จีนให้ศรีลังกากู้เงินสร้างทางด่วนกว่าพันล้าน
รัฐบาลศรีลังการะบุเมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า ทางจีนอนุมัติเงินกู้ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 31,932 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูการสร้างทางด่วนที่ล่าช้ามาอย่างยาวนานในพื้นที่ใจกลางศรีลังกา
การก่อสร้างในระยะแรกของถนนที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองหลวงอย่าง Colombo กับรีสอร์ตบนเนินเขา Kandy ถูกเลื่อนจนล่าช้ามานานกว่า 2 ปี เนื่องจากขาดเงินทุนจากต่างชาติ
ออฟฟิศของนายกรัฐมนตรี Ranil Wickremesinghe ระบุว่า เขาได้เข้าพบกับทูตของประเทศจีนเมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยทางทูตได้บอกกับนายรัฐมนตรีว่าทางจีนได้ตัดสินใจอนุมัติเงินกู้ที่จะมอบผ่านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของประเทศจีน
จีนกลายเป็นผู้ให้กู้รายใหญ่ที่สุดของศรีลังกาในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ โดยได้มีข้อผูกมัดด้านสัญญาเพื่อสร้างถนน ทางรถไฟ และท่าเรือต่าง ๆ ภายใต้การบริหารของรัฐบาลก่อนของ Mahinda Rajapakse
หลังจากที่นายกรัฐมนตรีอย่าง Wickremesinghe ได้ขึ้นรับตำแหน่งในเดือน ม.ค.ปี 2558 โครงการจำนวนมากก็ถูกระงับเพื่อรอการตรวจสอบเกี่ยวกับการข้อหาคอรัปชัน แต่งานก่อสร้างทั้งหมดได้กลับมาเริ่มสร้างต่ออีกครั้งภายหลังการเจรจาต่อรอง
เมื่อเดือน ส.ค.ในปีก่อน ทางจีนได้เข้าครอบครองท่าเรือทะเลน้ำลึกที่ขาดทุนและสูญเสียรายได้บนเกาะทางตอนใต้ ด้วยสัญญาเช่า 99 ปี เป็นมูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 35,130 ล้านบาท
Colombo เป็นศูนย์กลางสำคัญสำหรับการขนส่งอินเดีย และทางจีนถูกกล่าวหาว่ากำลังมองหาช่องทางการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรอบมหาสมุทรอินเดีย เพื่อตอบโต้การเติบโตของคู่แข่ง และรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนเอง
จีนเริ่มโครงการบุกเบิกผืนดินมูลค่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 44,704 ล้านบาท ซึ่งกลายเป็นกระแสถกเถียง เมื่อครั้งที่ยังศรีลังกายังตกอยู่ภายใต้ระบบการปกครองก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ยังมีการวางแผนที่จะสร้างศูนย์กลางใหม่ของเมืองบนพื้นที่ดังกล่าว โดยบริษัทสัญชาติจีนจะเข้าลงทุนพร้อมเงินอีกพันล้าน เพื่อสร้างตึกสูงถึง 60 ชั้น 3 แห่ง
โครงการดังกล่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการหลังจากที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงเดินทางไปยัง Colombo เมื่อปี 2557 แต่โครงการเกี่ยวกับงานต่าง ๆ ต้องถูกระงับไปเนื่องจากการเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่
การก่อสร้างเริ่มต้นอีกครั้งหลังจากที่บริษัทไชนา คอมมูนิเคชันส์ คอนสตรัคชััน คอมปนี หรือ CCCC ซึ่งทางรัฐบาลจีนเป็นผู้ครอบครอง ได้เข้าร่วมตกลงกับรัฐบาลระบอบการปกครองใหม่ของศรีลังกาเมื่อเดือน ส.ค. ปี 2557 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับอินเดียซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตามกำหนดการแล้ว การฟื้นฟูพื้นที่ 269 เฮกเตอร์จะเสร็จสิ้นทั้งหมดภายในปีหน้า