ภาษีกระทบค้าปลีกญี่ปุ่นดิ่งสุด
ค้าปลีกญี่ปุ่นดิ่งสุดในรอบกว่า 4 ปีในเดือนต.ค.จากการปรับขึ้นภาษีที่ทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย ดีมานด์ในประเทศอ่อนแรงลง
รัฐบาลญี่ปุ่นปรับขึ้นภาษีขายทั่วประเทศจาก 8% เป็น 10% เมื่อวันที่ 1 ต.ค. เพื่อแก้ปัญหาภาระหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นที่มากที่สุดในโลก คือมากกว่า GDP ของประเทศถึงสองเท่า
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางรายได้ออกมาเตือนว่าการขึ้นภาษี ( ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเลื่อนมาถึง 2 ครั้ง) อาจทำให้เศรษฐกิจไม่มีแรงขับเคลื่อนในการเติบโต ท่ามกลางสภาพการส่งออกและการผลิตที่ซบเซา
ยอดค้าปลีกลดลง 7.1% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบกับปีก่อน จากดีมานด์ที่อ่อนแรงในสินค้าชิ้นใหญ่เช่น รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน รวมถึงเสื้อผ้า จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 28 พ.ย. โดยข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ยอดขายในห้างสรรพสินค้าได้รับผลกระทบอย่างหนัก
โดยเป็นยอดค้าปลีกที่ลดฮวบลงมากที่สุดนับตั้งแต่ตัวเลข 9.7% ในเดือนมี.ค. 2558
และย่ำแย่กว่าตัวเลขคาดการณ์ 4.4% จากโพลล์นักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์
นอกจากนี้ ยังเป็นตัวเลขที่ชะลอตัวลงมากกว่าที่เคยรายงาน หลังจากเมื่อสองเดือนก่อน
มีการปรับขึ้นภาษีขาย ชี้ให้เห็นปัจจัยอื่นที่ฉุดการบริโภค
“ ค้าปลีกลดลงอย่างชัดเจนในเดือนต.ค. หลังจากมีการขึ้นภาษี” Tom Learmouth นักเศรษฐศาสตร์ญี่ปุ่นที่ Capital Economics “ ยอดขายร่วงลงมากกว่าการปรับขึ้นภาษีในปี 2540 และปี 2557” เขาระบุในเอกสาร
ตัวเลขด้านลบมีขึ้น หลังจากมีข้อมูลอื่นในเดือนนี้ที่ชี้ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นเกือบฟุบในไตร
มาส 3 ขณะที่การส่งออกในเดือนต.ค.หดตัวลงเร็วที่สุดในรอบ 3 ปี
สภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้รัฐบาลต้องมีการใช้จ่ายงบประมาณครั้งใหญ่เพื่อทำให้เศรษฐกิจที่เปราะบางมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น
นักวิเคราะห์บางรายระบุว่า ยอดค้าปลีกในเดือนต.ค.ซบเซาลงจากสภาพอากาศที่เลวร้าย
หลังจากพายุไต้ฝุ่นพ่นพิษทั่วบริเวณตอนกลางและตะวันออกของญี่ปุ่น ยิ่งซ้ำเติมผลกระ
ทบด้านลบจากการขึ้นภาษี
ทั้งนี้ การขึ้นภาษีขายจากเดิม 5% เป็น 8% ในปี 2557 กระทบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอย่างหนัก เนื่องจากทำให้ครัวเรือนประหยัดการใช้จ่าย หลังจากมีการเร่งซื้อก่อนขึ้นภาษี
แต่รัฐบาลระบุว่า การขึ้นภาษีไม่ได้เป็นตัวหนุนให้ดีมานด์ซบเซาลงอย่างรุนแรง และระบุว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่หลากหลายจะช่วยชดเชยการใช้จ่ายที่ลดลงได้