WHO เตือนระวังอีโบลาแพร่รุนแรง
หัวหน้าองค์การอนามัยโลกกล่าวว่า โรคอีโบลากำลังแพร่ระบาดและไม่สามารถต้านทานได้โดยง่าย แต่วัคซีนชนิดใหม่และการควบคุมที่รวดเร็วจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ดีมากขึ้น
ในเดือน ธ.ค.ปี 2556 วิกฤตโรคอีโบลาคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 11,300 รายในประเทศกินี สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน และประเทศไลบีเรีย นอกจากนี้ยังทำให้มีผู้ติดเชื้อซึ่งได้รับผลกระทบจนมีปัญหาสุขภาพระยะยาวอีกหลายพันราย
องค์การอนามัยโลกถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหลังไม่สามารถรับมือวิกฤตการณ์โรคร้ายหรือถ่วงเวลาการแพร่ระบาดของเชื้อได้
มากาเร็ต ชาน ผู้บริหารองค์การอนามัยโลกกล่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีการจัดงานอุทิศให้กับผู้ร่วมมือในเมืองหลวงของประเทศกินี มากาเร็ตกล่าวขอบคุณประชาชนและบุคลากรต่าง ๆ ที่ร่วมมือทุ่มเทเพื่อต่อสู้กับโรคอีโบลาในกินีอย่างเต็มที่ นอกจากนี้มากาเร็ตยังขอบคุณรัฐบาลของประเทศกินีสำหรับการช่วยเหลือและร่วมพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่
มากาเร็ตกล่าวอีกว่า “นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเชื้อไวรัสอีโบลามีการแพร่ระบาดอย่างไร แต่ผู้เชี่ยวชาญต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่สามารถต้านไวรัสอีโบลาได้” เธอกล่าวต่อผู้ชมนักวิทยาศาสตร์และผู้ช่วยประสานงานรวมถึงบุคคลสำคัญที่ร่วมต่อสู้กับโรคอีโบลา
โดยมากาเร็ตเสริมว่า “ตอนนี้ชาวโลกควรจะเตรียมตัวรับมือกับโรคอีโบลาให้ดี”
ในการทดลองทางคลินิกมีการใช้วิธีการทดลองกับกลุ่มผู้คนในกินีราว 6,000 ราย ได้รับวัคซีนทดสอบในปี 2558 โดยระหว่างการทดลองไม่มีผู้ทดลองรายใดติดเชื้ออีโบลา
มากาเร็ตกล่าวว่า แม้วัคซีนชุดแรกจะมีจำกัดแต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขก็มีวัคซีนหรือตัวเลือกอื่นในการจัดการกับเชื้ออีโบลา นอกเหนือจากการแยกผู้คนและกักกัน
อย่างไรก็ตาม ผลดีอย่างหนึ่งที่ได้รับจากการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของเชื้ออีโบลาคือการที่ผู้คนหันมาสนใจและฟื้นฟู รวมถึงระดมทุนเพื่อพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่ รวมถึงโรคต่าง ๆ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือ MERS โรคไข้ลัสสา และโรคสมองอักเสบนิปาห์
ในงานเดียวกัน นายอัลฟา กงเด ประธานาธิบดีประเทศกินีกล่าวว่า “ถึงเวลาแล้วที่ชาติแอฟริกาควรได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิทยาศาสตร์และชีวการแพทย์” นอกจากนี้เขายังเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริการ่วมกันระดมความคิดและแบ่งปันความเชี่ยวชาญในสายวิทยาศาสตร์ของประเทศนั้น ๆ อีกด้วย.