WHO ชี้ไม่ควรเร่งปลดล็อกดาวน์
เจนีวา (รอยเตอร์) – เมื่อวันที่ 15 เม.ย. องค์การอนามัยโลกระบุว่า หลายประเทศที่ผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มในการสู้กับไวรัสโควิด-19 ควรรอไปอีกอย่างน้อยสองสัปดาห์เพื่อประเมินผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะยกเลิกมาตรการ
ในการอัพเดทยุทธศาสตร์ล่าสุด องค์การอนามัยโลกระบุว่า โลกยืนอยู่ในจุดเชื่อมต่อที่สำคัญในการระบาด และ ความเร็ว ขนาด และค่าเงินเป็นหลักเกณฑ์สำคัญเมื่อต้องตัดสินใจว่ามาตรการใดจำเป็น
โดย WHO ระบุว่า ทุกประเทศควรปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขที่เข้มงวดเพื่อคงเสถียรภาพให้มีการติดเชื้อในระดับต่ำ หรือไม่มีการแพร่เชื้อ และเตรียมพร้อมเพิ่มศักยภาพเพื่อควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน หลายประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากไวรัสกำลังพิจารณาการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ และเริ่มการเปลี่ยนผ่านกลับมาใช้ชีวิตปกติตามเดิม โดย WHO ระบุว่า ควรมีการปรับเปลี่ยนมาตรการอย่างค่อยเป็นค่อยไป คือมีเวลาที่จะประเมินผลกระทบก่อนที่จะมีความเคลื่อนไหว
“ เพื่อลดความเสี่ยงของการระบาดใหม่ ควรมีการยกเลิกมาตรการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆยกระดับบนพื้นฐานการประเมินความเสี่ยงของการระบาดและผลประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจของการยกเลิกมาตรการกับสถานที่ทำงาน สถาบันการศึกษษ และกิจกรรมทางสังคม ” WHO ระบุ
“ โดยควรจะมีเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ( สอดคล้องกับระยะฟักตัวของโควิด-19) ระหว่างแต่ละเฟสของการเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการทำความเข้าใจความเสี่ยงของการระบาดใหม่ และรับมือได้อย่างถูกต้องเหมาะสม”
โดยทาง WHO เตือนว่า “ ยังมีความเสี่ยงของโรคอย่างต่อเนื่อง”
ทั้งนี้ WHO ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเจนีวามีคำแนะนำออกมาในช่วงเวลาที่ถูกสหรัฐฯ วิจารณ์การรับมือเบื้องต้นของการระบาดที่ผิดพลาด
เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐฯระบุว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดของ WHO จะระงับการให้เงินสนับสนุน WHO
จีนเริ่มยกเลิกมาตรการที่เข้มงวดที่สุดในมณฑลหูเป่ย ที่ซึ่งเมืองอู่ฮั่นมีไวรัสอุบัติขึ้นเป็นครั้งแรกช่วงปลายปีที่แล้ว ขณะที่ในสหรัฐฯ ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก ประธานาธิบดีทรัมป์พยายามแสดงท่าทีว่ามีอำนาจเหนือผู้ว่าการรัฐแต่ละรัฐในการเริ่มเปิดเมือง เปิดธุรกิจในสหรัฐฯอีกครั้ง
ประเทศในยุโรปเริ่มขยับเพื่อคลายมาตรการล็อกดาวน์ โดยบางธุรกิจในสเปน เช่น การก่อสร้างและการผลิตได้รับอนุญาตให้เปิดกำเนินการได้อีกครั้ง แต่ร้านค้า บาร์ และสถานที่สาธารณะยังคงปิดจนถึงวันที่ 26 เม.ย.
โดยอิตาลี ซึ่งมีจำนวนผู้เสียชีวิตมาเป็นอันดับ 2 ของโลกอยู่ที่ 21,067 บาท ยังคงระดับมาตรการที่เข้มงวด ขณะที่เดนมาร์ก ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศในยุโรปกลุ่มแรกที่ปิดประเทศ สั่งเปิดโรงเรียนถึงชั้นประถม 5 และสถานดูแลเด็กก่อนวัยเรียนในวันที่ 15 เม.ย.ที่ผ่านมา