NATIONAL

ดูแล้ว: 33 ข่าวดีประเทศไทย! คปภ. คลอดประกันภัยไข้เลือดออก ฉบับปฐมฤกษ์ หวังคุ้มครองประชาชนจากภัยไข้เลือดออก ควบทั้งค่ารักษาพยาบาลและชดเชยรายวัน เผยเบี้ยประกันถูก... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 47 ส.อ.ท. นำเทคโนโลยี IoT พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรไทยทั้งระบบ โชว์ในงาน “ThaiTAM มหกรรมแทรกเตอร์และจักรกลการเกษตรไทย... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 12 ส.อ.ท.เผย ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน กันยายน 2562 ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 12 เดือน... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 29 เตือนผู้อยู่อาศัยในคอนโดนิเมียมตรวจสอบเรื่องการจ่ายค่าส่วนกลางและเงินกองทุน แนะศึกษากฎหมายประเด็นห้องที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ใครเป็นผู้รับผิดชอบ กรณีผู้จัดการนิติบุคคลเป็นคนของโครงการต้องรู้ว่า “ใครได้เปรียบและเสียเปรียบ” นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 24 เหนื่อยใจแทนผู้ประกอบการ SMEs หลังศูนย์พยากรณ์ฯ ม.หอการค้า พบดัชนีทุกตัวตลอด 3 ไตรมาสปี 62 ทรุดพร้อมกันเกือบทุกเซ็กเม้นท์ เผยหากรัฐบาลอัดฉีดเงินเพิ่มอีก 3-5 หมื่ล้านบาทช่วง 2-3 เดือนที่เหลือ มีโอกาสดันจีพีดี แตะ 3% หนุน SMEs ไตรมาสสุดท้ายโต 4% ฟันธง! จีดีพี 62 โตจริงแค่ 2.8% ขณะที่ SMEs โตแค่ 3.3-3.5% ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ร่วมกับ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank แถลงดัชนีสถานการณ์ธุรกิจ SMEs และดัชนีความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ประจำไตรมาสที่ 3/62 จาก 1,234 ตัวอย่างทั่วประเทศ โดยสำรวจ 3. ดัชนี คือ สถานการณ์ธุรกิจ SMEs, ความสามารถในการทำธุรกิจ และความยั่งยืนของธุรกิจ SMEs เพื่อนำมาประมวลให้เห็นถึงดัชนีความสามารถในการแข่งขันของ SMEs  ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย และ ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า ตลอด 3 ไตรมาสที่ผ่านมา พบว่ามีสัญญาณ จากปัจจัยต่างๆ ไม่สู้ดีนัก ส่งผลทำให้อัตราการเติบโตของธุรกิจ SMEs ในเกือบทุกเซ็กเม้นท์ หดตัวลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตทั้งปีที่ระดับ 3.5-4.0% เหลือเพียงแค่ 3% เศษ อย่างไรก็ตาม จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นมาตรการชิมช้อปใช้, การประกันรายได้, การช่วยลดภาระต้นทุนการผลิตภาคเกษตร ฯลฯ กลุ่มตัวอย่างยังมั่นใจว่าการเติบโตของธุรกิจ SMEs ในช่วงไตรมาสที่ 4 น่าจะดีกว่าทั้ง 3 ไตรมาสรวมกัน ซึ่งศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ  ม.หอการค้าไทย คาดการณ์ว่า ทั้งปี 62 น่าจะเติบโตที่ระดับ 3.3-3.5% ในส่วนของอัตราารเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยปี 62 คาดว่าน่าจะเติบที่อยู่ที่ระดับ 2.8% แต่หากจะขยับขึ้นไปแตะที่ระดับ 3.0% หรือมากกว่านั้น รัฐบาลจะต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบไม่ต่ำกว่า 30,000... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 159 รมว.อุตสาหกรรม ประกาศมาตรฐาน มอก. 244 เรื่อง เพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ตั้งเป้าปี... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 663 แสนสิริ ประเมินศักยภาพโซน”เพชรบุรี-ทองหล่อ”เติบโตต่อเนื่อง ราคาที่ดินพุ่ง 6 แสนบาทต่อตร.วา ขยายตัว 10%... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 74 “โฆษกคลัง” ชี้ เติมเงินใช้จ่ายผ่านกระเป๋า 2 “ชิมช้อปใช้” แสนง่าย เติมได้ทุกแบงก์ พร้อมรับคืน Cash Back 15% สามารถใช้จ่ายสะดวกที่หลายร้านค้าในทุกจังหวัด เว้นเพียงจังหวัดตามทะเบียนบ้าน นายลวรณ แสงสนิท ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวถึงการยืนยันสิทธิ์ในมาตรการ “ชิมช้อปใช้” ว่า ได้มีการส่ง SMS ยืนยันให้กับผู้ได้รับสิทธิ์ครบ 10 ล้านรายแล้ว โดยมีผู้เข้ายืนยันตัวตนในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” แล้ว 9,606,300 ราย โดยยืนยันตัวตนสำเร็จ 9,260,223 ราย ผ่านทั้งช่องทางแอปพลิเคชันและที่สาขา ทั้งนี้ การใช้จ่าย 19 วันแรก พบว่า มีผู้ใช้สิทธิ์ 8,519,390 ราย ยอดรวมการใช้จ่าย 8,282 ล้านบาท โดยเป็นการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดเล็กตามวัตถุประสงค์ของมาตรการฯ ร้อยละ 82 หรือ 6,793 ล้านบาท และการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขามีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงเริ่มต้นมาอยู่ที่ร้อยละ 18 หรือ 1,489 ล้านบาท โดยมีการใช้จ่ายกระจายครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ ไม่ได้กระจุกตัวเฉพาะในเมืองใหญ่ ซึ่งการใช้จ่ายในกรุงเทพฯ คิดเป็นเพียงร้อยละ 13 ทั้งนี้ เป็นการใช้จ่าย g-Wallet ช่อง 1 ประมาณ 8,169 ล้านบาท โดยเป็นการใช้จ่ายที่ร้าน “ช้อป” ซึ่งเป็นร้านในกลุ่ม OTOP ร้านวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งร้านธงฟ้าประชารัฐ และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว 4,576 ล้านบาท ส่วนร้าน “ชิม” หรือร้านอาหารและเครื่องดื่มมียอดใช้จ่าย 1,152 ล้านบาท ร้าน “ใช้” เช่น โรงแรม โฮมสเตย์ มียอดใช้จ่าย 96 ล้านบาท และร้านค้าทั่วไปมียอดใช้จ่าย 2,345 ล้านบาท... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 27 สรรพสามิตคาดรายได้ภาษียาสูบปี 63 หดลง 600 ล้านบาท หลังหั่นภาษี “อุ้ม” เกษตรกรยาสูบ “ผู้เพาะปลูก-ผลิตยาเส้น” นายณัฐกร  อุเทนสุต  ผด.สำนักแผนภาษี และรองโฆษกกรมสรรพสามิต กล่าวว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราภาษียาเส้น กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพสามิตจึงเสนอให้มีการพิจารณาปรับลดอัตรายาเส้น จากอัตราเดิม 0.005 บาท/กรัม เป็นอัตรา 0.10 บาท/กรัม โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.ลดอัตราภาษีตามปริมาณสำหรับเกษตรกรผู้เพาะปลูก หั่นและจำหน่ายและผู้ผลิตรายย่อยที่มีปริมาณการผลิตเฉลี่ยไม่เกิน 12,000 กิโลกรัมต่อปี ให้เสียภาษีในอัตรา 0.025 บาทต่อกรัม สำหรับจำนวนยาเส้นที่เกิน 12,000 กิโลกรัมต่อปี ให้เสียภาษีในอัตรา 0.10 บาท ต่อกรัม ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวกำหนดให้มีระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 31 ธ.ค.63 โดยหากพ้นกำหนดในช่วงเวลาดังกล่าวต้องเสียภาษีในอัตรา 0.10 บาทต่อกรัม โดยจากฐานข้อมูลการชำระภาษียาเส้น ปีงบประมาณ 62 พบว่า จากผู้ผลิตยาเส้นที่เป็นเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อย  ที่ผลิตได้เกิน 12,000 กิโลกรัมต่อปี เพียง 15 ราย จากทั้งหมด 10,450 ราย โดยทั้ง 15 รายเป็นผู้ผลิตที่อยู่ใน จ.หนองคาย เพชรบูรณ์ และชัยภูมิ ซึ่งการลดอัตราภาษีสำหรับกรณีดังกล่าวนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะปลูกและผลิตยาเส้น รวมถึงผู้ผลิตยาเส้นรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราภาษีดังกล่าว ให้สามารถปรับตัวรองรับกับนโยบายของรัฐบาลด้านสาธารณสุขในการลดการบริโภคยาสูบและยาเส้นในอนาคต      2.ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม โดยปรับแก้ไขการได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตรา 0 ให้รวมถึงผู้ค้าคนกลางเพื่อขายเป็นวัตถุดิบให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบ... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 26 โฆษกคลัง เผย “อุตตม” ส่งผู้ตรวจคลัง ร่วมประชุม รมต.คลังเอเปค ครั้งที่... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 19 ผช.รมว.คลังโว ยอดใช้จ่าย “ชิมช้อปใช้” สะพัดช่วงวันหยุดออกพรรษาเฉียด 2,000 ล้านบาท เผยยอดใช้จ่ายนับแต่วันแรกถึง... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 36 ธ.ก.ส.นำร่องจ่ายประกันรายได้ชาวนา ปี 62/63 รอบที่ 1 แก่ผู้ปลูกข้าว 5... อ่านต่อ