ราคาประเมินที่ดินใหม่ 2559
ธนารักษ์ พร้อมประกาศราคาที่ดินใหม่ เริ่มวันที่ 1 ม.ค.59 โดยราคาที่ดินทั่วประเทศ ปรับเพิ่มขึ้น 25% ขณะที่กรุงเทพฯ ปรับเพิ่มขึ้น 15.78% ที่ดินสีลมครองแชมป์ราคาประเมินใหม่ 1 ล้านบาทต่อตารางวา ส่วนจังหวัดพิษณุโลกครองแชมป์ราคาที่ดินต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นสูงสุด 51.19%
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกรมธนารักษ์ว่า ในวันที่ 1 ม.ค.2559 กรมธนารักษ์จะประกาศราคาประเมินที่ดินใหม่ทั่วประเทศ โดยในวันที่ 25 ธ.ค.58 นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ จะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ สำหรับราคาประเมินที่ดินที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2559 ไปจนถึงปี2562 รวมระยะเวลา 4 ปี ปรากฏว่า ราคาประเมินที่ดินใหม่ทั่วประเทศ ปรับขึ้นเพิ่มขึ้น 25% โดยเขตพื้นที่กรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 15.78% โดยราคาที่ดินพระโขนงปรับเพิ่มขึ้นสูงสุด 33.54% รองลงมาเป็นจตุจักร 29.75% บางกระปิ 27.73% ลาดพร้าว 25.60% ลาดกระบัง 22.63% ประเวศ 21.93% มีนบุรี 21.43% บางเขน 19.85% บึงกุม 19.21% บางขุนเทียน 10.83% ธนบุรี 7.35% บางกอกน้อย 6.87% หนองจอก 6.19% หนองแขม 4.76% ดอนเมือง 4.52% และห้วยขวาง 1.04% เป็นต้น
ทั้งนี้ หากพิจารณาพื้นที่เขตกรุงเทพฯ กับปริมณฑล พบว่า ราคาประเมินที่เพิ่มขึ้นสูงสุดคือ จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีอัตราเพิ่มขึ้น 50% โดยเมื่อปี255-2558 ราคาสูงสุดและต่ำสุดอยู่ที่ 60,000-400 บาทต่อตารางวา ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 64,000-400 บาทต่อตารางวา รองลงมาเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 15.78% ราคาเดิม 850,000-500 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านบาท-500 บาท จังหวัดสมุทรปราการ เพิ่มขึ้น 15.09% ราคาเดิม 150,000-500 บาท เพิ่มขึ้น 160,000-500 บาท จังหวัดปทุมธานี เพิ่มขึ้น 10.83% ราคาเดิม 150,000-500 บาท เพิ่มขึ้น 100,000-600 บาท จังหวัดนนทบุรี เพิ่มขึ้น 9.25% ราคาเดิม 150,000-1,000 บาท ปัจจุบัน 170,000-1,000 บาท และจังหวัดนครปฐม เพิ่มขึ้น 8.39% ราคาเดิม 80,000-125 บาท เพิ่มขึ้น 80,000-125 บาท
สำหรับถนนมีราคาประเมินที่ดินสูงสุดคือ 1. ถนนสีลม 1 ล้านบาทต่อตารางวา 2. เพลินจิต-ราชดำริ 900,000 บาทต่อตารางวา 3. สาทร-วิทยุ 750,000 บาทต่อตารางวา 4. เยาวราช 700,000 บาทต่อตารางวา 5. สุขุมวิท 650,000 บาทต่อรางวา 6. นราธิวาสราชนครินทร์ 600,000 บาทต่อตารางวา 7. อโศก-มนตรี 550,000 บาทต่อตารางวา 8. เจริญกรุง 500,000 บาทต่อตารางวา 9. กรุงธนบุรี 450,000 บาทต่อตารางวา 10. ทองหล่อ 420,000 บาทต่อตารางวา และ 11. รัชดาภิเษก 400,000 บาทต่อตารางวา ส่วนประเมินราคาต่ำที่สุดคือ เขตบางขุนเทียน 500 บาทต่อตารางวา เขตหนองจอก ถ.เลียบคลองลำเจดีย์ 1,300 บาทต่อตารางวา ถ.วิบูลย์สาธุกิจ 3,700 บาทต่อตารางวา และถนนนิลเหมนิยม 3,200 บาทต่อตารางวา
ส่วนราคาประเมินสูงสุดในกรุงเทพฯ ที่ครองแชมป์ตลอดกาล คือ ที่ดินบนถนนสีลมจากแยกศาลาแดง จนถึงแยกถนนนราธิวาสราชนครินทร์ มีราคาตารางวาละ 1 ล้านบาท รองลงมาคือบนถนนราชดำริ จากแยกราชประสงค์ ถึงคลองแสนแสบ และถนนพระราชที่ 1 จากแยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์ และถนนเพลินจิตตลอดสาย ตารางวาละ 900,000 บาท ขณะที่ราคาที่ดินที่เป็นสถานีรถไฟฟ้า หลายแห่งก็มีการปรับเพิ่มขึ้นด้วยเช่น โดยราคาประเมินเฉลี่ยปรับขึ้น 70-75%
ส่วนราคาที่ดินในต่างจังหวัดพบว่า ภาคกลางปรับขึ้นมากสุดคือ จังหวัดพิษณุโลก เพิ่มขึ้น 51.19% ราคาสูงสุด 80,000 บาทต่อตารางวา ต่ำสุด 30 บาทต่อตารางวา ภาคเหนือ จังหวัดน่าน เพิ่มขึ้น 111% ราคาสูงสุด 85,000 บาทตารางวา ต่ำสุด 25 บาทตารางวา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) จังหวัดเลย เพิ่มขึ้น 82.86% สูงสุด 55,000 บาทตารางวา ต่ำสุด 50 บาทตารางวา ภาคตะวันออก จังหวัดปราจีนบุรี เพิ่มขึ้น 48% สูงสุด 45,000 บาทตารางวา ต่ำสุด 75 บาทตารางวา ภาคตะวันตก จังหวัดเพชรบุรี เพิ่มขึ้น 81.75% สูงสุด 100,000 บาทตารางวา ต่ำสุด 50 บาทตารางวา และภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช เพิ่มขึ้น 37.34% สูงสุด 200,000 บาทตารางวา ต่ำสุด 60 บาทตารางวา
สำหรับพื้นที่ 6 เขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตากเพิ่มมากสุด 42.65% โดยอำเภอแม่สอด ถ.อิทรคีรี ปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด 95.07% ราคาประเมินสูงสุด 63,000 บาทต่อตารางวา ต่ำสุด 75 บาทต่อตารางวา จังหวัดมุกดาหาร เพิ่มขึ้น 38.12% มากที่สุด อำเภอกว้านใหญ่ เพิ่มขึ้น 62.50% สูงสุด 650 บาทตารางวา ต่ำสุด 50 บาทตารางวา จังหวัดหนองคายเพิ่มขึ้น 37.17% มากสุด อำเภอสระใคร ถ.หนองคาย-อุดรธานี 31.31% สูงสุด 2,100 บาทตารางวา ต่ำสุด 100 บาทต่อตารางวา จังหวัดสงขลาเพิ่มขึ้น 35% มากที่สุดอำเภอสะเดา 20% สูงสุด 30,000 บาทตารางวา ต่ำสุด 125 บาทตารางวา จังหวัดสระแก้ว เพิ่มขึ้น 24.10% มากสุด อ.อรัญประเทศ ตลาดโรงเกลือ 62.14% สูงสุด 20,000 บาทตารางวา ต่ำสุด 50 บาทตารางวา และจังหวัดตราด เพิ่มมากสุด อ.คลองใหญ่ ถนนมุ่งคีรี 24.88% สูงสุด 7,000 บาทตารางวา ต่ำสุด 100 บาทตารางวา