เฟซบุ๊กจ้างคนเพิ่มตรวจสอบความรุนแรง
ยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊กจะมีการจ้างงานเพิ่มอีก 3,000 คนภายในปีหน้าเพื่อรับมือกับการรีพอร์ทเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมที่ถูกแชร์ในเฟซบุ๊ก และเร่งกำจัดภาพวีดีโอที่เกี่ยวกับฆาตกรรม การฆ่าตัวตาย และการกระทำรุนแรงอื่นๆ
อ้างอิงจากถ้อยแถลงของมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา
การจ้างงานครั้งนี้เป็นการรับทราบสถานการณ์ของเฟซบุ๊ก อย่างน้อยก็ในตอนนี้ ที่ต้องการมากกว่าซอฟท์แวร์อัตโนมัติในการปรับปรุงการตรวจสอบโพสต์ทั้งหมด โดยเฟซบุ๊กไลฟ์ ซึ่งเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้งานสามารถถ่ายทอดกิจกรรมออกอากาศสด กลายเป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายตั้งแต่เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากผู้ใช้งานหลายคนถ่ายทอดความรุนแรงออกอากาศ โดยไม่สามารถยับยั้งได้ทัน
มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กโพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กของเขาว่า จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิม 4,500 คนที่เป็นผู้พิจารณาโพสต์ต่างๆ ของผู้ใช้งานที่อาจละเมิดเงื่อนไขการให้บริการ
ในสัปดาห์ที่แล้ว พ่อคนหนึ่งในประเทศไทยถ่ายทอดสดการฆาตกรรมลูกสาวของตัวเองบนเฟซบุ๊กไลฟ์
อ้างอิงจากข้อมูลของตำรวจ หลังจากผ่านไปมากกว่าหนึ่งวันและมียอดผู้ชมถึง 370,000 วิว เฟซบุ๊กก็ลบวีดีโอที่น่าสลดออกไป ยังมีภาพวีดีโอจากที่อื่นๆ เช่น ในเมืองชิคาโกและคลีฟแลนด์ก็มีเหตุการณ์ความรุนแรงที่สะเทือนขวัญผู้ชมด้วยเช่นกัน
ผู้บริหารสูงสุดของเฟซบุ๊กโพสต์ว่า “ เรากำลังทำงานเพื่อทำให้มีการรีพอร์ทภาพวีดีโอพวกนี้ได้ง่ายขึ้น เพื่อให้เราสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้เร็วขึ้น เป็นการขานรับได้ทันท่วงทีหากมีคนต้องการความช่วยเหลือ หรือโพสต์ภาพที่ไม่เหมาะสม”
ทั้งนี้ พนักงานที่จ้างใหม่อีก 3,000 งานจะอยู่ในตำแหน่งใหม่และทำหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาในเฟซบุ๊ก ไม่เพียงแต่ภาพที่ออกอากาศสดเท่านั้น โดยทางบริษัทไม่ได้ให้ข้อมูลว่า ตำแหน่งงานเหล่านี้จะอยู่ที่ใด
เฟซบุ๊กมีกำหนดจะรายงานรายได้ประจำไตรมาสของบริษัทในวันที่ 3 พ.ค.หลังจากตลาดหุ้นปิดทำการในนิวยอร์ก
โซเชียลมีเดียที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างเฟซบุ๊ก ด้วยจำนวนผู้ใช้งาน 1,900 ล้านคนต่อเดือน ได้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในความพยายามที่จะควบคุมการค้นหาอัตโนมัติกับภาพลามกอนาจาร ความรุนแรง
และเนื้อหาอื่นๆที่ก้าวร้าวน่ารังเกียจ ในเดือนมี.ค. ทางบริษัทระบุว่า มีแผนจะใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อช่วยตรวจสอบผู้ใช้งานที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตายและให้ความช่วยเหลือพวกเขา
อย่างไรก็ตาม ทางเฟซบุ๊กยังคงต้องพึ่งพาผู้ใช้งานจำนวนมากในการรีพอร์ทปัญหาต่างๆ โดยแต่ละสัปดาห์ จะมีรีพอร์ทจากผู้ใช้งานหลายล้านคน และเหมือนกับบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งอื่นๆในซิลิคอนวัลเลย์
ทางบริษัทยังคงต้องใช้แรงงานมนุษย์หลายพันคนในการพิจารณาตรวจสอบรีพอร์ททั้งหมดนี้
โดยผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นพนักงานสัญญาจ้างที่ทำงานในอินเดีย และฟิลิปปินส์ และพวกเขาต้องพบกับสภาพการทำงานที่ยุ่งยาก เพราะเวลาไม่กี่ชั่วโมงที่ต้องรีบตัดสินใจกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ซาราห์ โรเบิร์ต อาจารย์ด้านการศึกษาข้อมูลที่มหาวิทยาลัย UCLA ให้ความเห็นในประเด็นการตรวจสอบเนื้อหา.