หญิงโตแซงชายในแบงก์ชาติของอาเซียน
เซติ อัคทาร์ อาซิส ผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซียที่เป็นหญิงและรั้งตำแหน่งมายาวนานถึง 16 ปี ดูเหมือนจะเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของเพศหญิงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ที่จริงแล้ว ยังมีกรณีอื่นๆอีก ไม่ได้เป็นเรื่องหายากขนาดนั้น
โดยผู้หญิงมีตำแหน่งบริหารเพิ่มมากขึ้นในธนาคารกลางของหลายประเทศ อ้างอิงจากข้อมูลล่าสุด โดยผู้หญิงที่มีตำแหน่งบริหารในธนาคารกลางคิดเป็นเกือบ 2 ใน 3 ของพนักงานระดับผู้จัดการในฟิลิปปินส์ และอย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่งในอินโดนีเซีย ประเทศไทยและมาเลเซีย ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วกลับมีจำนวนผู้หญิงในระดับบริหารน้อยกว่า
จากการสำรวจล่าสุด มีธนาคารกลางอย่างน้อย 12 แห่งที่มีผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้หญิง เมื่อเปรียบเทียบกับ 19 แห่งในปี 2557 เมื่อแจเน็ท เยลเลนขึ้นเป็นประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ
ในธนาคารกลางของยุโรป 27% ของบรรดาผู้จัดการเป็นหญิง และตั้งเป้าว่าจะต้องเพิ่มจำนวนเป็น 35% ภายในสิ้นปี 2562 โดยในออสเตรเลีย พนักงานระดับผู้จัดการธนาคารที่เป็นหญิงในธนาคารกลาง มีน้อยกว่า 1 ใน 3
“ การมีธนาคารกลางที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อมุมมองที่แตกต่างและการเข้าถึงนโยบาย ” นายเวลเลียน วิรันโต นักเศรษฐศาสตร์ประจำ versea-Chinese Banking Corp. ในสิงคโปร์ให้ความเห็นในประเด็นนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยเอง ก็เห็นในศักยภาพความสามารถของผู้หญิงมานาน และเคยมีผู้ว่าการเป็นหญิงในช่วงปี 2549 – 2553 มาแล้ว โดยผู้หญิงที่เรียนเศรษฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีจำนวนมากเกินครึ่ง
“ โดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงจะมีผลการเรียนดีกว่าผู้ชาย” อาจารย์พงศ์ศักดิ์ หลวงอร่าม อาจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่างานในธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นงานที่มีเกียรติและมีศักดิ์ศรีเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในไทย ผู้ปกครองจำนวนมากผลักดันสนับสนุนให้บุตรสาวมีโอกาสได้เข้าทำงานที่ธนาคารแห่งนี้
ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องตรงกันข้ามในออสเตรเลีย นายฟิลลิป โลว์ ผู้ว่าการธนาคารกลางเปิดเผยข้อมูลว่าออสเตรเลียยังขาดแคลนนักศึกษาหญิงที่ศึกษาด้านเศรษฐกิจและการเงินอีกเป็นจำนวนมาก เขาตั้งเป้าว่า จะต้องเพิ่มจำนวนผู้หญิงในระดับผู้จัดการให้เป็น 35% ภายในปี 2563
ขณะที่ธนาคารกลางของสิงคโปร์ไม่มีตัวเลขของผู้บริหารที่เป็นหญิง เนื่องจากทุกคนมีความเท่าเทียมกันโดยจำนวนพนักงานของธนาคารทั้งหมดเป็นผู้หญิงมากเกินครึ่ง.