ไทยยูเนี่ยน ชี้แจงแก่ผู้นำโลกในการต่อสู้กับปัญหาแรงงานทาสยุคใหม่
บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ขึ้นพูดในเวทีสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ณ กรุงนิวยอร์ค เกี่ยวกับการดำเนินงานและประสบการณ์ในการจัดการปัญหาแรงงานทาสยุคใหม่และแรงงานบังคับ ให้กับผู้นำจากประเทศต่างๆ รับฟัง ในฐานะบริษัทเอกชนที่มีความพยายามในการจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง
ไทยยูเนี่ยนเป็นภาคธุรกิจจากประเทศไทยเพียงบริษัทเดียวที่ได้รับเกียรติเชิญเข้าร่วมในงานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ภาคธุรกิจไทยมีสิทธิอยู่ในงานประชุมสมัชชาในการต่อสู้กับประเด็นปัญหาเหล่านี้
ดร.แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาอย่างยั่งยืนบริษัทไทยยูเนี่ยน ขึ้นพูดพร้อมกับ คริสติน คูเปอร์ ที่ปรึกษาและเลขานุการบริษัท บริษัทอวีว่า Anbinh Phan ผู้อำนวยการกลุ่มด้านประสานงานราชการ บริษัทวอลมาร์ท และ แดน วีเดอร์แมน กรรมการผู้จัดการ องค์กร Humanity United โดยผู้เข้าร่วมเสวนาได้แสดงวิสัยทัศน์และแบ่งป้นบทเรียนจากประสบการณ์ว่านวัตกรรมและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนมีความสำคัญอย่างไรในการขจัดระบบแรงงานทาสยุคใหม่ให้หมดไปจากห่วงโซ่อุปทาน
เวทีสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งนี้มีตัวแทนจากสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย บาห์เรน สหรัฐอเมริกา แคนาดา บังกลาเทศ และไนจีเรีย ขึ้นกล่าวในวาระต่างๆ และภายในงานมีผู้เข้าร่วมประมาณ 300 คนประกอบด้วย ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ตัวแทนจากภาคประชาสังคม ภาคเอกชน นักลงทุน และสื่อมวลชน
“ภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหาในห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องแรงงานบังคับ แรงงานทาสยุคใหม่ และการค้ามนุษย์” ดร. แดเรี่ยน กล่าว “ดิฉันเชื่อว่า สิ่งนี้จะสำเร็จได้ต้องมีนโยบายจากภาครัฐมาสนับสนุนอย่างเต็มที่ และได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่ตั้งใจอย่างแน่วแน่ สิ่งเหล่านี้คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ SeaChange® กลยุทธ์ความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน ได้ถูกปฏิบัติผ่านหลายๆ โครงการ จนเกิดบทเรียนและความรู้ต่างๆ ที่เรานำมาแบ่งปันให้กับประชาคมโลก ณ งานประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในวันนี้”
ไทยยูเนี่ยนไม่ได้เพียงนำเสนอมุมมองจากภาคเอกชนเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงสำคัญจากประเทศไทย ในฐานะที่ประเทศไทยได้เริ่มมีความคืบหน้าต่างๆ ในประเด็นสิทธิมนุษยชน
ผู้นำหลายคนให้ความสำคัญกับการประชุมกระบวนการบาหลี ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่ไทยยูเนี่ยนเป็นสมาชิกและเปิดโอกาสให้ผู้นำภาครัฐและภาคเอกชนในเขตภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกได้แลกเปลี่ยน
เรียนรู้ประสบการณ์ในการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ แรงงานบังคับ แรงงานทาสยุคใหม่ และการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดให้หมดไป นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ ไทยยูเนี่ยนได้ประกาศสนับสนุนข้อเสนอแนะ Acknowledge, Act and Advance (AAA) Recommendations ของกระบวนการบาหลี เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 8.7 และขจัดอาชญากรรมข้ามชาติในปัจจุบันที่มีผลกระทบต่อคนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ตามแนวทางนโยบายของสหประชาชาติ
“หนึ่งในกุญแจสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ข้อที่ 8.7 จะได้รับการตอบสนองคือ การทำให้เสียงของแรงงานเป็นหัวใจสำคัญในการต่อสู้กับปัญหาแรงงานทาสยุคใหม่และแรงงานบังคับ” ดร.แดเรี่ยน กล่าว “มีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่เราสามารถรู้ได้ว่าเรากำลังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงหรือไม่”
สหราชอาณาจักรได้ร่วมเป็นเจ้าภาพในงานประชุมรัฐมนตรีนานาประเทศ เพื่อแสดงจุดยืนทางการเมืองในการจัดการปัญหาเหล่านี้ในการบรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 8.7 ของ
สหประชาชาติ ตัวแทนจากภาคเอกชนได้รับเชิญให้ร่วมพูดคุยถึงประเด็นปัญหาและโอกาสในการขจัดแรงงานทาสยุคใหม่จากเศรษฐกิจ โดยเป็นครั้งแรกที่ภาคธุรกิจไทยได้รับสิทธิร่วมอยู่ในงานประชุมสมัชชาในการต่อสู้กับประเด็นปัญหาเหล่านี้
ไทยยูเนี่ยนเป็นบริษัทแรกๆ ที่เผยแพร่กฎหมายแรงงานทาสยุคใหม่ของสหราชอาณาจักร และประกาศแถลงการณ์บนออนไลน์ครั้งแรกเมื่อปี 2559และมีเผยแพร่ฉบับปรับปรุงล่าสุดเมื่อปี 2561
“นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งในฐานะเป็นผู้นำทางธุรกิจระดับโลกที่ได้รับเชิญ และดิฉันรู้เป็นเกียรติที่ได้ร่วมแบ่งปันเรื่องราวความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยนบนเวทีโลกต่อหน้าผู้นำคนสำคัญและผู้มีอำนาจตัดสินใจมากมาย” ดร. แดเรี่ยน กล่าว “นโยบายและพันธสัญญาในระดับสูงนั้นเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ยังมีเรื่องเล็กๆ อีกหลายอย่างที่กระทบต่อชีวิตของผู้คนและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง”
เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลของโลก ซึ่ง ส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรม รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคทั่วโลกมาเป็นเวลาเกือบ 40 ปี
วันนี้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าบรรจุภาชนะชนิดต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีมากกว่า 135 แสนล้านบาท (4.03 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีพนักงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 49,000 คน ซึ่งล้วนทุ่มเทเพื่อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรมและมีความยั่งยืน
ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ เบลลอตต้า และมาร์โว่
จากพันธกิจในการเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบทั่วโลก ไทยยูเนี่ยนภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืน
ของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) ในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนSeaChange® และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาโดยตลอด จนส่งผลให้ไทยยูเนียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่มาตั้งแต่ปี 2557 และในปี 2561 ไทยยูเนี่ยนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ DJSI เป็นปีที่ห้าติดต่อกัน โดยอยู่ในอันดับที่หนึ่งของหมวดอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนยังได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index อีกด้วย