย ผู้บริหารและพนักงานได้ร่วมมือ เร่งให้ความช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ทั้งในระยะเร่งด่วน และการช่วยเหลือฟื้นฟู โดยในเบื้องต้นได้ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพ “น้ำใจไทยพาณิชย์” ภายในประกอบด้วย อาหารพร้อมรับประทาน เครื่องอุปโภค บริโภค ของใช้จำเป็น และยารักษาโรค เป็นต้น และเพื่อให้การช่วยเหลือกระจายอย่างทั่วถึง จึงได้มอบถุงยังชีพผ่านภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นผ่านสำนักงานเหล่ากาชาดขอนแก่น นำไปช่วยเหลือที่อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น จำนวน 500 ถุง  สมาชิกวุฒิสภานำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 300 ถุง ทีมกู้ชีพเสลภูมิ นำส่งมอบที่อำเภอเสลภูมิ และอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 100 ถุง  สำหรับในส่วนกลาง ณ ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ คณะผู้บริหาร พนักงานจิตอาสา SCB ชวนกันทำดี ยังได้ร่วมแรง ร่วมใจจัดกิจกรรมบรรจุถุงยังชีพ อีกจำนวน 4,000 ถุง เพื่อส่งมอบแก่ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพอากาศ นำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในอำเภอบางกะทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอเมือง อำเภอโพนเมือง อำเภอเหล่าเสือโก้ก อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี  ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม นำไปช่วยเหลือที่อำเภอโขงเจียม และอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี นอกจากการมอบถุงยังชีพแล้ว ผู้บริหารและพนักงานของธนาคารฯ ยังได้ร่วมทำความสะอาดฟื้นฟูถนน และพื้นที่สาธารณะที่อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานีภายหลังน้ำลด นอกจากนี้ พนักงานจิตอาสาของธนาคารไทยพาณิชย์ยังได้ร่วมกับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จัดเตรียมถุงยังชีพ จำนวน 11,500 ถุง ณ กองการบินศูนย์การเคลื่อนย้ายกองทัพบก (โรงเก็บเครื่องบิน) กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหาราบที่ 11 รักษาพระองค์ บางเขน กรุงเทพฯ เพื่อนำไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยในภาคอีสานและเหนือ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ธนาคารฯ ได้บริจาคเงิน 8 ล้านบาท เพื่อบริจาคร่วมกับธนาคารสมาชิกอื่น ๆ ในนามสมาคมธนาคารไทย รวมเป็นเงิน  50 ล้านบาท ในงาน “ร่วมใจ พี่น้องไทย ช่วยภัยน้ำท่วม” ซึ่งจัดโดยสำนักนายกรัฐมนตรี” เมื่อยามมีเหตุการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ถุงยังชีพ “น้ำใจไทยพาณิชย์” จะไปถึงทุกที่ที่ประสบภัย เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน ด้วยเครือข่ายสาขาของธนาคารฯ ที่มีกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ พร้อมกับภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง เพื่อให้สังคมไทยเกิดรอยยิ้ม เพื่อความสุข และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทั้งในระยะเร่งด่วนและการช่วยเหลือฟื้นฟู... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 38 กสิกรไทยจับมือช้อปปี้ พัฒนาโซลูชั่นการเงิน ครั้งแรกบนแพลตฟอร์มของช้อปปี้ ตอบโจทย์การเติบโตตลาดอีคอมเมิร์ซ ธนาคารกสิกรไทยและช้อปปี้ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ผนึกกำลังร่วมพัฒนาโซลูชั่นการเงินเพื่อตอบสนองการขยายตัวของตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว  ประเดิมความร่วมมือด้วยการสานฝันพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนง่ายขึ้นด้วยการปล่อย “เงินกู้ธุรกิจออนไลน์” ให้ผู้ขายบนช้อปปี้ และเตรียมมอบของขวัญสุดพิเศษให้นักช้อปซื้อของได้สนุก และคุ้มค่ามากยิ่งขึ้นด้วยโปรโมชั่นพิเศษกว่าใครเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตกสิกรไทย ทำให้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจาก “เงินกู้ธุรกิจออนไลน์” (MADFUND) ของร้านค้าบนแพลตฟอร์มของช้อปปี้ ไม่ต้องยื่นเอกสาร ไม่ต้องมีหลักประกัน สมัครง่ายผ่านแอปพลิเคชัน K PLUS คัดกรองผู้รับสินเชื่อจากข้อมูลรายได้ และพฤติกรรมการค้าขายอื่น ๆ ประกอบกัน ให้ผู้ขายขยายธุรกิจอย่างมั่นใจด้วยวงเงินอนุมัติสูงสุดถึง 600,000 บาทและโอกาสสำหรับร้านค้าบนแพลตฟอร์มของช้อปปี้ในการใช้บริการ MADHUB ศูนย์รวมโซลูชั่นครบวงจรของคนกล้าฝันค้าออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งช่องทางช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับการทำธุรกิจ โดยรวบรวมตัวช่วยที่จำเป็นสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไว้ให้ความช่วยเหลือในการทำธุรกิจ เช่น คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารจัดการ หลักสูตร พื้นที่ให้คำปรึกษา และอบรม สัมมนา ดีลส่วนลดพิเศษที่จะช่วยให้การทำธุรกิจคล่องตัวขึ้น ฯลฯ นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยให้ความสำคัญกับการผนึกกำลังในรูปแบบ “Better Together” ร่วมกับพันธมิตรในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อนำศักยภาพของธนาคารกสิกรไทยที่เป็นผู้นำทางด้านดิจิทัล แบงกิ้ง และมีความเชี่ยวชาญในการให้บริการโซลูชั่นทางด้านการเงินอย่างครบวงจร และตอบโจทย์ทุกกลุ่มความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นผู้ขายและผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ ไปผสานกับพันธมิตรขนาดใหญ่ในแต่ละอุตสาหกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์ของผู้คนหลากหลายกลุ่ม เพื่อสร้างโซลูชั่นหรือแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ความต้องการ และไลฟ์สไตล์ลูกค้าในยุคปัจจุบันให้ได้มากที่สุด ความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและช้อปปี้ในวันนี้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ช่วยยกระดับความแข็งแกร่งให้กับตลาดอีคอมเมิร์ซโดยในปีที่ผ่านมามีการเติบโตถึง 14%  ภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทย และช้อปปี้นี้ ธนาคารมีความมุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบครบวงจร ผ่านศูนย์รวมโซลูชั่น MADHUB ให้กับร้านค้าออนไลน์ที่ต้องการติดอาวุธ และขยายโอกาสให้กับธุรกิจด้วยหลากหลายวิธีการ ซึ่งธนาคารกสิกรไทยมีความใกล้ชิด และเข้าใจในความต้องการของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และธุรกิจออนไลน์เป็นอย่างดี โดยโซลูชั่นที่นำเสนอนั้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อจากสถาบันการสถาบันการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงองค์ความรู้สำคัญในการประกอบธุรกิจออนไลน์ ตลอดจนคำแนะนำ หลักสูตร และดีลพิเศษที่ถูกออกแบบมาเพื่อธุรกิจออนไลน์โดยเฉพาะ... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 31 คปภ.พร้อมดันประกันอุบัติเหตุ (PA) นำร่องกลุ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14.6 ล้านคน หาก “คลัง-รัฐบาล” ไฟเขียวงบหลวงล็อตแรก 4,000 ล้านบาท ส่วนประกันสุขภาพ-ประกันชีวิต งบสูงอาจล่าช้า เหตุต้องให้ภาคเอกชนอยู่ได้ด้วย ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวถึงนโยบายเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14.6 ล้านคน เข้าถึงระบบประกันภัย ตั้งแต่ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) การประกันชีวิต และประกันสุขภาพ ครอบคุมโรคร้ายแรงบางชนิด ว่า เป็นเรื่องดีและทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น คปภ.หรือธุรกิจประกันภัย ต่างเห็นด้วยในหลักการจากนโยบายของรัฐบาล เพียงแต่บางเรื่องต้องหารือในรายละเอียด ขณะที่บางเรื่อง โดยเฉพาะในส่วนของ PA หากนำมาใช้ร่วมกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่รัฐบาลมีฐานข้อมูลอยู่แล้ว สามารถดำเนินการได้ทันทีที่รัฐบาลอนุมัติงบประมาณตามที่ได้เสนอไป “ผมได้เสนอโครงการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือ PA ไปให้ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้พิจารณาแล้ว ซึ่ง PA ถือเป็นการประกันภัยที่ไม่สลับซับซ้อนอะไรมากนัก หาก สศค.เห็นด้วยกับข้อเสนอของ คปภ. โดยเฉพาะงบประมาณที่เสนอไป ก็สามารถดำเนินการได้ทันที” สำหรับเบี้ยประกันฯที่ คปภ.ได้เสนอไปมีหลายแนวทาง แต่แนวทางที่มีความเป็นไปได้ คือ การกำหนดเบี้ยประกันฯขั้นต่ำที่ 60 บาท/ปี หรือ 5 บาท/เดือน เพียงแต่จะไม่ครอบคลุมการจ่ายเงินชดเชย กรณีเกิดอุบัติเหตุและต้องเข้ารับการรักษาตัว ซึ่งหากให้ครอบคลุมในส่วนนี้ ค่าเบี้ยประกันฯอาจขยับขึ้นเป็น 99 บาท/ปี หรือ 8 บาทเศษ/เดือน โดยครอบคลุมเงินชดเชยได้ 200-300 บาท/วัน เลขาธิการ คปภ.ย้ำว่า รูปแบบการทำ “พูลลิ่ง” หรือการประจายความเสี่ยงที่ใช้กับการทำประกันภัยข้าวนาปี จนประสบผลสำเร็จตลอดหลายปีที่ผ่านมา จะถูกนำไปเป็นต้นแบบให้กับการทำประกันภัยอื่นๆ โดยเฉพาะ PA รวมถึงการประกันสุขภาพ การประกันชีวิต และประกันภัยใหม่ๆ ที่จะมีตามมาในอนาคต “ฝ่ายนโยบายที่เคยกังวลใจว่าการเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการทำประกันภัยให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อาจทำให้ผลประโยชน์ไปตกอยู่กับบางบริษัทประกันภัยได้ แต่พอ คปภ.อธิบายถึงรูปแบบ “พูลลิ่ง ซิสเต็ม” ที่ประสบผลสำเร็จกับการประกันภัยข้าวนาปีมาแล้ว ทำให้ฝ่ายนโยบายรู้สึกเบาใจ และมีแนวโน้มจะสั่งการให้ดำดนินการขับเคลื่อนโครงการที่จะนำระบบประกันภัยไปสู่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและคนฐานรากของประเทศได้เข้าถึงสวัสดิการดีๆ เช่นนี้” ในส่วนของการประกันสุขภาพและประกันชีวิตนั้น จากการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์ของทั้ง 2 ตัวมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกัยรายได้ของประชาชนและไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากนัก จำเป็นจะต้องสร้างระบบประกันสุขภาพและประกันชีวิตให้กับคนฐานรากผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ เพียงแต่ค่าเบี้ยประกันฯคงต้องเป็นราคาที่เหมาะสมและทุกฝ่ายยอมรับได้ ขณะที่กลุ่มคนที่มีความพร้อมทางการเงินก็ยังคงซื้อระบบประกันสุขภาพและประกันชีวิตระดับพรีเมี่ยมต่อไป... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 38 พพ. ขยายผล ส่งเสริมทำ สมาร์ทฟาร์มทั่วประเทศ ตั้งเป้าปี 2562 หนุนฟาร์มเลี้ยงสัตว์... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 57 ราคาน้ำมันดิบ ปิดตลาด ปรับลดลง น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือน พ.ย. ลดลง... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 21 ดัชนีชี้วัดการผลิตสหรัฐฯแสดงให้เห็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 10 ปีในเดือนก.ย. เนื่องจากการส่งออกดิ่งเหวจากสงครามการค้า โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคการผลิตของสหรัฐฯจาก... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 31 พีดีเฮ้าส์ หวั่นสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคอีสาน กระทบลูกค้ารับสร้างบ้านชะลอการตัดสินใจ พร้อมเดินหน้าปลุกกำลังซื้อหลังน้ำลด ชูแบบบ้านคอนเซปต์ “บ้านปกป้องน้ำท่วม”ตอบโจทย์ลูกค้า เผยยอดขายสิ้นปีตามเป้า1,200... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 22 หลังจากรัฐบาลนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะเลื่อนการปรับขึ้นภาษีบริโภคมาถึง 2 ครั้ง แต่ในวันที่ 1 ต.ค.ญี่ปุ่นจะขึ้นภาษีบริโภคจากอัตราเดิม... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 119 ปักกิ่ง –  เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนกล่าวสุนทรพจน์ว่า ไม่มีประเทศใด... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 29 ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 62/63  ราคาประกันผลปาล์มทะลาย (คุณภาพน้ำมัน 18%) กิโลกรัมละ 4 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 25 ไร่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาผลผลิตปาล์มล้นตลาดและราคาตกต่ำ เริ่มโอนงวดแรก 1 ต.ค. นี้ กว่า 2.5 แสนราย เป็นเงิน 1,351 ล้านบาท นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เป็นประธานในงานแถลงข่าวเปิดตัวการจ่ายเงินประกันรายได้งวดแรกให้แก่เกษตรกรตาม “โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 62/63” โดยมีนายศรายุทธ ยิ้มยวน รอง ผจก.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าร่วมงาน ณ บริเวณวงเวียนริมน้ำ ชั้น 3 กระทรวงพาณิชย์ ถ.นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 1 ต.ค.62 ทั้งนี้ รอง ผจก. ธ.ก.ส. กล่าวว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ส.ค.62 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 62/63 เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรอันเนื่องมาจากปัญหาผลผลิตปาล์มล้นตลาดและราคาผลผลิตตกต่ำ โดยกำหนดรายได้ที่เหมาะสมที่เกษตรกรควรได้รับจากการขายผลปาล์มทะลาย (คุณภาพน้ำมัน 18%) ที่กิโลกรัมละ 4 บาท ซึ่งเกษตรกรที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ  กรมส่งเสริมการเกษตร มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยตามพื้นที่ที่ปลูกจริง แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 25 ไร่ และเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้วมีอายุไม่น้อยกว่า 3 ปี ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือน ก.ย.62 – ก.ย.63 โดยคณะอนุกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 62/63 จะทำหน้าที่กำหนดราคาตลาดอ้างอิง เพื่อใช้ในการคำนวณเงินชดเชยส่วนต่างระหว่างอัตราประกันรายได้ กับราคาตลาดอ้างอิง เพื่อแจ้ง ธ.ก.ส. ใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณเงินชดเชยส่วนต่างและโอนเงินให้แก่เกษตรกรต่อไป สำหรับในวันนี้ราคาตลาดอ้างอิงผลปาล์มทะลาย (คุณภาพน้ำมัน 18%) กิโลกรัมละ 2.68 บาท เกษตรกรจะได้รับชดเชยส่วนต่างกิโลกรัมละ 1.32 บาท ในครั้งนี้จะมีเกษตรกรที่มีคุณสมบัติถูกต้องได้รับเงินทั้งสิ้น 254,730 ราย เป็นเงิน 1,351 ล้านบาท สำหรับขั้นตอนในการจ่ายเงินประกันรายได้ เมื่อ ธ.ก.ส. ได้รับข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร   จะทำการประมวลข้อมูลพื้นที่การผลิต คำนวณปริมาณผลผลิต และเลขที่บัญชีเงินฝากของเกษตรกร เมื่อได้รับแจ้งราคาตลาดอ้างอิง  ธ.ก.ส.จะทำคำนวณเงินชดเชยตามสิทธิ์  และจะทำการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกรโดยตรง โดยกำหนดเป็นงวด ๆ ละไม่น้อยกว่า 45 วัน เริ่มจ่ายเงินงวดแรกในวันที่ 1 ต.ค. 62 งวดต่อไปจ่ายในวันที่ 1 หรือ 16 หากตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะเลื่อนกำหนดจ่ายเร็วขึ้น (วันทำการก่อนวันหยุด) ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ที่ Link: http://chongkho.inbaac.com.... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 38 คปภ.หวังดัน “หัวไทร” เป็นต้นแบบประกันภัยข้าวนาปีของภาคใต้ ตั้งเป้าดันชาวนาทำประกันฯครบ 100% แจงเหตุที่ต้องลงพื้นที่ช่วงนี้ หวังเร่งทำประกันฯก่อนเกิดภัยธรรมชาติ ตั้งเป้าจ่ายสินไหมฯทั้งปี 2,000 ล้านบาท เผยอยากให้รัฐบาลวางแผนระยะยาว สร้างความเชื่อมั่นแก่ทุกฝ่าย ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวในการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกษตรกร โครงการประกันข้าวนาปีฯ ประจำปี 2562 ณ หอประชุมที่ว่าการ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 1 ต.ค.62 ว่า อยากใช้กรณีการทำประกันภันข้าวนาปีของ อ.หัวไทร เป็น “ต้นแบบ” ให้กับพื้นที่อื่นๆ ในภาคใต้ นอกจากมีพื้นที่ทำนามากกว่า 80,000 ไร่ ใหญ่ที่สุดของภาคใต้แล้ว ที่นี่ยังมีสัดส่วนการทำประกันภัยข้าวนาปีสูงถึง 96.41% ในปี 61 โดยตั้งเป้าว่าปี 62 นี้ จะรณรงค์ให้เกษตรกรทำประกันภันข้าวนาปีให้ได้ถึง 99.99% -100% ทั้งนี้ จากพื้นที่เป้าหมายที่รัฐบาลต้องการทำประกันภัยข้าวนาปีในปีนี้ 30 ล้านไร่ และได้ทำมาแล้วในพื้นที่ภาคต่างๆ รวมกัน 27.99 ล้านไร่ ทำให้เหลือพื้นที่ในเป้าหมายอีกกว่า 2 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพื้นที่การทำนาข้าวในภาคใต้มีไม่มาก คาดว่าจะมีการทำประกันภัยข้าวนาปีทั้ง จ.นครศรีธรรมราช, จ.ชุมพร, จ.พัทลุง และจ.นราธิวาส รวมกันประมาณ 800,000 ไร่ ซึ่งจะทำให้การทำประกันข้าวนาปีของทุกภาครวมกันราวมากกว่า 28 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม แม้จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ 30 ล้านไร่ แต่ก็สูงกว่าทุกปีที่ผ่านมา “การทำนาข้าวของภาคใต้ ล่าช้ากว่าทุกภาคของประเทศ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่แตกต่างออกไป ซึ่งจากประสบการณ์ที่ได้เห็นปัญหาของภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นวาตะภัยหรืออุทกภัย และมักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.ของทุกปี ดังนั้นสำนักงาน คปภ.จึงต้องเร่งลงพื้นที่เพื่อเชิญชวนให้ชาวนาเร่งดำเนินจัดทำประกันข้าวนาปีโดยเร็ว อย่างน้อยก็เป็นการบรรเทาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต” เลขาธิการ คปภ.ย้ำ และว่า ที่ผ่านมาได้มีการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้กับความสูญเสียที่เกิดจากภัยพิบัติทั้ง 8 ประเภทรวมกันกว่า 1,800 ล้านบาท คาดว่าทั้งปี 62 นี้ อาจต้องจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนรวมกัน 2,000 ล้านบาท “เรามาเตือนและเชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนาเร่งทำประกันภัยข้าวนาปีในช่วงสุดท้ายของโครงการในปีนี้ เพราะเชื่อว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อชาวนาเอง ทั้งนี้ เบี้ยประกัน (ในส่วนความคุ้มครองพื้นฐาน) ต่อไร่ที่ 85 บาท/ไร่นั้น รัฐบาลออกให้แล้ว 51 บาท ที่เหลือ 34 บาท/ไร่ หากเป็นลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทาง ธ.ก.ส.จะออกให้เอง โดยชาวนาไม่ต้องเสียเงินสักบาทเดียว แต่ได้รับความคุ้มครอง 1,260 บาท/ไร่ แต่ถ้าไม่ใช่ลูกค้าของ ธ.ก.ส. ชาวก็ต้องออกเงินในส่วนนี้เอง” เลขาธิการ คปภ. กล่าวอีกว่า ชาวนายังสามารถจะซื้อความคุ้มครองส่วนเพิ่มได้อีก ในราคา 25 บาท/ไร่ โดยจะได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติม 240 บาท/ไร่ กรณีเกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และ 120 บาท/ไร่ กรณีเกิดความเสียหายจากศัตรูพืชหรือโรคระบาด ทั้งนี้ ในอนาคตอันใกล้ สำนักงาน คปภ.อาจนำ “ระบบประกันภัยแบบแพ็กเกจ” ซึ่งจะรวมสินค้าเกษตรที่มีกระบวนการผลิต การบำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน มารวมเป็นผลิตภัณฑ์ประกันเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการและการทำประกันภัยต่อไป... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 192 ฮ่องกง (รอยเตอร์)  –  จีนเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงเป็นสองเท่าในฮ่องกง อ้างอิงจากแหล่งข่าวซึ่งเป็นทูตต่างประเทศและนักวิเคราะห์ความมั่นคง นับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ที่สุดเนื่องจากรัฐบาลจีนเตรียมพร้อมรับมือเหตุความไม่สงบในฮ่องกง ซึ่งเป็นฮับการเงินระดับโลก... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 32 รมว.พลังงาน สั่งการหน่วยงาน รณรงค์ลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในภาคพลังงาน โดยเร่งมาตรการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 47 ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตยืนยันบัตรเครดิตที่ใช้ลายเซ็นยืนยันตัวตน ยังคงใช้งานได้ในยุโรป ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต-สมาคมธนาคารไทย ชี้แจงกระแสข่าวเกี่ยวกับการจำกัดการใช้บัตรเครดิตที่ไม่ใช่บัตรเครดิตแบบชิปและระบบ PIN (Chip & PIN) ในการซื้อสินค้าและใช้บริการในกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 15 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดจีดีพีปี 63 ยังมีความเสี่ยงที่อาจจะโตต่ำกว่า 3.0% ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 ตัวเลขปรับผลค่อนข้างต่ำกว่าคาดการณ์หลักๆมาจากปัจจัยภายนอกมุมมองของศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าส่งออกไทยได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลกมีผลกระทบมากกว่าที่คิดเราจึงปรับคาดการณ์ลงมาอยู่ที่ 2.8% จากเดิม 3.1% ขณะที่คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีหน้าว่ามีความเสี่ยงที่จะโตต่ำกว่า 3.0% จากหลายปัจจัยลบ  นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าการปรับลดจีดีพีปี 2562 มาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้ตัวเลขส่งออกของไทยในช่วง 8 เดือนแรกที่ผ่านมา หดตัวมากกว่าคาด โดยหดตัวในหลายกลุ่มสินค้าและเกือบทุกตลาดหลัก ซึ่งส่งผลให้ปรับลดประมาณการการส่งออกลงเหลือ -2.0% ถึง 0.0% จากเดิมที่ 0.0%  สำหรับในปี 2563 ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่ยังมีอยู่มาก ทำให้การส่งออกยังคงหดตัว ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้จีดีพีมีโอกาสต่ำกว่า 3.0% อย่างไรก็ตาม ประมาณการนี้ตั้งอยู่บนเงื่อนไขแวดล้อมที่ประเมินได้ ณ ขณะนี้และยังไม่รวมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยในปีนี้ คาดว่ามาตรการ “ชิม ช้อป ใช้” จะช่วยหนุนจีดีพีราว 0.02% ส่วนในปีหน้าต้องรอติดตามว่าจะมีมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งหากมี ก็ควรเน้นไปที่การดูแลแรงงานที่ไม่มีหลักประกันทางสังคมรองรับ อย่างเช่นกลุ่มอาชีพอิสระ รวมถึงเอสเอ็มอีที่ยอดขายชะลอตัวลง หลังผู้บริโภคระวังการใช้จ่าย ในส่วนของมาตรการทางการเงินนั้น มองว่า กนง.อาจลดดอกเบี้ยได้อีก เพียงแต่มาตรการทางการเงินต้องใช้เวลากว่าจะทยอยเห็นผลบวกต่อเศรษฐกิจ ด้าน ดร.ศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ จะกระทบการส่งออกของไทยในปี 2563 เพิ่มเติมอีก 1,000-2,500 ล้านดอลลาร์ฯ หลังต้องรับรู้ผลกระทบจากการเก็บภาษีนำเข้าจากสินค้าจีนต่อเนื่อง ขณะที่ในปี 2562 คาดการณ์ผลกระทบไว้ที่ 2,100-3,000 ล้านดอลลาร์ฯ นอกจากนี้ แม้ว่าไทยอาจได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตบ้าง แต่ก็จะเน้นไปที่ธุรกิจที่ไทยเป็นฐานการผลิตเดิม ส่วนสถานการณ์ Brexit คาดว่า มีความเป็นไปได้สูงที่สหราชอาณาจักรคงต้องออกจากสหภาพยุโรปแบบ No Deal โดยขั้นตอนต่อไปคือการตกลงกันเรื่องรูปแบบและข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน รวมถึงประเด็นพรมแดนไอร์แลนด์เหนือซึ่งพัฒนาการเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อตลาดเงิน และเศรษฐกิจของอังกฤษในปีหน้ามีโอกาสถดถอย ประเด็นเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษกับประเทศไทยมีผลกระทบทั้งหมดไม่ถึง 2% เพราะฉะนั้นผลกระทบอาจไม่กระทบเยอะในการส่งออกแต่ผู้ประกอบการที่ส่งออกไปประเทศอังกฤษอาจจะต้องระมัดระวังตัวให้ดีแม้ว่าผลกระทบของ Brexit ต่อเศรษฐกิจไทยจะมีไม่มากนัก  ด้าน Trade... อ่านต่อ