EV Car อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ในปี 2020
SCB Chief Investment Office (SCB CIO) วิเคราะห์ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้หลายท่านคงจะเคยได้ยินกระแสของรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเป็นที่พูดถึงทั้งในทั้งในไทยและหลายประเทศตามข่าวหรือมหกรรมยานยนต์ โดยปัจจุบันรถยนต์ที่เราใช้เป็นพาหนะนั้น สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1.รถยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยน้ำมันหรือเครื่องยนต์สันดาป (ICE) ซึ่งเป็นรถยนต์ปกติที่เราใช้กันมายาวนานกว่า 100 ปีแล้ว
2.รถยนต์ไฮบริด (Hybrid หรือ HEV/PHEV) เป็นรถยนต์ที่ใช้น้ำมันผสมกับเชื้อเพลิงอื่นโดยอาจเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือน้ำซึ่งปัจจุบันมักจะพูดถึงรถ Hybrid น้ำมันและไฟฟ้ามากกว่า
3. รถยนต์ไฟฟ้า (EV หรือ BEV) เป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ซึ่งข้อดีของรถยนต์ประเภทสุดท้ายนี้คือการที่ไม่ปล่อยมลพิษเหมือนรถยนต์น้ำมันแบบดั้งเดิม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหลายประเทศ ที่สนับสนุนให้คนหันมาใช้รถ EV เช่น ประเทศนอร์เวย์ อินเดีย และกลุ่มสหภายุโรป โดยมีแผนห้ามขายรถยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยน้ำมันในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า หรือประเทศอื่นก็มีนโยบายให้ส่วนลดทางภาษีสำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า
ทั้งนี้ SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ได้มองเห็นโอกาสการลงทุนใน Thematic Investment ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันทั่วโลกมีสัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้าเพียงไม่ถึง 2% แต่มีการเติบโตที่สูงโดยคาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีสัดส่วนสูงถึง 30-50% โดยเราได้วิเคราะห์กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากการผลิตรถ EV โดยหากมาดู Supply chain หลักที่สำคัญมีทั้งหมด 5 ส่วน ดังนี้
1. Raw Materials – วัตถุดิบที่สำคัญในการอุตสาหกรรม EV คือ แร่ลิเธียม ซึ่งเป็นหัวใจหลักของแบตเตอร์รี่รถยนต์ไฟฟ้า โดยคาดว่าในปี 2025 ปริมาณกว่า 80% ของแร่ลิเธียม จะถูกใช้ในอุตสาหกรรม EV อย่างไรก็ตามแร่ลิเธียมยังมีอยู่จำนวนมากในโลก จึงทำให้ราคาของแร่นี้เพิ่มขึ้นได้ไม่มากนัก
2. Battery Lithium – แบตเตอร์รี่รถ EV นั้นราคาลดลงจาก 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ลดลงมาเหลือ 170 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และมีแนวโน้มลดลงอีกในอนาคตจากการที่เทคโนโลยีในการผลิตที่ดีขึ้นและราคาแร่ลิเธียมลดลง แต่ความต้องการใช้แบตเตอร์รี่นั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงเป็นจุดที่ได้เปรียบในตลาด ทำให้ Market size มีขนาดเติบโตขึ้น อีกทั้งผู้ผลิตมีสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะ ทำให้ธุรกิจนี้มีโอกาสเติบโตได้สูงในอนาคต
3. EV Car Manufacturers – การผลิตรถยนต์ไฟฟ้านั้นมีนำชิ้นส่วนหรืออะไหล่จากโรงงานผลิตรถยนต์แบบเดิมมาใช้ได้เพียง 23% เท่านั้น เพราะการขับเคลื่อนด้วยน้ำมันและไฟฟ้านั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นจึงอาจเห็นการเข้ามาแข่งขันของผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาได้ เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ Know how เดิมเหมือนแต่ก่อน แต่สำหรับผู้ผลิตเดิมก็ยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของ Brands และช่องทางการขายและ Services ที่สั่งสมมานานและเป็นที่ไว้วางใจของลูกค้าเดิม
4. EV Charging Station – หากเป็นรถยนต์ใช้น้ำมันก็ต้องเข้าปั๊มน้ำมัน แต่สำหรับรถไฟฟ้านั้นสามารถเติมพลังงานได้ทั้งสถานีชารจ์รถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะหรือในบ้านและที่ทำงาน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้รถสะดวกมากขึ้น โดยปัจจุบันทั่วโลกมีจำนวนของสถานีชาร์จไฟฟ้าไม่ถึง 600,000 จุด และยังไม่ใช่สถานีแบบ Fast Charge ทำให้ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการชาร์จนานถึง 5 ชั่วโมง ซึ่งอาจจะยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะมี Demand รองรับ
5. Battery Recycling – สำหรับแบตเตอร์รี่ที่ใช้แล้วนั้นยังคงมีกำลังไฟมากถึง 70% ซึ่งเราสามารถนำไปรีไซเคิลใช้ได้อีกครั้ง เช่น ในประเทศญี่ปุ่น Toyota จะนำแบตเตอร์รี่ของ Prius Hybrid ที่หมดอายุแล้วมาใช้เก็บพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์ของร้าน 7-11 เป็นต้น โดยปัจจุบันประเทศจีนสามารถครองตลาดการรีไซเคิลแบตเตอร์รี่มาใช้ใหม่มากที่สุดในโลก
จากเนื้อหาข้างต้น SCB CIO มองว่ากลุ่มธุรกิจที่เปรียบในการแข่งขันมาก และน่าลงทุนมากที่สุดในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า มี 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ผลิตเซลล์แบตเตอร์รี่, ผู้ผลิตรถและบริษัทรีไซเคิลชิ้นส่วนแบตเตอร์รี่รถยนต์ไฟฟ้า โดยสำหรับกลุ่มผู้ผลิตเซลล์แบตเตอร์รี่นั้นยังไม่ค่อยมีคู่แข่งในตลาดมากนักเมื่อเทียบกับโรงงานผลิตรถยนต์ อีกทั้งมีสิทธิบัตรต่างๆ ที่เป็นข้อได้เปรียบในตลาด ทำให้เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจในการลงทุน ตัวอย่างบริษัทที่หลายๆท่าน น่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น Panasonic, LG Chem, Samsung, CATL เป็นต้น ในส่วนของผู้ผลิตรถแม้จะมีคู่แข่งมาก แต่กลุ่มผู้ผลิตเดิมยังคงได้เปรียบที่ชื่อแบรนด์ ทำให้ยังมีข้อได้เปรียบอยู่ ยกตัวอย่างบริษัทเช่น Nissan, Toyota, GM, Tesla เป็นต้น และอีกกลุ่มที่หลายท่านอาจคิดไม่ถึง คือกลุ่มบริษัทรีไซเคิลชิ้นส่วนแบตเตอร์รี่รถ EV ซึ่งเป็นกลุ่มที่คู่แข่งในตลาดน้อยมาก ทำให้สามารถสร้างโอกาสในการทำกำไรได้สูง ซึ่งปัจจุบันบริษัทที่นำแบตเตอร์รี่มารีไซเคิล ได้แก่ Toyota, Nissan สัญชาติญี่ปุ่น และ Umicore สัญชาติเยอรมัน ทั้งนี้ บริษัทเหล่านี้ได้รับประโยชน์จากทั้งนโยบายของรัฐบาล และแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น เราจึงมองว่าในปี 2020 นี้ การลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมรถ EV นั้นจึงเป็นหนึ่งในธีม การลงทุนระยะยาวที่น่าสนใจและน่าจับตามอง.