ออสเตรเลียเพาะเชื้อไวรัสโคโรนาสำเร็จ
ซิดนีย์ (รอยเตอร์) – เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ทีมนักวิทยาศาสตร์ในออสเตรเลียระบุว่า พวกเขาประสบความสำเร็จในการเพาะเชื้อไวรัสโคโรนาได้เป็นครั้งแรกนอกประเทศจีน นับเป็นความสำเร็จที่อาจช่วยต่อสู้กับโรคอุบัติใหม่ที่กำลังระบาดไปทั่วโลกได้มากขึ้น
นักวิจัยที่สถาบันปีเตอร์ โดเฮอร์ตี้ ที่วิจัยการติดเชื้อและภูมิคุ้มกันในเมลเบิร์นระบุว่า พวกเขาจะแชร์ตัวอย่าง ซึ่งเป็นเชื้อที่ถูกเพาะจนเติบโตจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ให้กับทางองค์การอนามัยโลกและห้องแล็บทั่วโลก
ห้องแล็บในจีนประสบความสำเร็จในการทำให้ไวรัสเติบโต แต่ได้เฉพาะลำดับคู่เบสใน DNA ทั้งหมด แต่ไม่ใช่ตัวอย่างไวรัส จากรายงานของออสเตรเลีย
“ การมีไวรัสจริงๆ หมายความว่าเรามีความสามารถที่จะตรวจสอบยีนยันกระบวนการทดสอบทั้งหมดได้ ” Julian Druce หัวหน้าแล็บพิสูจน์ไวรัสของสถาบันโดเฮอร์ตี้ระบุในแถลงการณ์
“ ไวรัสจะถูกใช้ในการควบคุมวัตถุดิบสำหรับใช้ในแล็บสาธารณสุขในโครงข่ายของออสเตรเลีย และจะถูกส่งไปให้แล็บผู้เชี่ยวชาญทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ในยุโรป ”
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ผุดขึ้นกลางเมืองอุ่ฮั่นช่วงปลายปีที่แล้ว และจนถึงตอนนี้ ได้คร่าชีวิตผู้ป่วยไปมากถึง 132 ราย และมีผู้ติดเชื้อกว่า 6,000 ราย โดยไวรัสตัวใหม่นี้สามารถแพร่เชื้อได้ในระยะฟักตัวคือภายใน 1 – 14 วัน
ทางสถาบันระบุว่า ตัวอย่างไวรัสที่ทางออสเตรเลียเพาะได้จะถูกใช้ในการทดสอบแอนตี้บอดี้ ซึ่งทำให้มีการติดเชื้อไวรัสในตัวผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ รวมถึงใช้ในการผลิตวัคซีน
โดยเสริมว่า ไวรัสที่เพาะเชื้อได้มาจากผู้ป่วยที่เดินทางมาที่สถาบันเมื่อวันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ สถาบันปีเตอร์ โดเฮอร์ตี้เป็นการร่วมลงทุนระหว่างมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และโรงพยาบาลรอยัลเมลเบิร์น.