จีนและเยอรมนีควรลดเกินดุลกับสหรัฐฯ มากขึ้น
จีนและเยอรมนีไม่ได้ควบคุมค่าเงินของประเทศตัวเองเพื่อให้ได้เปรียบทางการค้าที่ไม่ยุติธรรม แต่ทั้งสองประเทศควรพยายามมากกว่านี้เพื่อลดจำนวนการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ อ้างอิงจากการายงานของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 14 เม.ย.ที่ผ่านมา
รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ แถลงว่า “ การแผ่ขยายการค้าในวิถีที่มีเสรีมากขึ้นและยุติธรรมมากขึ้นสำหรับชาวอเมริกัน ประเทศอื่นควรหลีกเลี่ยงการแทรกแซงค่าเงิน และสหรัฐฯ จะจับตามองอย่างใกล้ชิด ”
โดยญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสวิตเซอร์แลนด์ยังคงอยู่ในรายชื่อประเทศคู่ค้าที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ เช่นกัน
กระทรวงการคลังรายงานว่า ถึงแม้ว่าจีนจะไม่ได้เคลื่อนไหวเพื่อทำให้เงินหยวนอ่อนค่าลงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่จีนก็มีการแทรกแซงเงินตราต่างประเทศอย่างคร่าวๆ เป็นมูลค่าจำนวนมากในรอบทศวรรษ
ความผิดเพี้ยนในระบบการค้าทั่วโลก ทำให้เกิดความยากลำบากกับแรงงานและบริษัทอเมริกันอย่างเห็นได้ชัดมาเป็นเวลานาน
จีนได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 347,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2559 และยังคงนโยบายการค้าเสรีและการลงทุนจากต่างประเทศไว้อย่างเคร่งครัด “ กระทรวงการคลังสหรัฐฯ จะเฝ้าระวังและจับตามองการค้าและค่าเงินหยวนของจีนอย่างใกล้ชิด ”
การเกินดุลการค้าจำนวนมากชี้ให้เห็นถึงการเปิดกว้างของเศรษฐกิจจีนที่มีต่อสินค้าและบริการของชาวอเมริกัน รวมถึงการปฏิรูปที่รวดเร็วขึ้นเพื่อปรับสมดุลเศรษฐกิจของจีนที่มีต่อการบริโภคในครัวเรือนปักกิ่งยังต้องการพิสูจน์ถึงจุดยืนในขณะนี้ที่จะไม่พยายามลดค่าเงินหยวนซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายอย่างจริงจัง แม้ว่าเงินหยวนจะเริ่มเป็นที่ต้องการก็ตาม
กระทรวงการคลังระบุว่า เยอรมนีควรค่อยๆ ใช้นโยบายเพื่อเสริมสร้างการเติบโตของดีมานด์ในประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น บางอย่างที่ประเทศคู่ค้าของเยอรมนีและกองทุนการเงินระหว่างประเทศกระตุ้นเป็นบางเวลา
ดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น “ จะเพิ่มแรงกดดันให้กับเงินยูโร และช่วยลดความไม่สมดุลภายนอกประเทศจำนวนมาก ” จะช่วยเพิ่มการบริโภคในประเทศ รวมถึงการนำเข้าสินค้าด้วย
ความไม่สมดุลรวมถึงการได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ จำนวน 65,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีที่แล้ว และสิ่งที่ทางกระทรวงเรียกว่า การเกินดุลบัญชีกระแสรายวันที่เข้าใกล้จำนวน 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ในรายงานยังเรียกร้องให้ญี่ปุ่นมีท่าทีมากขึ้นที่จะพลิกฟื้นดีมานด์ในประเทศขึ้นมาและต่อสู้กับเงินเฟ้อต่ำ ขณะที่ควรหลีกเลี่ยงการหันกลับไปสู่การเติบโตจากการส่งออก
ทั้งนี้ ยังรวมถึงนโยบายการใช้จ่ายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่มีความยืดหยุ่นและผ่อนคลายมากขึ้น และควรปฏิรูปเพื่อหนุนตลาดแรงงานและเพิ่มผลผลิตให้กับเศรษฐกิจของญี่ปุ่น.