อากาศเปลี่ยนแปลงอาจเพิ่มคนยากจนทั่วโลก
จำนวนคนยากจนทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นเป็น 122 ล้านคนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อ้างอิงจากรายงานใหม่ขององค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO)
โดยในรายงาน “ สถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2559 ” ชี้ให้เห็นว่า นอกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนของความยากจนและความไม่มั่นคงทางอาหารแล้ว ยังจะส่งผลกระทบที่สำคัญในอีกหลายปีข้างหน้านี้
ประชากรทั่วโลกที่ยากจนมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นไปอยู่ระหว่าง 35-122 ล้านคนภายในปี 2573 จากสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อ้างอิงจากรายงานที่มาจากการศึกษาของธนาคารโลก โดยประเทศในแถบทะเลทรายซาฮาราของทวีปแอฟริกาจะเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากประชาชนต้องพึ่งพาการทำเกษตรกรรม
“ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระทบกับความมั่นคงทางอาหารอย่างแน่นอน ” นายโฮเซ่ กราซิอาโนดา ซิลวา ผู้อำนวยการทั่วไปของ FAO กล่าวแถลงว่า “ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้นำความไม่มั่นคงทางอาหารกลับมาอีกครั้งจากช่วงเวลาในอดีตที่เราเป็นผู้ล่า เราไม่อาจมั่นใจได้อีกแล้วว่าเราจะเก็บเกี่ยวได้ผลมากเท่ากับสิ่งที่เราเพาะปลูกไป ”
โดยในรายงานเสริมว่า การทำเกษตรกรรมและระบบผลิตอาหารต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับโลกที่ร้อนขึ้น เกษตรกรควรได้รับความช่วยเหลือให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทาง FAO รายงานว่า ด้วยการใช้พันธุ์พืชหลากหลายที่ทนทานต่ออากาศที่ร้อนขึ้น การให้ไนโตรเจนที่เพียงพอ และจัดการปรับปรุงดินแบบบูรณาการอาจช่วยซัพพลาย เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ให้กับการทำเกษตรกรรม
ไม่เพียงแต่สหประชาชาติที่ออกมาเตือนว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลคุกคามต่อปริมาณอาหาร แต่ในเดือนส.ค. มีรายงานจากสถาบันสภาพอากาศในออสเตรเลียว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลสำคัญต่อคุณภาพ ราคา และการผลิตกาแฟ
สภาพอากาศที่รุนแรงและอุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจทำลายพื้นที่ปลูกกาแฟได้มากถึง 50% ภายในปี 2593 อ้างอิงจากรายงาน
เมื่อต้นปีนี้ นายแอนเดรีย อิลลี ประธานธุรกิจกาแฟแบรนด์อิลลี ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นบีซีว่าที่เมืองดาวอส การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยร้ายต่อการผลิตกาแฟในระยะกลางและระยะยาว
“ กาแฟเป็นหนึ่งในผลผลิตการเกษตรซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทำให้มีอุณหภูมิที่สูงเกินไปในบางพื้นที่เพาะปลูก และส่งผลต่อความมั่นคงทางน้ำ ทั้งภาวะแล้งจัดและฝนตกหนักในพื้นที่อื่น ” นายอิลลีกล่าว
นายอิลลียังอธิบายต่อไปว่า ในขณะที่สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการผลิต แต่ปริมาณการบริโภคยังคงขยายตัว
“ เราทำนายว่า เราจะต้องการกาแฟเพิ่มอย่างน้อยอีก 2 เท่า หรือมากสุดก็คือ 3 เท่าภายในสิ้นศตวรรษนี้ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกลดลงมากกว่า 50% ผมว่าเรามีปัญหาที่เราแก้ไม่ได้ ” เขากล่าว