“ไวรัสซิกา” ภัยใหม่จากยุงลาย
ผวา “ไวรัสซิกา” ระบาดหนัก ภัยร้ายมาพร้อมยุงลาย เตือนคนท้องต้องระวัง
“ไวรัสซิกา” หรือเรียกอีกชื่อว่า “ไข้ซิกา” คือโรคติดเชื้อไวรัสที่มาจากยุงลาย เป็นอีกโรคร้ายแฝงเงียบมากับยุง ส่งผลตรงต่อระบบสมอง โดยเฉพาะเด็กในครรภ์ โตช้า แคระแกร็น ไม่ปกติ
ทั้งนี้ “ไข้ซิกา” จะมีระยะฟักตัวประมาณ 4 ถึง 7 วัน จากนั้นจะมีอาการ ไข้ ผื่นขึ้นตามตัว ตาแดง ปวดข้อ หน้ามืดเวียนศรีษะบ่อยขึ้น เยื่อบุในตาอักเสบ ตาแดง ปวดตามข้อ ท้องร่วง และต่อมน้ำเหลืองโต
“ไข้ซิกา” ไม่ใช่โรคใหม่แต่ไม่คุ้นหูเพราะตรวจพบน้อย เคยตรวจพบระบาดมากในประเทศบลาซิล เมื่อปี 2557
อย่างไรก็ตามเมื่อเร็วๆ นี้ ประชาชนตื่นผวาอีกครั้งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่ามา องค์การอนามัยโลก ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกาเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศแล้วเนื่องจากวิตกเรื่องการติดเชื้อของหญิงตั้งครรภ์อาจมีผลให้ทารกเกิดมาโดยมีสมองเล็กผิดปกติ
ด้านสำนักงานบริการสังคม และสาธารณสุขเขตดัลลัส เคาน์ตี ในรัฐเทกซัส สหรัฐฯ เปิดเผยว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัส “ซิกา” จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับมาจากประเทศที่ไวรัสชนิดนี้ระบาดในช่วงที่ผ่านมา และอาจนับเป็นการติดต่อของไวรัสซิกาจากคนสู่คนเป็นครั้งแรก
ทั้งนี้ผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาทั้งหมดที่พบในกว่า 30 ประเทศรวมถึงสหรัฐฯ และส่วนใหญ่ในลาตินอเมริกา ในการระบาดครั้งล่าสุดนี้ ซึ่งเริ่มต้นในบราซิลตั้งแต่ประมาณเดือนต.ค.2558 ผู้ป่วยได้รับเชื้อจากการถูกยุงลายกัดทั้งสิ้น ไม่เคยมีการติดต่อโดยตรงจากคนสู่คนมาก่อน
ขณะที่ประเทศไทยที่กรมควบคุมโรค นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) พร้อมด้วย นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา พล.อ.ต.สันติ และคณะแพทย์ที่เกี่ยวข้อง แถลงข่าวภายหลังองค์การอนามัยโลกประกาศ “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เมื่อวันที่ 1 ก.พ. และยังพบผู้ป่วยโรคไวรัสซิกา ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
นพ.อำนวย กล่าวว่า โรคไวรัสซิกาไม่ใช่เรื่องใหม่ พบมานานแล้ว ในประเทศไทยพบ ผู้ป่วยรายแรกเมื่อปี 2555 ซึ่งเป็นแล้วหายเอง ไม่มีสถานการณ์ระบาดแต่อย่างใด โรคนี้จะพบได้ที่แถบอเมริกากลาง และแคริบเบียน ไม่ต้องกังวลว่าจะนำเชื้อมาจากต่างประเทศ การพบเจอผู้ป่วยในประเทศไทยนั้นสะท้อนให้เห็นว่าเรามีการตรวจพบที่รวดเร็ว สามารถมั่นใจในระบบการควบคุมโรคในไทยได้