แอปเปิ้ลเพย์บุกตลาดนอกสหรัฐฯ
แม้ว่าระบบการทำธุรกรรมทางการเงินแอปเปิ้ลเพย์ จะเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกามานานกว่า 18 เดือน แต่บริษัทแอปเปิ้ลกลับได้รับกำไรเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตลาดทั่วโลก ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาผู้บริโภคน้อยรายและมีการต่อต้านจากธนาคารบางแห่ง
การให้บริการระบบจ่ายเงินของแอปเปิ้ลเพย์เปิดให้บริการใน 6 ประเทศ และเชื่อมต่อกับธนาคารไม่มากนัก แม้ว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมาแอปเปิ้ลได้เพิ่มการให้บริการในธนาคารเพิ่มอีก 4 แห่งคือ อเมริกันเอ็กซ์เพรสที่มีสิงคโปร์เป็นหุ้นส่วน ธนาคารออสเตรเลียแอนด์นิวซีเเลนด์แบงค์กิ้งกรุ๊ป จากประเทศออสเตรเลีย และธนาคารใหญ่ในแคนาดาอีก 5 แห่ง
อ้างอิงจากข้อมูลการวิจัย ของบริษัทไทม์ทริก แอปเปิ้ลเพย์มียอดใช้งานทั้งหมด 10,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2558 โดยผู้ใช้ส่วนมากอยู่ในสหรัฐฯเอง ซึ่งถือว่าน้อยกว่าการทำธุรกรรมการเงินในแต่ละปีของประเทศเคนยาที่ซึ่งบุกเบิกการทำธุรกรรมการเงินผ่านทางโทรศัพท์
ทั้งนี้ยังอ้างอิงจากข้อมูลจากไอรีเสิร์ชว่า ผลประกอบการของแอปเปิ้ล เพย์ในจีนนั้นถือว่าต่ำมาก เมื่ออาลีบาบา และเทนเซนท์ ระบบธุรกรรมการเงินของจีนที่ครองตลาดอยู่ โดยทั้งสองระบบถือเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดในโลก มียอดการทำธุรกรรมทั้งหมดสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2558
หลักฐานทางธุรกรรมจากสหราชอาณาจักร จีน และออสเตรเลียชี้ว่า แอปเปิ้ล เพย์เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้ที่เป็นสาวกแอปเปิ้ล แต่สำหรับจำนวนผู้ใช้และผู้สนใจในแต่ละประเทศถือว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับวิธีการใช้แอปเปิ้ล เพย์ ผู้ใช้เพียงแค่ใช้ไอโฟนในการจ่ายเงิน เช่นการซื้อกาแฟ ตั๋วรถไฟ และบริการอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้จ่ายเงินสำหรับตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติที่เชื่อมต่อกับระบบการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์ได้อีกด้วย
อ้างอิงจากรายได้ 2 ใน 3 ของบริษัทแอปเปิ้ล ยอดธุรกรรมการเงินของแอปเปิ้ลเพย์ถือว่าเป็นเพียงเศษเสี้ยวของยอดขายไอโฟนจำนวน 84,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 6 เดือน
ในออสเตรเลีย เครื่องชำระเงินที่สนับสนุนโดยธนาคารขนาดกลางแห่งหนึ่งมีรายงานการขัดข้องของเครื่องนี้อยู่บ่อยครั้ง โดยเครื่องนี้มีระบบปฏิบัติการของแอปเปิ้ลเพย์
โฆษกของธนาคารเบนดิโก ในออสเตรเลียให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า “ธนาคารเบนดิโก กำลังเผชิญกับปัญหาทางเทคนิคที่คาดไม่ถึง เมื่อได้ร่วมมือกับแอปเปิ้ลเพย์ในการชำระเงิน” โดยเพิ่มเติมอีกว่า การบกพร่องของอุตสาหกรรมธุรกรรมการเงินที่ขยายตัวขึ้นโดยเปิดให้บริการแบบจำกัดนั้นทำให้บริษัทมีเวลาทดสอบการใช้งาน และการพัฒนาน้อยลง
นางเจนนิเฟอร์ เบย์ลี รองประธานบริษัทแอปเปิ้ล พูดถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า การเปิดตัวก่อนกำหนด ไม่ได้แสดงถึงศักยภาพทั้งหมด เธอเสริมว่า “เหมือนกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหญ่ๆหลายอย่างที่ต้องใช้เวลา เราอยากจะก้าวหน้าให้เร็วที่สุด เราจึงผลักดันอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้”
เมื่อประสบปัญหาตลาดสมาร์ทโฟนซบเซาลง แอปเปิ้ลจึงขยับมาพัฒนาด้านการทำธุรกรรมการเงินโดยคาดว่าจะทำให้ไอโฟนมีลูกเล่นในการใช้งานมากขึ้น รวมถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นด้วย
หมายเหตุ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ = 35.72 บาทวันที่ 3 มิ.ย. 2559