ธ.ก.ส.อัดสินเชื่อเต็มสูบไม่หวั่นเอ็นพีแอล
ธ.ก.ส.ในช่วงนี้ ที่ยังไม่มีเอ็นดีคนใหม่ แต่ผลงานในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ มีเพียง 4% เศษๆ เท่านั้น
ทั้งนี้ เมื่อที่ 6 พ.ย.เนื่องในโอกาส ครบรอบ 54 ปี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รองผู้จัดการของธนาคารทั้ง 4 คน ได้ให้การต้อนรับหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดของกระทรวงการคลัง และหน่วยงานพันมิตร พร้อมกับแถลงผลการดำเนินการในช่วง 6 เดือนปีนี้ (เม.ย.-ก.ย.) โดยธนาคารยังมีผลดำเนินงานกำไร 3,700 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล 3.9% ลดลงจากปีที่แล้ว ที่อยู่ระดับ 4.03%
นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ ธ.ก.ส. ซึ่งได้หมดวาระในการดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 8 ต.ค.2563 ที่ผ่านมานั้น กระทรวงการคลัง กำลังอยู่ระหว่างการสรรหากรรมการผู้จัดการคนใหม่ และล่าสุด ได้ประกาศ นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ รองผู้จัดการ ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการคนใหม่แล้วก็ตาม แต่จนถึงขณะนี้ รมว.คลัง ก็ยังไม่ได้ลงนามแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ
ดังนั้น ปรากฏการณ์ใหม่ของการแถลง ผลการดำเนินงานของธนาคารในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ทำให้รองผู้จัดการของธนาคารแห่งนี้ ทั้ง4 คน ขึ้นแถลงข่าวพร้อมๆ กัน และยังระบุไปในทิศทางเดียวกันว่า ธ.ก.ส.พร้อมให้ความช่วยเหลือประ ชาชน ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ “เป็นธนา คารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยในชนบท” จากเดิมที่เป็นธนาคารเพื่อสังคม
“ธนาคารจะกางร่มและไม่ดึงร่มกลับอย่างแน่นอน” นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการ กล่าวในช่วงระหว่างการแถลงข่าว ขณะที่ นายสุรชัย รัศมี รองผู้จัดการ ในฐานะรักษาการแทนผู้จัดการธนาคาร กล่าวว่า “ธนาคารพร้อมให้ความช่วย เหลือประชาชนอย่างเต็มที่ ทุกๆ เรื่อง เช่น การช่วยเหลือทางด้านภัยแล้ง น้ำท่วม ราคาพืชผลเกษตรกรตกต่ำ จนถึงการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19”
นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการ ธ.ก.ส.ระบุว่า ธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าทุกระดับ ทุกประเภทเพื่อรองรับวิกฤติที่เกิดขึ้น เช่น สินเชื่อเพื่อต้อนรับการกลับบ้าน สำหรับคนรุ่นใหม่ New Gen Hug บ้านเกิด สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ และสินเชื่อระยะสั้นฤดูกาลผลิตใหม่ วงเงิน 170,000 ล้านบาท โดยปลอดดอกเบี้ยในช่วง 3 เดือนแรก และในช่วงเดือนที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR 6.50% ต่อปี) และสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย วงเงิน 50,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี หรือล้านละ 100 บาท เป็นต้น
ยังไม่ได้นับรวมมาตรการที่ ธ.ก.ส.ร่วมมือกับรัฐบาล เช่น “เราไม่ทิ้งกัน” โครงการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร รายละ 15,000 บาท โดยจ่ายเดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พ.ค. – ก.ค.) จำนวน 10 ล้านราย วงเงินงบประมาณ 150,000 ล้านบาท และการประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 พืชหลัก เช่น ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
ขณะที่ สิ่งที่กระทรวงการคลังกำลังหวาดวิตกว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอลของธนาคารจะมีเพิ่มขึ้น หลังจากสิ้นสุดมาตการพักหนี้นั้น ขอยืนยันว่า จากจำนวนลูกหนี้ ประมาณ 4.7 ล้านครัวเรือน หรือประมาณ 14-15 ล้านคน (สมาชิก 3 คนต่อครอบครัว) ธนาคารได้สำรวจแล้วประมาณ 80% หรือ 3.3 ล้านครัวเรือน พบว่า ลูกหนี้ที่สามารถชำระหนี้ได้เหมือนเดิม คือ กลุ่มสีเขียว มีประมาณ 72% กลุ่มสีเหลือง (ประนอมหนี้) 23% กลุ่มสีส้ม (ฟื้นฟูธุรกิจ) 3% กลุ่มสีแดง(ลดหนี้) และสุดท้ายกลุ่มสีดำคือ ติดต่อไม่ได้ นายสมเกียรติ กล่าวและกล่าวว่า
“เป็นเรื่องปกติของการพักหนี้ เพราะตัวเลขการพักหนี้ก่อนหน้านี้ ที่เราที่ทำมาแล้วหลายครั้ง มีเกษตรกรที่มีความสามารถชำระหนี้ได้ตามปกติ มีประมาณ 60-70% ส่วนที่เหลือก็ต้องปรับปรุงหนี้ไปตามสภาพข้อเท็จจริง”
โดยเกษตรกลุ่มสีเขียว หากไม่ต้องการพักหนี้ ก็สามารถชำระหนี้กับเราได้ตามปกติ แม้ว่า มาตรการของ ธปท.จะเป็นการพักหนี้ทั้งกระดานก็ตาม โดยลูกหนี้ที่ชำระหนี้จะรับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ “ชำระดีมีคืน” ซึ่งอาจจะสูงถึง 20% ของค่าดอก เบี้ยที่จ่ายก็ได้
ด้านนายสุรชัย กล่าวว่า ธนาคารกำลังนำเรื่องนี้ เข้าสู่การพิจารณาของบอร์ด (กรรมการ) ซึ่งไม่จำเป็นต้องพักหนี้ครบ 1 ปี ในเดือนมี.ค.2564 หากมีรายได้ก็ตามชำระได้ตามปกติ.