วันเลือกตั้งอินโดนีเซีย
ทั่วทั้ง 17,000 เกาะ จากป่าของเกาะบอร์เนียวถึงสลัมในกรุงจาการ์ตา ประชาชนชาวอินโดนีเซียออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 17 เม.ย.นับเป็นหนึ่งในการเลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตยครั้งใหญ่ที่สุดของโลก
โดยมีการใช้ทั้งม้า ช้าง รถจักรยานยนต์ เรือ และเครื่องบินเป็นพาหนะในการขนส่งหีบเลือกตั้งทั่วประเทศที่เต็มไปด้วยเกาะเล็กเกาะน้อย
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกว่า 190 ล้านคนและเกือบ 90% เป็นมุสลิมต้องเลือกระหว่างผู้สมัครทั้งสองคน คือคนหนึ่งที่ทำหน้าที่ประธานาธิบดีรักษาการที่มีนโยบายเน้นการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก และอีกคนที่มีแนวคิดชาตินิยมเชื่อมโยงกับเผด็จการ
คนที่มีคะแนนนำในโพลคือประธานาธิบดีโจโค วิโดโด วัย 57 ปี ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความทะเยอทะยานของเขาที่จะพัฒนาประเทศด้วยการสร้างถนน สนามบิน และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆทั่วประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่วิโดโด นักการเมืองนอกคอก ที่มีบุคลิกเป็นบุคคลสาธารณะในช่วงที่เขาชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในปี 57 เริ่มถูกกลุ่มสิทธิวิจารณ์เนื่องจากมีการเลือกปฏิบัติเพิ่มขึ้นด้านศาสนาและชนกลุ่มน้อยอื่นๆ รวมทั้งกลุ่ม LGBT เนื่องจากกลุ่มอิสลามมีเสียงมากขึ้นต่อสาธารณะ
การที่เขาเลือก Ma’ruf Amin ที่เคร่งศาสนามาเป็นทีมลงเลือกตั้งด้วยกัน ก่อให้เกิดความกลัวเกี่ยวกับอนาคตของชื่อเสียงของอินโดนีเซียที่เป็นประเทศมุสลิมสายกลางมาตลอด
โดยเขา ซึ่งมีผู้ตั้งคำถามเกี่ยวกับศรัทธาในศาสนาของเขา (เนื่องจากเขามีเชื้อสายจีนและเคยนับถือศาสนาคริสต์) ได้เดินทางไปเมกกะ ต้นกำเนิดของศาสนาอิสลามเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนการเลือกตั้ง
เขาเดินทางมาใช้สิทธิด้วยใบหน้าแจ่มใสกลางกรุงจาการ์ตาในเวลาประมาณ 11.00 น.เขายิ้มและหัวเราะทักทายผู้สื่อข่าวที่มารอทำข่าวจำนวนมาก
ขณะที่คู่แข่งคือปราโบโว ซูเบียนโต วัย 67 ปี เป็นอดีตนายพลมุสลิมที่เคร่งศาสนา และสัญญาจะเน้นการสนับสนุนกองทัพและงบกลาโหม เขามีแนวคิดที่สะท้อนแนวคิดของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์คือ “อินโดนีเซียต้องมาก่อน” เขามีสายสัมพันธ์กับอดีตเผด็จการประธานาธิบดีซูฮาร์โต ที่หมดอำนาจไปเมื่อสองทศวรรษก่อน
เขาเคยพ่ายแห้ให้กับโจโควี่ในการเลือกตั้งปี 57 แต่ครั้งนี้เขาเชื่อมั่นว่าจะชนะ
“ผมเชื่อมั่นมาก” เขากล่าว “ผมมีความสุข ที่วันนี้มาถึง เราจะชนะการเลือกตั้ง ผมมองในแง่ดีนะ”
มีรายงานความล่าช้าเกิดขึ้นบ้างในบางหน่วยเลือกตั้ง ในประเทศที่มีประชากรมากถึง 260 ล้านคน และเป็นประเทศที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาที่แตกต่างกันนับร้อย
“ การเลือกตั้งมีขึ้นห้าปีครั้ง เราจึงต้องไปใช้สิทธิ” ไอ กุสติ เคตุต ซูดารา วัย 65 ปี กล่าวจากหน่วยเลือกตั้งในบาหลี “นี่จะกำหนดเส้นทางของชาติเรา” .