ประมงประกาศปิดอ่าว
“กรมประมง” ประกาศปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.จนถึงวันที่ 30 มิ.ย. รวมระยะเวลา 4 เดือน ใน 4 จังหวัดประกอบด้วย ภูเก็ต พังงา กระบี่และตรังในฤดูวางไข่
“ในระหว่างวันที่ 1 เม.ย.จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.59 รวมระยะเวลา 3 เดือนกรมประมงจะปิดอ่าวฝั่งทะเล อันดามัน ประจำปี 2559 รวมระยะเวลา 4 เดือน ในพื้นที่ 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่และตรังเพื่อเปิดให้ปลาวางไข่และเลี้ยงลูก” นายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง กล่าวและกล่าวว่า จำนวนพื้นที่ทางทะเลในการปิดอ่าวครั้งนี้จะครอบคลุมพื้นที่ 4,696 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,935,000 ไร่
โดยห้ามเครื่องมือทำการประมง ได้แก่ 1.อวนลากทุกประเภททุกขนาดที่ใช้ประกอบเรือกล 2.อวนประเภทล้อมจับทุกชนิด 3.อวนติดตาที่มีช่องเล็กกว่า 4.7 เซนติเมตร ส่วนเครื่องมือที่ได้รับการยกเว้นให้ทำการประมงได้ 1.เครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตักในเวลากลางวันทำการประมงตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพรอาทิตย์ตก 2.เครื่องมืออวนลากคานถ่างที่ใช้ประกอบกับเรือกล 3.เครื่องมืออวนโป๊ะ บางชนิดทำการประมงในระหว่างนี้
“หากพบผู้ใดฝ่าฝืนจะเข้าจับกุมทันทีและดำเนินการตามกฎหมายตาม พ.ร.ก.ประมงฉบับใหม่ พร้อมประสานงานกับศูนย์ประสานการปฏิบัติงานในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล) และเครือข่าย ฯลฯ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการกระทำผิดตลอด 24 ชั่วโมง” นายวิมล กล่าว
ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมา ผลการสำรวจสภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำก่อนมาตรการมีอัตราการจับเฉลี่ย 276.76 กก.ต่อชม. และระหว่างมาตรการมีอัตราการจับเฉลี่ย 722.21 กก.ต่อชม. พบว่ามาตรการปิดอ่าวสามารถเพิ่มทรัพยากรสัตว์น้ำได้สูงถึง 2.61 เท่า ทำให้สัดส่วนของปลาเศรษฐกิจและปลาเศรษฐกิจขนาดเล็กมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 28 ต.ค. 51 มีการกำหนดมาตรการในการควบคุมการทำประมงในฤดูปลาที่มีไข่และวางไข่เลี้ยงลูก เพื่อเปิดโอกาสให้สัตว์น้ำได้ขยายพันธุ์ในฤดูปลาที่มีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูกพร้อมกับห้ามเครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมง ซึ่งในเขตมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำถูกจับก่อนวัยอันควรซึ่งเครื่องมือที่ห้ามทำการประมงมีดังนี้
อย่างไรก็ตามการปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามันครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายต่างๆ อาทิ เครือข่ายเฝ้าระวังการทำประมง ศูนย์ประสานการปฏิบัติงานในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล) ฯลฯ ในการลาดตระเวนเพื่อเฝ้าระวังซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU).