มูลค่าการส่งออกไทยหดตัวต่อเนื่องคาด0.6%
EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ ส่งออกไทยเดือนเมษายนหดตัวต่อเนื่องที่ -2.6%YOY อีไอซีปรับลดคาดการณ์ส่งออกทั้งปี 2019 เหลือ 0.6%
มูลค่าการส่งออกไทยเดือน เม.ย. 2019 หดตัวที่ -2.6%YOY ต่อเการส่งออกยังคงหดตัวที่ -4.2%YOY (ไม่รวมการส่งกลับอาวุธไปยังสหรัฐฯ)
ด้านมิติการส่งออกรายสินค้าพบว่า สินค้าส่งออกสำคัญที่มีการหดตัวได้แก่ สินค้าที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของการผลิตสินค้าส่งออกของจีนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ เช่น คอมพิวเตอร์-อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-10.6%YOY) ยางพารา (-32.0%YOY) และแผงวงจรไฟฟ้า (-4.0%YOY) นอกจากนี้ ยังมีสินค้าประเภทอื่นที่มีการส่งออกหดตัว เช่น รถยนต์-อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-4.0%YOY) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (-12.3%YOY) รวมถึงหลายสินค้าสำคัญในหมวดเกษตรคือ ข้าว (-20.2%YOY) น้ำตาลทราย (-10.8%YOY) และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (-4.7%YOY) ขณะที่ สินค้าที่ยังขยายตัวได้คือ ผลไม้สด-แช่เย็น-แช่แข็งและแห้ง (97.8%YOY) เครื่องใช้ไฟฟ้า (3.1%YOY) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (23.9%YOY) และไก่ (13.9%YOY)
ในมิติการส่งออกรายตลาดพบว่า การส่งออกในหลายตลาดสำคัญยังคนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ -4.9%YOYซึ่งถือเป็นการติดลบเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี งมีการหดตัว เช่น จีน อาเซียน-5 สหภาพยุโรป (15) และตะวันออกกลาง ที่มีการหดตัวที่ -5.0%YOY -5.8%YOY -5.2%YOY และ -8.8%YOY ตามลำดับ ขณะที่ การส่งออกในบางตลาดสำคัญยังคงขยายตัวได้ เช่น CLMV สหรัฐฯ และอินเดีย ที่ขยายตัวที่ 9.9%YOY 4.7%YOY และ 3.4%YOY
มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ -0.7%YOY ตามการหดตัวของการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ โดยการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงหดตัวมากถึง -12.8%YOY ขณะที่ การนำเข้าสินค้าสำคัญประเภทอื่นยังคงขยายตัว ได้แก่ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ขยายตัว 1.6%YOY 2.1%YOY และ 5.9%YOY ตามลำดับ
อีไอซีปรับลดคาดการณ์มูลค่าส่งออกปี 2019 เหลือขยายตัวเล็กน้อยที่ 0.6% จากเดิมคาดที่ 2.7%
สาเหตุของการปรับลดประมาณการเกิดจากข้อมูลจริงของมูลค่าการส่งออกสินค้าในช่วง 4 เดือนแรกหดตัวถึง -4.2%YOY (ไม่รวมการส่งกลับอาวุธ) ซึ่งเป็นการหดตัวที่สูงกว่าคาด นอกจากนี้ สถานการณ์สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่กลับมาปะทุอีกครั้งก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญ โดยเมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้มีการปรับเพิ่มอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิม 10% เป็น 25% ขณะที่ จีนมีมาตรการตอบโต้กลับด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิมที่ 5-10% เป็น 5-25% เช่นเดียวกัน และยังรวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้าอื่น ๆ ที่เริ่มมีการนำออกมาใช้ เช่น กรณีของบริษัท Huawei ที่ถูกขึ้นบัญชีดำห้ามไม่ให้บริษัทสหรัฐฯ ทำการค้าขายด้วย เป็นต้น (ปัจจุบัน มาตรการนี้ถูกระงับและเลื่อนการพิจารณาออกไป 90 วัน) ซึ่งจากสงครามการค้ารอบใหม่ทำให้คาดว่าการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ทั้งในส่วนของสินค้าส่งออกของไทยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้าส่งออกจีนซึ่งได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และยังรวมถึงผลกระทบทางอ้อมผ่านแนวโน้มการค้าและการลงทุนของโลกที่มีทิศทางชะลอตัวเพิ่มขึ้น (เทียบกับกรณีก่อนการเพิ่มระดับสงครามการค้า)
ดังนั้นอีไอซีจึงมีการปรับลดคาดการณ์มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2019 เหลือเพียง 0.6% โดยคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี มูลค่าส่งออกมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน รวมถึงท่าทีที่ Dovish มากขึ้นของธนาคารกลางหลายแห่ง นอกจากนี้ ปัจจัยฐานต่ำของมูลค่าส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2018 ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุนให้การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังกลับมาฟื้นตัวได้.