พิธีรำลึกสงครามที่ฮิโรชิมา
เมื่อวันที่ 6 ส.ค. ญี่ปุ่นจัดพิธีรำลึกครบรอบ 71 ปีของเหตุการณ์ที่กองทัพสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
โดยนายกเทศมนตรีของเมืองได้เรียกร้องให้โลกเห็นพ้องกันในการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ให้หมดสิ้นไปพิธีครบรอบประจำปีเกิดขึ้นหลังจากประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐฯ กลายเป็นผู้นำประเทศสหรัฐฯ คนแรกที่มาเยือนเมืองฮิโรชิมา เพื่อแสดงความไว้อาลัยให้กับเหยื่อผู้เสียชิวิตจากการทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกนี้
โดยนายทหารอากาศอิโนลา เกย์ เป็นผู้ขับเครื่องบินบี-29 ทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกชื่อ ‘ลิตเติ้ล บอย’ ลงเหนือพื้นที่ด้านตะวันตกของตัวเมืองฮิโรชิมาในเวลา 8.15 น.ในวันที่ 6 ส.ค.ปี 2495 พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองถูกเผาทำลายเป็นเถ้าถ่านด้วยกำแพงความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงถึง 4,000 องศาเซลเซียส (ซึ่งร้อนจนสามารถหลอมละลายเหล็ก) คร่าชีวิตประชาชนในเมืองไปนับแสนคนในพริบตา
นายคาซูมิ มัตซุย นายกเทศมนตรีเมืองฮิโรชิมากล่าวถึงเหตุการณ์ที่ประธานาธิบดีโอบามาได้มาเยือนอนุสรณ์สถานแห่งสันติภาพแห่งนี้ในพิธีรำลึกที่ผ่านมาว่า “การมาเยือนของเขาเป็นการพิสูจน์ถึงการร่วมแชร์ความปรารถนาที่มุ่งมั่นของชาวเมืองฮิโรชิมาที่จะไม่ยอมรับอาวูธที่ร้ายแรงราวกับปีศาจร้ายนี้ถึงเวลาของเราทุกคนที่จะแสดงออกให้เห็นชัดเจนว่า เราไม่ยอมรับอำนาจการทำลายล้างของปีศาจร้ายซึ่งเป็นเรื่องที่ไร้มนุษยธรรมอย่างที่สุด”
มีบันทึกในประวัติศาสตร์ว่า มีเหยื่อจากเหตุทิ้งระเบิดครั้งนั้นมากถึง 140,000 คน บางคนเสียชีวิตทันที ในขณะที่หลายคนต้องบาดเจ็บและทนทุกข์ทรมานจากโรคร้ายต่างๆ ที่เกิดจากการได้รับรังสีปรมาณู ซึ่งส่งผลหลังจากนั้นในอีกหลายเดือนและหลายปีต่อมา
ระเบิดปรมาณูลูกที่ 2 ของกองทัพสหรัฐฯ ถูกทิ้งถล่มเมืองนางาซากิใน 3 วันต่อมาบีบคั้นให้ญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 15 ส.ค.ปี 2495
ในการมาเยือนเมืองนี้เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโอบามาได้กอดปลอบประโลมเหยื่อผู้รอดชีวิต ทำให้กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ของเมืองและอนุสรณ์สถานแห่งสันติภาพนี้
นายโอบามาไม่ได้ขอโทษต่อการทิ้งระเบิดปรมาณูในอดีตของสหรัฐฯ โดยแสดงจุดยืนว่า เขาเคารพในการตัดสินใจของอดีตประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน แต่การมาร่วมรำลึกถึงผู้เสียชีวิต รวมทั้งการกล่าวสุนทรพจน์และสวมกอดผู้รอดชีวิตคนหนึ่งจากสงคราม สร้างความประทับใจให้ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่
ทั้งนี้ หลังจากการเยือนของเขา มีจำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชมสวนแห่งนี้ รวมถึงพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูวิจารณ์สุนทรพจน์ของนายโอบามา โดยกล่าวว่า เขาพยายามหลีกเลี่ยงที่จะเอ่ยถึงความรับผิดชอบของสหรัฐฯ ต่อการทิ้งระเบิดในอดีต
ในปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะของญี่ปุ่นต้องเผชิญกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้รอดชีวิตจากการทิ้งระเบิดปรมาณู ในนโยบายการแผ่ขยายบทบาทของกองทัพญี่ปุ่นและการเปิดประตูตอบรับความเป็นไปได้ที่จะส่งกองกำลังเข้าสู้รบเป็นครั้งแรกหลังจากลงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา.