โซเชียลป่วน! คืนเงินประกันการใช้ไฟ มิเตอร์ชำรุดต้องจ่ายเอง
กฟน.ชี้แจง กรณี ขอเงินคืนประกันมิเตอร์ไฟฟ้าแล้วหากมิเตอร์เสียหายจะต้องจ่ายเอง นั้น เป็นความเข้าใจผิด ย้ำ ขอคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้าไปแล้วยังได้รับบริการเหมือนเดิม
หลังจากมีการแชร์ข้อความในโลกโซเชียล ว่า หากมีการขอเงินคืนประกันมิเตอร์ไฟฟ้าแล้วหากมิเตอร์เสียหายจะต้องจ่ายเอง นั้น การไฟฟ้านครหลวง ได้ชี้แจงว่า กรณีมีการส่งต่อข้อมูลในสื่อโซเชียลระบุว่าผู้ขอคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้า จะถูกตัดสิทธิ์ต่าง ๆ นั้น MEA ขอชี้แจงว่า ผู้ที่ขอคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้าไปแล้วจะยังได้รับบริการต่าง ๆ จาก MEA ดังเดิม
ชี้แจง…. “เงินประกัน” กับ “สิทธิมิเตอร์” ขอแจ้งว่ามันคนละส่วนกันนะคะ ….
“เงินประกัน” คือ เงินที่ทางไฟฟ้าเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟตอนมาขอติดตั้งมิเตอร์ใหม่ โดยเป็นเงินที่ทางการไฟฟ้าจะสามารถนำมาหักชำระหนี้เมื่อผู้ใช้ไฟผิดชำระหนี้เกินระยะเวลาที่กำหนด เงินประกันส่วนนี้อาจจะพอหรือไม่พอกับหนี้ค่าไฟฟ้าที่ผู้ใช้ไฟค้าง แต่อย่างน้อยก็ไม่เกิดการเป็นหนี้สูญ
“สิทธิมิเตอร์” ตามหลักที่ทางผู้ใช้ไฟมาขอมิเตอร์ทางการไฟฟ้าให้สิทธิเช่าแก่ผู้ใช้ไฟ ไม่ได้ขายขาด แต่ถ้ามีกรณีที่มิเตอร์เกิดชำรุดโดยภัยธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า น้ำท่วม มิเตอร์ไม่หมุน ฯลฯ ทางการไฟฟ้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเปลี่ยนมิเตอร์ให้ทั้งหมดโดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะไม่เสียเงินสักบาท
ส่วนกรณีที่มิเตอร์ชำรุด สาเหตุ มิเตอร์ไหม้โดยทางผู้ใช้ไฟใช้ไฟฟ้าเกินขนาด แบบนี้ทางผู้ใช้ไฟฟ้าเองจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเปลี่ยนมิเตอร์
ด้าน กฟภ. แจ้งว่า นโยบายการคืนเงินจากรัฐบาลครั้งนี้ เป็นการคืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า ไม่ใช้การประกันมิเตอร์โดยตรง ดังนั้นหากประชาชนรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืนแล้ว ในส่วนของมิเตอร์หากเสียหายต้องพิสูจน์ว่าใครเป็นคนทำ ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าทำเสียต้องรับผิดชอบ แต่หากกฟภ.ทำเสียต้องรับผิดชอบ เป็นระบบปกติที่มีอยู่แล้ว
ล่าสุด นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน ระบุว่า การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า กับ ประกันมิเตอร์ เป็นคนละเรื่องกัน ตัวมิเตอร์ ถือเป็นทรัพย์สินของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) หากมีการชำรุดหรือเสียหายโดยระบบตัวเครื่องหรือภัยธรรมชาติ 2 การไฟฟ้าจะเปลี่ยนให้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ยกเว้นมิเตอร์ชำรุด ที่เกิดจากการกระทำ เช่น ชน เฉี่ยว แตก หรือการโหลดไฟฟ้าเกินขนาดมิเตอร์ กรณีนี้ผู้ใช้ต้องเป็นผู้ชำระค่ามิเตอร์เองซึ่งเป็นหลักการเดิม คลิกอ่าน
“กฟน.- กฟภ.” เว็บล่ม แห่ลงทะเบียน คืนเงินมิเตอร์ไฟฟ้า
เช็คด่วน! คืนเงินมิเตอร์ไฟ ออนไลน์ 25 มี.ค.พร้อมรึยัง?
25 มี.ค.เปิดลงทะเบียน คืนเงินมิเตอร์ไฟฟ้า
หลักเกณฑ์ ขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า