เงินเฟ้อญี่ปุ่นขยับขึ้น
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพ.ย.ของญี่ปุ่นปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน แต่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ลดลง กดดันธนาคารกลางให้เพิ่มความระมัดระวังว่า การบริโภคที่แข็งแกร่งอาจเร่งให้ตัวเลขเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 2%
ข้อมูลที่ผสมรวมกันนี้ ทำให้นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางของญี่ปุ่น ซึ่งเคยแถลงว่าจะทำทุกอย่างให้เป็นไปตามเป้า อาจผลักดันให้ธนาคารกลางต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เร็วขึ้นในเดือนม.ค.ปี 2559 นี้
นายฮิเดโนบุ โทคุดะ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากสถาบันวิจัยมิซูโฮ ให้ความเห็นว่า “แรงกดดันลดน้อยลงจากการดิ่งของราคาน้ำมัน ดูจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับที่ หนุนส่งให้ดัชนีผู้บริโภคพุ่งขึ้น”
เขากล่าวเสริมว่า “แต่ดัชนีราคาผู้บริโภคอาจจะเพิ่มขึ้นไม่เร็ว อย่างที่ธนาคารกลางคาดการณ์ไว้ เราคาดว่า ธนาคารกลางจะคลายมาตรการในปีหน้า”
ข้อมูลวันที่ 25 ธ.ค.แสดงว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์น้ำมัน แต่ไม่รวมราคาอาหารสดที่เปลี่ยนแปลงง่าย ปรับเพิ่มขึ้นมา 0.1% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งนับว่าขัดแย้งกับการคาดการณ์จากตลาดกลาง
ดัชนีที่เพิ่มขึ้นมาหลังจากตกลงไปในเดือนต.ค. ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น สวนทางกับราคาพลังงานที่ดิ่งลง ช่วยผ่อนคลายสถานการณ์ของธนาคารกลางของญี่ปุ่นที่ต้องดิ้นรนให้ราคาเป็นไปตามเป้าที่วางไว้
แต่ตัวเลขการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเดือนพ.ย.หล่นวูบลงไปเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน โดยลดลง 2.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมคือ 2.4%
รัฐบาลต้องยอมรับว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนอ่อนแอลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เน้นย้ำถึงสถานะที่เปราะบางของเศรษฐกิจที่เกือบจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในไตรมาสเดือนก.ค.- ก.ย.
ทั้งนี้มีข้อมูลว่า ผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลงในสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ ขณะที่อากาศที่ยังอุ่นอยู่ในเดือนนี้ส่งผลกระทบต่อยอดขายของเสื้อกันหนาว และอุปกรณ์ทำความร้อน
อย่างไรก็ตามด้วยความระมัดระวังรอบคอบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของญี่ปุ่น รัฐบาลมีแผนที่จะใช้เงินถึง 800,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 28,000,000 ล้านบาท (35 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ในปีงบประมาณหน้า
โดยธนาคารกลางมีการทบทวนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในสัปดาห์ที่แล้วเพื่อให้แน่ใจว่าจะคงมาตรการเดิมไว้ หรือจะเพิ่มจำนวนการพิมพ์ธนบัตรเพื่อให้ถึงเป้าตัวเลขเงินเฟ้อ
ขณะที่กระทรวงการคลังหวังว่าสภาวะตลาดงานที่ตึงตัว จะผลักดันให้บริษัทปรับขึ้นค่าแรง และเป็นการสนับสนุนการใช้จ่ายภาคครัวเรือนไปพร้อมกัน แต่การย้ำเตือนถึงการปรับขึ้นค่าแรงของนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ กลับไม่ได้รับการตอบสนองจากภาคเอกชน
ธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่นมองว่าการปรับขึ้นค่าแรงเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่เป้าตัวเลขเงินเฟ้อ ซึ่งจะเป็นการควบคุมโพลล์เรื่องแผนการปรับค่าแรงที่จะออกมาในวันที่ 18 ม.ค.ปีหน้า