รับมือเศรษฐกิจไทย”ทรุดยาว”
“เศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน และต้องใช้ความระมัดระวัง”คำเตือนของ นาย ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) เกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน
และจากการรวบรวมตัวเลข”จีดีพีไทย 2563”ของ www.positioningmag.com จะพบว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังไม่มีท่าทีที่จะยุติลงได้โดยเร็ว โดยจากการประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยของสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจและสำนักวิจัยชั้นนำ ยังมีแนวโน้มที่จะติดลบมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากการเรียงลำดับการประเมินจีดีพีของไทย จะพบว่า ธนาคารโลกได้ประเมินจีดีพีไทยปีนี้ติดลบ 5.0% เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2563, ธนาคารกสิกรไทยประเมินจีดีพีไทยปีนี้ติดลบ 6..0% เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2563 ,ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(ADB) ประเมินจีดีพีไทยติดลบ 6.5% เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. , ธนาคารไทยพาณิชย์ มองจีดีพีไทยติดลบ 7.5% เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 63, IMF ให้จีดีพีไทยปีนิ้ติดลบ7.7% เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. , กกร.มองจีดีพีไทยปีนี้ติดลบ 8.0% เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 63 ,ธปท.มองจีดีพีติดลบ 8.1% เมื่อวันที่ 8 ก.ค 63 ,เอเชีย พลัส มองจีดีพีปีนี้ติดลบ 8.4% เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ,ธนาคารกรุงเทพให้จีดีพีติดลบ 9.7% เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. และวันที่ 2 ก.ค. 63 ธนาคารกรุงศรีฯมองจีดีพีไทยปีนี้ติดลบมากถึง 10.3%
ซึ่งการประเมินเศรษฐกิจธนาคารกรุงศรีมองว่า จีดีพี -10.3% เป็นการหดตัวที่ต่ำยิ่งกว่าช่วงวิกฤตกรเงินปี 2541 ส่วนเอเชีย พลัสมองว่า เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดวิกฤตที่สุดไปแล้วในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ขณะที่ธนาคารโลกระบุว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวมากที่สุดในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
การประเมินทิศทางเศรษฐกิจที่ออกมาของสำนักวิจัยเศรษฐกิจต่างๆ สะท้อนได้อย่างชัดเจนถึงผลกระทบจากCOVID-19 ที่ยังไม่มีจุดสิ้นสุด ซึ่งจะฉุดเศรษฐกิจให้ทรุดตัวลงอย่างรุนแรง ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนมารักษา หรือยังไม่สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นได้ เพราะการเติบโตของไทยพึ่งพิงรายได้จาการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก และทั้ง2 กลุ่มนี้ก็ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการระบาดของCOVID-19