ดูแล้ว: 48 บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จับมือ 3 พันธมิตรธุรกิจ พร้อมเปิดตัว... อ่านต่อ
NATIONAL
ดูแล้ว: 24 เมืองไทยประกันชีวิต จับมือกลุ่ม HUBBA เปิดตัวโครงการ “MTL 4Startup” กรมธรรม์ประกันกลุ่มสำหรับลูกค้ากลุ่มสตาร์ทอัพแห่งแรกของธุรกิจประกันชีวิตไทย... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 17 กกร.ออกตัวแทนรัฐบาล ชี้เดินหน้าลงทุนเมกกะโปรเจ็คต์เต็มที่ แต่อาจติดขัดข้อกฎหมายและการตรวจสอบงบลงทุนเข้มงวด เชื่อเศรษฐกิจไทยเดินหน้าเข้มแข็ง นายปรีดี ดาวฉาย นายกสมาคมธนาคารไทย กล่าวในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ถึงกรณีที่มีบางฝ่ายมองความล่าช้าในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ภาครัฐ ว่า กกร.เข้าใจดี เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้งบประมาณเพื่อการลงทุนจำนวนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงสร้างถนนมอเตอร์เวยสายใหม่ๆ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นไปพร้อมกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ” อย่าไปมองว่ารัฐบาลชุดนี้ลงทุนล่าช้า หรือไม่เร่งลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเพราะความเป็นจริงนั้น รัฐบาลได้เดินหน้าลงทุนในโครงการเหล่านี้เท่าที่ข้อจำกัดทางกฎหมายจะเปิดทางให้ ซึ่งกกร.มีโอกาสพูดคุย สอบถามและติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด รู้ดีว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างพยายามเร่งรัดการลงทุนแล้ว แต่เพราะบางโครงการเป็นการลงทุนต่อเนื่องที่จะไม่แล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี แต่เป็นการลงทุนก่อสร้างในระยะยาว ซึ่งหลายโครงการก็ยังติดขัดที่กฎระเบียบของส่วนราชการด้วยกันเอง รวมถึงการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินลงทุนของภาครัฐที่จำเป็นต้องตรวจสอบอย่างละเอียดและเข้มงวด เพื่อป้องกันปัญหาการรั่วไหลของเงินงบประมาณแผ่นดิน... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 32 ครม.ไฟเขียว กระทรวงการคลัง คงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% ต่อไปอีก 1 ปี... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 28 เผยเงินบาทสุดฮ๊อต! ถูกนำมาใช้เป็นตัวกลางค้าชายแดนสูงถึงปีละ 4-5 แสนล้านบาท เชื่อปีต่อๆ ไป ยอดใช้เงินบาททะลุครึ่งล้านล้านแน่ นายกสินท์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงสถานการณ์การใช้เงินบาทของไทยเป็นเงินสกุลหลักในการทำการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านว่า ทุกวันนี้มีปริมาณการค้าขายบริเวณชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเมียนมาร์ ลาวและกัมพูชาสูง ที่มีมูลค่าถึง 400,000-500,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงมากๆและเป็นไปตามความคาดหวังเชิงนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ค่อนข้างจะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกลึกๆ ของรัฐบาลและธนาคารกลางของประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ แม้ทางการไทยจะไม่ประกาศอย่างเป็นทางการที่จะใช้เงินบาทเป็นเงินสกุลหลักในการทำการค้าระหว่างกัน แต่เพราะค่าเงินบาทของไทยมีเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือที่สูงกว่าเงินสกุลท้องถิ่น จึงทำให้คู่ค้าทั้งของ 2 ฝ่ายยินดีที่จะใช้เงินบาทในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน “ทุกวันนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามหลีกเลี่ยงที่จะตอกย้ำว่าเงินบาทคือเงินสกุลหลักของภูมิภาคนี้ โดยเน้นคำว่า “เงินสกุลท้องถิ่น” ที่ถูกใช้ในการแลกเปลี่ยนและชำระค่าสินค้าระหว่างกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา แต่เพราะเงินบาทได้รับการยอมรับจากนักธุรกิจตามแนวพรมแดน จึงกลายเป็นเงินสกุลหลักของการค้าชายแดนระหว่างกันมาตลอด และมีแนวโน้มว่า ปริมาณการค้าตามแนวพรมแดนด้วยการใช้เงินบาทนั้น น่าจะสูงมากกว่าปีละ 5 แสนล้านบาทในปีต่อๆ ไป หลังจากเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านมีแนวโน้มเติบโตตามประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน” นายกสินท์ กล่าวในที่สุด.... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 20 เงินเดือนพ.ค.พุ่ง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นหลังจากสภาพัฒน์ปรับจีดีพีปีนี้ 4.2-4.7% จากเดิม 3.6-4.6% ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นเป็นแรงกดดันเงินทั่วไปปรับขึ้น 1.38%... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 64 สลากฯ ยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุดสู้คดี บริษัท ล็อกซเล่ย์ จีเท็ค เทคโนโลยี จำกัด... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 32 วงเสวนา “จับกระแส Disruptive Innovation คือ วิกฤตหรือโอกาส” แนะ 6 ขั้นตอนให้เอสเอ็มอีปรับตัวหนีตายจากสงครามออนไลน์ที่จีนและอินโดฯรุกหนัก ด้าน “ผอ.ศูนย์วิจัย CIMB” ฟันงธง! ศุกร์หน้าสงครามการค้าจบแน่ เชื่อจีนยอมให้สหรัฐขี่เล็กๆ นอกจากทุกฝ่ายไม่เสียหน้า ยังนำสู่ผลประโยชน์ “วิน-วิน” อย่างลงตัว เวทีเสวนา “จับกระแส Disruptive Innovation คือ วิกฤตหรือโอกาส” ที่ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จัดขึ้น ณร.ร.เรเนซองส์ กรุงเทพ โดยมีนายกิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวเปิดงาน ท่ามกลางเจ้าของกิจการและผู้บริหารระดับต่างๆ ของกลุ่มเอสเอ็มอีไทย เข้าร่วมรับฟังนับพันคน ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโสสำนักวิจัยแห่งธนาคารซีไอเอ็มบีไทย กล่าวถึงมุมมองเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางสถานการณ์กลิ่นอาย “สงครามการค้าโลก” ว่า ส่วนตัวเชื่อว่าสถานการณ์นี้จะอยู่ไม่นาน และผู้นำทั้ง 2 ฝ่ายคือ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ปธน.สหรัฐอเมริกา และผู้นำจีนรวมถึงผู้นำสหภาพยุโรป น่าจะมีการนัดหารือเพื่อยุติปัญหาได้ภายในปลายสัปดาห์หน้า หรืออย่างน้อยก็จะมีภาพความชัดเจนปรากฏชัดขึ้น ก่อนจะมีการประกาศสงครามกำแพงภาษีระหว่างกัน ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย แม้กระทั่งไทย “ทั้งเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยต่างไม่มีปัจจัยใดที่จะน่ากังวล แต่ที่ทุกฝ่ายกังวลคือความไม่แน่นอนและภาพความไม่ชัดเจนของสถานการณ์สงครามการค้า ซึ่งเชื่อว่าสุดท้ายทุกฝ่ายจะหาข้อยุติลงไปได้ และภาพความเป็นไปได้คือ จีนเปิดโอกาสนำเข้าสินค้าจากสหรัฐมากขึ้น หลังจากเกินดุลการค้าสหรัฐมามาก โดยจีนส่งงออกไปตลาดสหรัฐถึงกว่า 4 แสนล้านเหรียญ ขณะที่นำเข้ามีเพียง1.3-1.4 แสนล้านเหรียญเท่านั้น และนั่นจะทำให้ภาพที่ออกมาเป็นวิน-วินกับทุกฝ่าย” ส่วนเศรษฐกิจไทย ดร.อมรเทพ มองว่า แม้จะได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าวบ้างในแง่ของความกังวลใจของนักลงทุนต่างชาติ แต่เพราะไทยมีสเถียรภาพทางเศรษฐกิจและมีตัวเลขเศรษฐกิจที่มั่นคงโดยเฉพาะภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ค่าเงินบาทก็ไม่ได้ลดค่ามากนัก ทุกอย่างเป็นไปตามสถานการณ์ที่สอดคล้องกับเพื่อนบ้านอาเซียน จึงทำให้ไทยยังคงเป็นตลาดที่น่าสนใจในอันดับต้นๆ ต่อไป... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 26 เอสเอ็มอีแบงก์ จับมือมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำรวจเอสเอ็มอีไทยมีจำนวนสูงถึง 5.2 ล้านราย ระบุกลุ่มรายย่อย หรือ “จุลเอสเอ็มอี” ตกสำรวจ... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 30 พาณิชย์ จับมือ 3 กระทรวง “เกษตร-อุตฯ-มหาดไทย”วางแผนดูแลสินค้าเกษตรหลัก 6 ชนิดแบบครบวงจร เพื่อหาตลาดและป้องกันราคาตกต่ำ... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 45 กฟผ. ชงเสนอบอร์ดประมูลการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี กำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ โดยจับมือกับ SCC พัฒนาทุ่นลอยน้ำก่อนเป็นอันดับแรก นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 65 “นิตินัย” เผย 8 เดือนแรกปีนี้ยอดผู้โดยสารเพิ่ม 9.88% เที่ยวบินโต 6.17 พร้อมทุ่ม... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 67 สหรัฐฯ เชิญผู้ผลิตไทยเข้าพบในหลายเมือง เพื่อสำรวจและเตรียมสั่งสินค้า หลังสงครามการค้าสหรัฐฯ – จีนเริ่มระอุ กระทรวงพาณิชย์ไม่หวั่น... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 1,200 ธ.ก.ส.มั่นใจเกษตรกร 8 แสนคน จะใช้บัตรเกษตรสุขใจชำระผ่านระบบคิวอาร์โค้ด แทนบัตรสินเช่ื่อเกษตรกรที่จะใช้เครื่องอีดีซีในการรับชำระเงิน นายสมศักดิ์ กังธีระวัฒน์... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 44 ศูนย์วิจัยกสิกรฯไม่เชื่อสงครามการค้าจะลุกลามกลายเป็นสงครามการเงิน แต่จะอึมครึมต่อไปอีก 2-4 ปีชี้หากคู่ค้าหลักผนึกกำลังเทขายดอลลาร์และพันธบัตรสหรัฐ จะเสียหายทุกฝ่าย เหตุมูลค่าสินทรัพย์ในมือลดลงอย่างแรง เชื่อยามนี้ยังไม่มีอะไรมาเป็นเงินสกุลหลักแทนที่ดอลลาร์ ระบุแม้โลกได้รับผลพวงจากภาวะสงครามการค้าแต่ภาพรวมการค้าโลกกลับขยายตัวสูงขึ้น คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ ยังได้รับแรงหนุนทั้งในและนอกประเทศ ดันจีดีพีโต 4.5% ขณะที่ภาคส่งออกขยายเพิ่มเป็น 8.8% ศูนย์วิจัยกสิกรไทย นำโดย ดร.เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยฯ แถลง “ทิศทางเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง 2561 ท่ามกลางสงครามการค้าโลก” โดยมองภาพสงครามการค้าครั้งนี้จะไม่ขยายผลจนกลายเป็นสงครามการเงินตามที่หลายฝ่ายวิตกกังวล เนื่องจากหากมีการโจมตีค่าเงินประเทศคู่ค้าหลักของสหรัฐ โดยเฉพาะจีนและสหภาพยุโรป (อียู) หรือแม้แต่การเทขายดอลลาร์ในตลาดโลก รวมถึงกรณีทางการจีนอาจเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐนั้น เชื่อว่าสิ่งนี้จะไม่ส่งผลดีต่อทุกฝ่าย และจะทำให้รัฐบาลจีน ซึ่งถือเงินดอลลาร์และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐไว้เป็นทรัพย์สินจำนวนมาก จะมีมูลค่าต่ำลงไปกว่าเดิม ที่สำคัญในช่วงเวลานี้ คงยังไม่มีเงินสกุลใดมาแทนที่ดอลลาร์สหรัฐได้ หรือแม้แต่การจะกลับไปใช้ทองคำเป็นหลักประกันการค้าของโลกก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน “เชื่อว่าสงครามการค้าครั้งนี้ มาจากปัจจัยการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจ เนื่องเพราะใกล้ถึงการเลือกตั้งกลางเทอมช่วงปลายปีนี้ และน่าจะเป็นนโยบายส่วนตัวของ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ มากกว่าจะเป็นนโยบายของพรรครีพับลิกัน เพราะที่ผ่านมาพรรคฯจะเน้นนโยบายส่งเสริมการลงทุนและการค้าเสรี ซึ่งเรามองว่านโยบาย “อเมริกา เฟิร์สท์” คือ เหตุผลทางการเมือง ที่ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ หวังจะกลับมาเป็นผู้นำสหรัฐอีกสมัยในการเลือกตั้งใหญ่ปี 2020″ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า หาก ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง นโยบายกีดกันทางการค้ากับประเทศคู่ค้าหลักคงจะผ่อนคลายและยืดหยุ่นมากขึ้น แต่จะไม่เลิกในทันที เพราะเป็นนโยบายที่สร้างคะแนนนิยมให้กับผู้นำสหรัฐมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ผลพวงจากภาวะดังกล่าวน่าจะเป็นตัวบั่นทอนการค้าและเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ ส่วนประเทศไทยนั้น เชื่อว่าสงครามการค้าที่คู่กรณีต่างออกมาตรการทางภาษีกีดกันการนำเข้าจะส่งผลเสียต่อการส่งออกของไทย โดยคาดว่าจะติดลบในเชิงมูลค่าในปีนี้ราว 280-420 ล้านดอลลาร์สหรัฐอย่างไรก็ตาม จากปัจจัยหนุนที่ปริมาณการค้าโลกขยายตัวสูงกว่าประมาณการเดิม สิ่งนี้น่าจะเป็นแรงหนุนให้การส่งออกของไทยในเชิงปริมาณเติบโตเฉลี่ยราว 8.8% สำหรับตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า น่าจะเติบโตจากประมาณการเดิมที่ 4.0% เป็น 4.5% เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากปัจจัยต่างประเทศที่การค้าขยายตัวสูงขึ้น และปัจจัยภายในประเทศจากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนจากการใช้จ่ายภายในประเทศ ทั้งจากการลงทุนและการบริโภคของภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น ... อ่านต่อ